KM Team Tour (6) … ส่งท้ายด้วยประสบการณ์แลกเปลี่ยน


เราสามารถสร้างตัวแทนของเรา ให้เกิดความสามารถของอีกหลายคน

 

มีเกร็ดเล็กผสมน้อย ที่นำมาเสริม เพื่อเป็นตัวอย่างให้สำนักฯ ลุยทำ KM เพิ่มเติมนะคะ

คุณศรีวิภา … ประสบการณ์ที่ตัวเองได้ลองทำ เรื่อง note taker คือ

เวลาที่เราสรุปมา และอะไรเป็นปัจจัย คงไม่ใช่หน้าที่ของ note taker คนเดียว ... วิธีการถ้าจะให้ดีต้องสอบทานไปที่กลุ่ม คงไม่ใช่เป็นความเห็นว่า note taker ฟัง จับจากที่ทุกคนในกลุ่มเล่าหมด และขึ้นสรุป ออกมาเป็นความเห็นของ note taker อย่างเดียว โดยปกติหลักที่ทำ และคิดว่าได้รับการยอมรับจากกลุ่ม ก็คือ การสอบทานกลับว่า ที่เขียนนี้ตรงกับเรื่องที่พูดไหม ตรงกับที่เล่าไม๊ อันนั้นก็จะช่วย note taker ได้ กับอีกอันคือ ไม่อยากให้เป็นภาระที่มี note taker เจ้าประจำ เพราะจะเป็นการสร้างแค่คนคนเดียว ตอนที่ได้ไปทำกับคุณหมอนันทา จะเอาคนที่อยู่ในกลุ่ม ถึงแม้เราไม่รู้จักเขาก็ตามคุณแอ้ม กองอนามัยการเจริญพันธุ์ เราก็จะเอาคนในกลุ่มนั้นขึ้นมาเป็น note taker ได้ด้วย ในสำนักที่ปรึกษา ก็ได้เอาน้องๆ มาฟัง และสรุปประเด็นการประชุมกัน เราจะพบว่า มีความสามารถที่เกิดขึ้นในอีกหลายๆ คน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น นักวิชาการ ที่ไปร่วมกับกองอนามัยการเจริญพันธุ์ เราก็มีคุณแอ้ม ซึ่งเป็นช่างศิลป์ และเป็น note taker ที่ดีมาก สามารถ note ได้ละเอียดยิบ ตาม sense ของเขาเอง เขาจะเขียนออกมาว่าอะไรเป็นอะไร ในขณะที่นักวิชาการมีการสรุปเป็นประเด็นๆ ซึ่งไม่เห็นบริบทอย่างที่ว่า เพราะฉะนั้น ไม่ได้บอกว่า ความเป็นนักวิชาการเท่านั้น ที่จะทำงานหน้าที่ note taker ได้ดี เราสามารถสร้างตัวแทนของเรา ให้เกิดความสามารถของอีกหลายคน ที่เราไม่คิดว่าเขามี ให้คนอื่นได้ชื่นชมร่วมกันด้วย

การเป็น note taker มีได้หลายเทคนิค ... บางเทคนิคก็คือ ตัวเราเอง ซึ่งเป็น Note taker พอฟังจับประเด็นได้ เราก็จะเขียนเป็น shot shot ไว้เลยว่า ถ้าเรื่องเล่าอย่างนี้ มันน่าจะมาจากปัจจัยตัวนี้ 1 2 3 4 พอถึงตอนนี้เราถามกลับไปที่กลุ่มว่า ใช่ไม๊ แต่จะมีเทคนิคของศูนย์อนามัยที่ 4 พอฟัง 1 คนเล่าจบ เขาก็จะให้คนในกลุ่มสรุปกันเอง เขาก็จะเหนื่อยน้อยหน่อย ขณะเดียวกัน ก็จะเป็นความเห็นมาจากกลุ่มด้วย

การฟังเรื่องเล่า ก็จะสามารถส่งเสริมให้ใช้เทคนิคการฟังด้วย ทุกคนส่วนใหญ่จะมีปัญหาว่า พอให้เล่าเรื่อง ทุกคนก็จะคอยกังวลกับการที่มีเรื่องเล่า เพราะฉะนั้นก็จะปิดสัญญาณ ไม่ฟังเพื่อนเลย เพราะเตรียมเรื่องเล่าไว้ในใจ ว่าต้องเล่าอะไร แต่พอเราตั้งกติกาว่า เดี๋ยวช่วยกันฟัง แล้วเดี๋ยวช่วยกันสรุปนะ ว่าเรื่องเล่าที่ดีๆ ได้อะไรออกมา เขาก็จะฟัง เพราะฉะนั้น ก็จะได้ทั้งเทคนิคการฟัง และประเด็นในตัว Note taker ก็จะสบายหน่อย

เรื่องของเวปไซต์ของสำนัก ที่เตรียมทำขึ้นเพื่อ support แผนการจัดการความรู้ของสำนักฯ คุณสุทินได้เล่าว่า ตอนนี้เพิ่งได้เริ่มทำเวป KM ซึ่งได้เตรียมการว่า จะให้มีเนื้อหาในเรื่อง

  • คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของสำนักฯ
  • โครงสร้างของคณะทำงาน
  • แผนการจัดการความรู้ของสำนักฯ ในปี 49
  • รายงานการประชุมของคณะกรรมการแต่ละครั้ง
  • กิจกรรมที่ดำเนินการในสำนัก
  • ผลสรุปจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละครั้ง
  • ภาพกิจกรรม
  • webboard ของสำนัก เน้นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

นพ.สมศักดิ์ ... ผมเองโดยส่วนตัวชอบ webboard เพราะมัน organize ง่ายดี และเรามีการคุยกันในทีมกลางว่า หน้าเวปที่ว่าด้วยเรื่อง KM เราอยากให้มีความเด่นชัดให้มากเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ พูดว่า เปิดขึ้นมาปุ๊บก็ให้มีเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เลย มี feature ชัดเจน ถ้าเป็นสมัยก่อนผมก็จะคิดถึง webboard ที่มีการตัดตอนมาให้ดู ว่ามีใครคุยเรื่องอะไรบ้าง ล่าสุด 5 เรื่อง และจะคลิ๊กไปคุยต่อก็ได้ จะตั้งกระทู้ใหม่ก็ได้ อันนั้นคืออันหนึ่ง อันที่สอง คือ มีความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ค้นหาได้ ในทางปฏิบัติคือ arrange ตาม topic เช่น ที่นี่มี CoP กี่เรื่อง ก็ตั้งชื่อขึ้นมา ใช้คำว่า ขุมความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง A B C D ก็ว่าไป พอหน้าแรกก็เห็นแล้ว นี่เป็นการแลกเปลี่ยนกันเฉยๆ ไม่จำเป็นต้องไปทำตาม แต่ว่า โดย feature เราอยากเห็นอย่างนั้น ซึ่งหมายความว่า section 1 2 3 4 5 6 7 8 ก็อาจไปเปลี่ยนรายละเอียดลงไปให้มันเหมาะก็ได้ แต่ว่าหน้าแรกก็ให้รู้สึกว่า อยากคุยเลยก็จะดี เห็นเขาคุยเรื่องอะไรอยู่ก็อยากคุยเลย

ทพญ.นนทลี … ได้เริ่มใช้ GotoKnow แล้วก็ติดใจ เพราะว่าตรงนี้มีคนเข้ามาคุยกับเราเยอะ เราจะได้รู้จักใครต่อใครหลายคน ตัวเองก็พยายามเสาะหา ชุมชน หรือบล็อกที่สนใจ และจะขอไป link ชุมชนกับเขาด้วย แต่ว่าตอนแรกที่ใช้ อาจต้องใช้เวลาศึกษาการใช้งานสักหน่อย จึงจะใช้งานได้คล่อง

แต่ที่สำนักส่งเสริมจะมีปัจจัยเอื้อที่ดี เพราะมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ก็จะช่วยงานในส่วน Internet ได้ดี ถ้าเข้าไปใช้ Webblog ก็อาจต้องใช้ประสบการณ์การเขียนเวปไปเขียนด้วย แต่พวกนี้ก็สอนกันได้ ถ้าลองเข้าไปใช้ รับรองว่าทุกคนต้องเป็น และคงอยากที่จะคุย อยากเล่า เพราะก็ไม่ต้องเล่าเรื่องยาว เล่าสั้นๆ ก็ได้ อะไรก็ได้ เดี๋ยวก็จะมีคนมาต่อยอดให้ ทั้ง อ.วิจารณ์ อ.สมศักดิ์ ก็ชอบที่จะมาคุยด้วย ถ้าเห็น wording อะไรที่ปิ๊งๆ ท่านก็จะมาเสนอละว่า ให้ทำอย่างโน้นทำอย่างนี้บ้างสิ

คุณศรีวิภา ... พอไปใช้ก็จะมีเสน่ห์ มันเหมือนมีชีวิต พอเราเขียนไปก็จะมีคนคุยกลับมา อันนั้นคือไปเขียนคุยต่อเลย แต่ที่ว่ายากคือ การไปสร้างหัวข้อใหม่ แต่ก็อาจจะถามกันนิดหนึ่งว่า ทำยังไง แต่ถ้ามีหัวข้ออยู่แล้ว และไปแลกเปลี่ยนกัน ตรงนี้จะไม่ยากเลย เขาเปิดช่องให้เราคุยกันได้ แต่ที่จะหลงก็คือ เราไม่ได้ใส่ตัวเลขเวลาตีพิมพ์ ที่จะทำให้พิมพ์ๆ แล้วหายไปหมดเลย หรือพิมพ์เลขผิดไป

นพ.สมศักดิ์ … Blog จะมีข้อดีตรงที่ เราคนเดียวเท่านั้นที่เขียนได้ คนอื่นๆ เขียนตั้งต้นไม่ได้ ยกเว้นเขามาเขียนต่อท้ายเรา เพราะฉะนั้นคนจะมาโฆษณาไม่ได้ มันจะตั้งหัวข้อเองไม่ได้ เขาจะใช้ blog ของเขา และถ้าเขาจะใช้ blog ของเขา และเขาจะโฆษณาเข้ามาที่ชุมชนเรา เราก็ต้องอนุญาตก่อน ถ้าหน้านี้แปลกๆ เราก็ไม่เขาเข้ามา ก็จะไม่โผล่เข้ามาในชุมชนเรา เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าไปที่ลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกรมแล้ว รับประกันไม่มีโฆษณา ยกเว้นจะเป็นข้อคิดเห็น ก็จะมาโฆษณาได้ ในกรณีข้อคิดเห็นที่เป็นโฆษณา เราก็สามารถลบทิ้งได้ และ blog ก็สามารถใส่ข้อมูลเพื่อให้ link ได้ด้วย

ถ้าเป็นเรื่อง webboard ไม่ดีตรงที่ คน post ขึ้นได้เลย ก็โฆษณากันมาก แต่เราก็เซนเซอร์ออกได้ สักพักถ้าเขารู้ว่า post แล้วไม่ขึ้น เขาก็ไม่มาเสียเวลา post

คุณสุทิน … สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะ CoP แต่ละครั้งจะใช้เวลานานสักเท่าไร กลุ่มที่เข้ามาแลกเปลี่ยนจำกัดหรือไม่ว่า จะอยู่ที่เท่าไรจึงจะดี หรือว่าเหมาะสม

คุณศรีวิภา … คงไม่มีสูตรตายตัวค่ะ คงต้องทดลองใช้ แต่ถ้ากลุ่ม CoP ใหญ่มาก ก็คงต้องเตรียมงานเยอะหน่อย ถ้า CoP เล็กก็ง่ายต่อการบริหารจัดการ คงต้องขอให้ลองไปทดสอบดู และอาจมาคุยกันอีกที

นพ.สมศักดิ์ … ผมหวังว่า ทางสำนักจะได้ประโยชน์จากการที่เรามาคุยกันในวันนี้ เราไม่ได้ถือหลักว่าเรามาตรวจสอบ เราถือว่ามาคุยกัน ว่า สำนักทำอะไรไปถึงไหน ช่วงแรกๆ ก็คงเป็นแบบนี้ แต่ว่า เรา expect ไว้ว่า ครั้งต่อๆ ไป เราจะไม่มาคุยในห้องประชุม เราจะไป observe กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเที่ยวหน้า เราจะนั่งวงนอก ให้จัดเป็นเวทีของพวกเรา และพวกผมขอนั่งดู

คราวหน้าเจอกัน ... ในลักษณะที่ KM Team ขอเรียนรู้จากหน่วยงานต้นแบบนะคะ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

หมายเลขบันทึก: 14440เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2006 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนคุณหมอนันทา

ด้วยทาง สคส. กำหนดว่าจดหมายข่าวฉบับหน้าจะหยิบประเด็น "เส้นทางการขับเคลื่อน KM ในหน่วยงาน"    และอาจารย์หมอวิจารณ์เสนอชื่อว่า  กรมอนามัย  มีการทำเรื่องนี้พอสมควร   โดยเฉพาะคุณหมอนันทาที่สื่อสารด้วยการเล่าเรื่องได้ดีมาก  จึงจะเรียนขอ  "บทความ"  จากคุณหมอประมาณ 3-4 หน้า A4  เป็นการเล่าประสบการณ์ ภาพรวมของกรมอนามัย   ซึ่งเล่าแบบถอยหลังที่เริ่มด้วยอธิบายว่างานอะไรสำเร็จ  หรือคนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างไร      แล้วค่อยๆอธิบายว่าทำอย่างไรจึงได้ผลแบบนั้น   เริ่มต้นทำ KM อย่างไร     มี CoP เกิดขึ้นหรือไม่  มีอะไรบ้าง  เกิดขึ้นได้อย่างไร  คงอยู่อย่างไร   หรืออื่นๆที่คุณหมอเห็นว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องราวดังกล่าว  

ทั้งนี้ผมรบกวนคุณหมอส่งต้นฉบับภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้   หากคุณหมอมรรูปภาพประกอบขอให้แยก file มาต่างหากนะครับ  เพราะเวลาพิมพ์ภาพจะชัดกว่า

หากอาจารย์มีข้อซักถามเพิ่มเติมหรือให้ข้อเสนอแนะใดๆ  ติดต่อได้ที่

[email protected]

โทร. 02-2980664-8 ต่อ 221

ขอบคุณอาจารย์เนอย่างสูงนะครับ

ด้วยความนับถือ

ธวัช  หมัดเต๊ะ

จนท.ประสานงานโครงการ  สคส.

http://learn-together.gotoknow.org

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท