หญ้าทะเล


การอนุรักษ์และการจัดการแหล่งหญ้าทะเล

 

การอนุรักษ์และการจัดการแหล่งหญ้าทะเล

 

          แหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศน์แบบหนึ่งที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวตั้งแต่หญ้าทะเลเอง ซึ่งเป็นพืชมีดอก แต่ได้ปรับตัวและมีวิวัฒนาการจากการเป็นพืชบก ลงไปอยู่ในทะเลอย่างสมบูรณ์ และมีสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เข้ามาอยู่ร่วมเป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ กันรวมเป็นระบบนิเวศหญ้าทะเล นอกเหนือจากความสามารถในการให้ผลผลิตได้สูงเพราะเป็นพืชที่สังเคราะห์แสงได้แล้ว ลักษณะโครงสร้างของหญ้าทะเลยังมีองค์ประกอบที่เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน แหล่งหลบภัย และแหล่งหาอาหารที่มีความสมบูรณ์ไม่แพ้ระบบนิเวศปะการัง หรือระบบนิเวศป่าชายเลนเลย นอกจากนี้แล้วหญ้าทะเลยังมีส่วนช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ช่วยลดการพังทะลายของหน้าดินได้อย่างดีอีกด้วย ปัญหาสำคัญในประเทศไทยที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือการทำลายแหล่งหญ้าทะเลโดยตรง เช่น การถมทะเล การสร้างท่าเรือ เรือประมงอวนลาก อวนรุน ซึ่งก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งหญ้าทะเล อันเนื่องมาจากความไม่รู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของแหล่งหญ้าทะเลหลายบริเวณถูกทำลายจนหมดไปเลยก็มี
   ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นมากที่จะต้องเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของระบบนิเวศหญ้าทะเลให้เป็นที่รู้จักและแนะให้เห็นถึงสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมเพื่อที่จะช่วยกันปกป้องและจัดการให้ประโยชน์จากทรัพยากรนี้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยมุ่งหวังที่จะคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่งทะเลสืบต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
ระบบนิเวศน์หญ้าทะเล
 บทบาทที่สำคัญที่สุดของหญ้าทะเลในระบบนิเวศน์ คือ การเป็นผู้ผลิต (Producer) ในห่วงโซ่อาหาร ส่วนต่าง ๆ ของหญ้าทะเลโดยเฉพาะส่วนของใบซึ่งจะเน่าเปื่อยหลังจากตายลง ซากเน่าเปื่อยที่สลายตัวลงเรียกว่า "ดีไทรทัศ (Detritus)" ผลผลิตที่ได้จากขบวนการสังเคราะห์แสง หญ้าทะเลบจะปล่อยอินทรียสารที่ละลายน้ำได้สู่มวลน้ำและถูกถ่ายเทออกไปยังนอกเขตฝั่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการหมุนเวียนของคาร์บอนในแหล่งน้ำ โดยจะเป็นอาหารของแพลงค์ตอนพืชและสัตว์ต่อไป
   ปลาบางชนิด หอย เม่น และหอยฝาเดียวบางชนิดจะแทะเล็มหญ้าทะเลเป็นอาหารสัตว์เหล่านี้บางทีไม่ได้ย่อยสารเซลลูโลส แต่มันจะดูดซึมเซลล์ที่อยู่ในหญ้าทะเล หรือในสาหร่ายที่เกาะอยู่ตามผิวใบเท่านั้น สัตว์ใหญ่ที่กินหญ้าทะเลเป็นอาหารโดยตรง ได้แก่ เต่าทะเล พะยูน และนกเป็ดน้ำ
 สิ่งมีชีวิตที่พบในแหล่งหญ้าทะเล นอกจากจะประกอบไปด้วยหญ้าทะเลหลายชนิดแล้วยังมีชีวิตกลุ่มอื่น ๆ ทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถพบได้ในแหล่งหญ้าทะเล ตั้งแต่พืชชั้นต่ำหรือพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น แพลงตอนพืช สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังไปจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นสูงจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น พะยูน ซึ่งสัตว์ทะเลบางชนิดก็อาศัยอยู่ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ของหญ้าทะเล เช่นบริเวณใบ หรือแม้กระทั่งรากและเหง้าที่อยู่ใต้ดิน บางชนิดฝังตัวอยู่ตามพื้น บางชนิดเคลื่อนที่อยู่ตามพื้น และบางชนิดก็เคลื่อนที่หรือว่ายน้ำไปมาอยู่ในแหล่งหญ้าทะเล สิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ ปลา กุ้ง และปู จะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีความสำคัญเนื่องจากเกเป็นกลุ่มสัตว์ทะเลซึ่งมีบทบาทในทางเศรษฐกิจการประมง ซึ่งเป็นแหล่งรายได้และเป็นแหล่งอาหารของชาวประมงพื้นบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
                 สิ่งมีชีวิตที่พบในแหล่งหญ้าทะเลบางชนิดอาศัยอยู่อย่างถาวรในแหล่งหญ้าทะเล แต่บางชนิดจะอาศัยอยู่เพียงชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อใช้แหล่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งหาอาหาร คือ อาศัยอยู่เพียงบางฤดูกาล เพื่อใช้เป็นแหล่งหญ้าทะเลเป็นแหล่าผสมพันธุ์วางไข่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์และเป็นแหล่งอนุบาลของตัวอ่อนภายหลังจากที่ไข่ได้ฟักออกมาเป็นตัว ยกตัวอย่างเช่น ปูม้า ปลากเก๋า หรือปลากะรัง และปลากะพง จะใช้เป็นแหล่งผสมพันธุ์ วางไข่ และเลี้ยงดูตัว
ความสำคัญและประโยชน์ของแนวหญ้าทะเล
  หญ้าทะเลพบว่ามีอยู่ประมาณ 50 ชนิด แพร่กระจายอยู่โลก ความสำคัญของหญ้าทะเลนั้นมีตั้งต่อระบบนิเวศชายฝั่ง รวมไปถึงคุณค่าทางเศรษฐกิจ อันเนื่องจากการทำการประมงในแนวหญ้าทะเลเช่นการทำการประมงอวนรุนลูกปลาเก๋าเพื่อนำไปเพาะเลี้ยงต่อในกระชังจนได้ขนาดที่ตลาดต้องการ การทำการประมงอวนรุนเคยเพื่อนำไปทำเป็นกะปิซึ่งสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอย่างมาก การประมงประเภทอื่น ๆ เช่น อวนจมปู แร้วปู ลอบ และไซปลาก็นิยมกะทำกันในแนวหญ้าทะเล นอกจากนี้แล้วหญ้าทะเลบางชนิดเช่น ผลของหญ้าทะเลบางชนิด (หญ้าชะเงาใบยาว) สามารถนำมาบริโภคได้ ตลอดจนกระทั่งนำมาเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ด้วย
ในบางประเทศ ชาวพื้นเมืองได้มีการนำหน้าทะเลมาใข้ประโยชน์อย่างมากนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นอีกคือ นำมาสานเป็นตะกร้า นำมาทำเป็นที่นอน นำมาใช้เป็นหลังคาแบบหลังคาจากบ้านเรา นำมาทำเป็นปุ๋ย นำมาใช้เป็นยาสูบ หรือแม้แต่นำมาทำเป็นเครื่องเล่นของเด็ก ๆ
          อย่างไรก็ดี ความสำคัญของระบบนิเวศอันนี้ ยังเป็นที่เข้าใจกันน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบ้านเรา เราสามารถสรุปความสำคัญของระบบนิเวศหญ้าทะเลได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                  1. หญ้าทะเลเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้มีผลผลิตโดยเฉลี่ย(กรัมน้ำหนักแห้ง/ตร.ม./ปี) สูง ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยสนับสนุนผลผลิตของสิ่งมีชีวิตขั้นต่อไป
                2. ความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหารในสามลักษณะ ประการแรกคือ การกินหญ้าทะเลเป็นอาหารโดยตรงของสัตว์ทะเลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ เต่า และพะยูน (หมูน้ำ) ประการที่สอง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนหญ้าทะเล จะเป็นอาหารโดยตรงของปูปลาบางชนิดที่เข้ามาหากินตอนน้ำขึ้น และ ประการที่สาม คือ เมื่อหญ้าทะเลถูกย่อยสายก็จะกลายเป็นซากอินทรีย์สารที่มีคุณค่าทางอาหารต่อสิ่งมีชีวิตอื่นอีกเป็นจำนวนมาก ขบวนการทั้งสามประการนี้จะช่วยให้มีการกระจายพลังงานไปสู่สรรพชีวิตต่อไป
                  3. ความเหมาะสมของระบบนิเวศหญ้าทะเลในการที่จะเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่กำบังหลบภัยของสัตว์ทะเลหลายชนิด ผลจากลักษณะโครงสร้างของหญ้าทะเลที่มีใบ ลำตัน และรากทำให้สัตว์ทะเลมากมายเข้ามาอาศัยอยู่โดยอาจเข้ามาอยู่อาศัยอย่างถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ กลุ่มสัตว์ทะเลที่พบในบริเวณหญ้าทะเลนั้นมีทั้งอยู่ในวัยอ่อนและโตเต็มวัย
    4. ความสามารถของระบบนิเวศหญ้าทะเลในการช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำ ลดความแรงของคลื่น และยังช่วยลดการฟุ้งกระจายของตะกอนให้เกิดขึ้นน้อยลง นั่นคือส่วนในการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้คงทน ลดการพังทลายให้เกิดน้อยลง ทั้งนี้เป็นผลจากโครงสร้างของหญ้าทะเล ไม่ว่าจะเป็นส่วนของใบที่ช่วยต้านกระแสน้ำแล้วส่วนของรากและเหง้าก็ยังช่วยในการยึดพื้นท้องทะเลอีก และประชาชน

ที่มา:http://www.talaythai.com/Education/43620459e/43620459e.php3

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14448เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2006 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท