ไทยจะสร้างสรรวัฒนธรรมให้เป็นปึกแผ่นและมีคุณค่าได้อย่างไร


ของฝากจากลาวที่ต้องการคงรักษาวัฒนธรรมดีๆของตนไว้

คงต้องวานป้าแดงแปลเป็นไทยให้จั๊กหน่อย 

สังคมไทยนั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก  โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาที่ไม่ค่อยสนใจค้นหาตัวตนจากประวัติศาสตร์  เพราะจะทำให้เข้าใจปัจจุบันมากขึ้น  แต่คนไทยกลับลืมสิ่งนี้ไปหมด 
โรงเรียนขาดการสอนประวัติศาสตร์  โดยเฉพาะนักคิดที่ถูกครอบงำวิธีคิดมาจากต่างประเทศ  โดยเฉพาะประเทศที่ไม่มีประวัติศาสตร์  เพราะเพิ่งเกิดมาเมื่อร้อยสองร้อยปี  ไม่มีสิ่งดีๆเชิงวัฒนธรรมดั้งเดิมมาขาย  จึงต้องขายของใหม่  ด้วยการวาดภาพอนาคตในแนว Scenario Technic 

จากการไม่สนใจในประวัติศาสตร์ตัวตนของไทย  ทำให้สังคมไทยเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก 

ตัวอย่างหนึ่งคือ เมืองโยนกนาคนคร  นครเชียงแสนอันเก่าแก่  มีการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มที่ต้องการใช้พื้นที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม  อีกกลุ่มต้องการบูรณะเป็นมรดกโลก  ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาบูรณะมานับหลายสิบปี  แถมเกิดการบุกรุกจนจะกลายเป็นเช่นเมืองเก่าอื่นๆ

 สภาพของสังคมอยู่ในภาวะวิกฤติ  ด้านการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมแต่ไทยยังมีดีที่พระมหากษัตริย์  เป็นสถาบันหลักในการบำรุงรักษาวัฒนธรรมเก่าๆให้คงไว้  และเรามีการตั้งสำนักงานเอกลักษณ์ของชาติและกระทรวงวัฒนธรรมขึ้นมารับผิดชอบในการดูแล  

กระแสโลกาภิวัตน์จากกลุ่มประเทศตะวันตก  เริ่มทะยอยทำลายวัฒนธรรมไทยที่ว่าดีงาม  เป็นเรื่องยากมากที่จะต่อต้านกระแสนี้  เนื่องจากความคิด  ความเชื่อ  วิถีชีวิต  ตลอดจนค่านิยมต่าง ๆ จากกระแสตะวันตกนี้มากระทบตัวเราโดยตรงอย่างรวดเร็ว  ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น  โทรทัศน์  ภาพยนตร์  คอนเสิร์ต  การแสดงแฟชั่นต่าง    

เยาวชนไทยขาดการเรียนการสอนเรื่องรักชาติ  ไม่รู้จักแยกแยะว่าสิ่งไหนดีควรเก็บรักษาไว้  และสิ่งไหนไม่ดีควรปล่อยทิ้งไป  เพราะสังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมเปิด  ผิดกับประเทศพม่าและลาวที่เป็นประเทศที่มีสังคมในระบบปิด

               

                 สังคมไทยเดิมมีปัจจัยเกื้อกูลให้สังคมอยู่ดีมีสุข  คือ  บ้าน  วัด  และโรงเรียนที่เราเรียกว่า บวร  ที่ก่อนนั้นใกล้ชิดเยาวชน  คอยสั่งสอนอบรม  และดูแลให้เด็กรู้จักคิด  รู้จักทำและมีจิตสำนึกที่ดีงาม   แต่ปัจจุบัน สื่อ”กลับทำลายภายใต้ความมีอิสระเสรี  มุ่งอยู่แต่ผลประโยชน์ทางธุรกิจตนมากกว่านึกถึงผลประโยชน์ชาติ  ดังตัวอย่างการทะเลาะตบตีของดาราดูเหมือนว่ามันมีคุณค่าต่อชีวิตในสังคมไทยมากกว่าสิ่งดีงามที่มีทั่วแผ่นดินแต่ไม่ถูกค้นมาเผยแพร่

              

               หน่วยทางสังคมเดิม  บ้าน วัด และโรงเรียน ไม่ได้ทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กเหมือนสมัยเดิม ๆ  คนในครอบครัวทั้ง พ่อ และ แม่ ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทั้งคู่ ทิ้งเด็กไว้ให้ ปู่ ย่า ตา ยาย เลี้ยงดู ส่วนที่โรงเรียนนั้น สภาพของครูปัจจุบันก็มีปัญหามากทั้งภาระหน้าที่  หนี้สิน  ไม่มีเวลาอบรมดูแลลูกศิษย์ดังเช่นก่อนๆ

             

ตัวอย่าง  การสอนเด็กๆในเวียตนามน่าสนใจมากก่อนบวชเรียนเป็นพระ สามปีแรกจะให้ไว้โก๊ะ(สามแกละ)  พอ  อายุ 12 ก็ตัดแกละเหลือหนึ่งจุก  พออายุ 15 ก็โกนหัวบวช  ฝึกความอดทดของเด็กมาก  ระหว่างอยู่วัดก็สอนหนังสือให้เด็ก  ไม่น่าแปลกใจคนเวียตนามจึงมีคุณภาพมาก                                                                                                                                                                              

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 142657เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2007 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท