…การอาศัยซึ่งกันและกันของความรู้กับประสบการณ์...


...ด้วยความรู้ในระดับเดียวกัน...หากแต่ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน ก็ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ..แตกต่างกัน...

                วันนี้ (29 ต.ค.50) เป็นวันเปิดเรียนภาคเรียนปลาย ปีการศึกษา2550 สำหรับนิสิตภาคปกติ และเป็นวันแรกของการเพิ่ม/ถอนรายวิชา และการลงทะเบียนล่าช้าของนิสิต

                ปัญหาเดิมๆ ของนิสิตเรา คือ

                ·     การตกแผนการเรียนทำให้ลงทะเบียนไม่ได้ 

                ·     ต้องการย้ายกลุ่ม (เพราะต้องการเรียนกับเพื่อน)... 

                ·     กลุ่มเต็ม.. ที่นั่งไม่เพียงพอสำหรับนิสิตทั้งหมด...

                ·     ฯลฯ

           ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ประสบทุกภาคเรียน  แต่ที่แตกต่างสำหรับปีนี้ คือ จำนวนผู้เข้ามาติดต่อที่น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหากคิดเข้าข้างตนเอง คงต้องบอกว่า นิสิตเราเดี๋ยวนี้เก่งขึ้น รับรู้ข่าวสารมากขึ้น ระบบการตรวจสอบรายวิชา- ตารางเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่วยให้นิสิตได้รับรู้ข่าวสารได้รวดเร็ว รวมถึง รู้ว่าตนเองจะต้องทำอะไรต่อไป หากประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผนวกกับเจ้าหน้าที่หรือนักวิชาการศึกษาของคณะ ก็มีประสบการณ์มากขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและเป็นที่ปรึกษาให้กับนิสิตในเรื่องของงานวิชาการได้ตรงประเด็นขึ้น...

 

                ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะว่า จากประสบการณ์การติดต่อประสานงานกับคณะ (นักวิชาการศึกษา) จะพบว่า คณะที่มีนักวิชาการศึกษาที่ทำงานอยู่กับการดูแลเรื่องการจัดตารางเรียนตารางสอนของสังกัดตลอดระยะเวลาหลายๆ ปี กับคณะที่มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่หรือนักวิชาการที่ดูแลเรื่องดังกล่าวบ่อยๆ  มีการปฏิบัติหรือการประสานงานที่แตกต่างกันอย่างเห็น ได้ชัด  ทั้งๆ ที่บุคลากรทุกคนที่จะมาเป็นนักวิชาการศึกษาได้นั้น มีระดับการศึกษาอย่างน้อยก็ปริญญาตรีเหมือนๆ กัน (เพราะเป็นมาตรฐานของตำแหน่งดังกล่าว)

                  ...ด้วยความรู้ในระดับเดียวกัน...หากแต่ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน  ก็ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ..แตกต่างกัน...น่าจะเป็นเหตุผลให้คณะหรือภาควิชา พิจารณาเรื่องของการวางตัวบุคคลสำหรับปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญเฉพาะอย่างเช่นการจัดตารางเรียนตารางสอนของสังกัด..ได้เป็นอย่างดี  อย่างน้อยเพื่อลดปัญหาของภาควิชา/สาขาวิชา หรือคณะ ในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนไปได้บ้าง  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น  อีกไม่นาน ปัญหาดังกล่าวข้างต้นของนิสิตในมหาวิทยาลัยของเราคงหมดไป หรืออย่างน้อยก็ยังคงหลงเหลือเฉพาะกรณี...จริงๆ...       
หมายเลขบันทึก: 142842เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2007 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท