เทคนิคการฝึกความคิดสร้างสรรค์


ความคิดที่แปลกแตกต่าง เป็นสิ่งใหม่และเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติ

อยากเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์  ลองอ่านดู แล้วนำไปฝึก  ใช้กับตนเองก่อนแล้วค่อยนำไปสอนต่อ  ดีไหมคะ
ความคิดเชิงสร้างสรรค์
(Creative Thinking)

          คือ ความคิดที่แปลกแตกต่าง เป็นสิ่งใหม่และเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติ
                      การก่อรูปความคิดสร้างสรรค์
                     1. สะสม          คือ การสั่งสมความรู้ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ
                     2. บ่มเพาะ      คือ ครุ่นคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ
                     3. สุกงอม        คือ ปล่อยความคิด
                     4. จุดประกาย     คือ เกิดความคิดใหม่
                     5. เกิดความคิดสร้างสรรค์   คือความคิดซึ่งผิดแปลกแตกต่างจากเดิม เกิดความคิดสิ่งใหม่ขึ้นมา 
                    
6. ตกผลึก    คือ การเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างกระจ่างชัด                     
                     7. ขับเคลื่อน    คือ นำความคิดนั้นไปสู่รูปธรรม 
                     8. สู่นวัตกรรม    คือ เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา 
  
           เทคนิคการฝึกความคิดสร้างสรรค์
                  1. ใช้ความคิดตลอดเวลา   โดยตั้งคำถามและหาเหตุผลในคำตอบ
                  2. ฝึกการคิดอย่างรอบด้าน   ไม่ยึดติดแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเพียงด้านเดียว
                 3. สลัดความคิดครอบงำ   โดยไม่จำกัดกรอบความคิดของตนเองไว้กับความเคยชินเก่า ๆ
                4. จัดระบบความคิด   โดยหาเหตุผลจัดระบบความคิดการเปรียบเทียบ การมองหลายมิติ
หรือค้นหาความจริง

                5. ยึดมั่นในหัวใจนักปราชญ์   ได้แก่ ฟัง คิด ถาม เขียน ซึ่งอาจใช้การระดมสมองเป็นตัวกระตุ้น 
                 6. ฝึกความเป็นคนช่างสังเกตจดจำ   เป็นการสั่งสมประสบการณ์และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่
                 7. ฝึกการระดมพลังสมอง    เป็นการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล หลายๆ ฝ่าย
                 8. พยายามสร้างโอกาสแห่งความบังเอิญ   คือ บางสิ่งไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลย อาจจะเป็นคำตอบต่อปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นได้
                9. ไม่กลัวความล้มเหลวหรือการเสียหน้า    เพราะการเสนอความคิดเห็นไม่มีถูก หรือผิด
              10. ไม่ย้ำรอยอยู่แต่ความสำเร็จเดิม   เช่น การกระทำทุกอย่างเมื่อเห็นว่าดี ประสบความสำเร็จแล้ว ต่อไปควรจะพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยวิธีการใหม่ 

            เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 
                  1. ทฤษฎีกระดาษเปล่า (Blank paper theory)   หมายถึงการไม่ตีกรอบความคิดผู้อื่น ไม่คิดถึงปัญหา อุปสรรค ขีดจำกัดหรือ ความเป็นไปไม่ได้
                 2. การรวมและการแยก (Integrate & Separate)   คือ การรวมกันจะเกิดอะไรขึ้น ดีขึ้นไหม หรือทำอย่างไรให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าหากแยกกันจะเกิดอะไรขึ้น มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนและทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร
                 3. การตั้งคำถาม (Inquiry)
                          - ถามเหตุผล ว่า.........ทำไม
                          - ถามสมมุติ ........ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วจะทำอย่างไร
                           - ถามเปรียบเทียบเชิงพัฒนา   เช่น
                                        - อะไรที่คนอื่นทำแล้วแต่เรายังไม่ได้ทำ
                                        - เราทำได้ไหมและจะต้องรีบทำอะไร
                                        - อะไรที่เราทำแล้วแต่คนอื่นทำดีกว่า
                         - ถามต่อเนื่อง เช่น ........ทำอะไร ทำได้ไหม ทำอย่างไร จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
                4. การเลียนแบบ (Synetics)    คือ การทำให้แตกต่าง ก้าวหน้า ดีกว่าเดิมแล้วกระโดดไปสู่สิ่งใหม่
                5. การเพิ่มมูลค่า (Value Added)     เช่น ปรับแต่งให้ดีขึ้นกว่าของเดิม แปรรูปจากของเดิมเป็นสิ่งใหม่นำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ โดยทำให้เสียน้อยที่สุดและมีการประกันความเชื่อมั่นใน สิ่งนั้น
ที่มา  http://school.obec.go.th/sup_br3/VISION%20_3.htm

 

หมายเลขบันทึก: 143335เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในฐานครูวิทย์ ประสบการณ์ไม่ถึง 20 ปีขอช่นชมความสามารถในการแต่งกลอนประวัติและการเขียนข้อความลงใน web ส่วนตัว และขอขอบคุณในการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับวิทย์ สำหรับครูวิทย์และครูสาขาอื่น ๆ

จาก...ว่าที่มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาชื่นชมกัน เป็นครูก็เหมือนเป็ด ทำอะไรก็ได้กะเขา แต่เอาเข้าจริงก็ย่ำแย่เหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท