โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในฝัน วังตะกูราษฐอุทิศ


เวทีฝึกถอดบทเรียน

                                                     บันทึกวันที่ 31 มกราคม พศ. 2549

   วันนี้เราก็ได้ลงไปที่โรงเรียนวังตะกูราษฐอุทิศ ก็มีทีมงานด้วยกัน 4 คน  แล้วก็มีน้องๆมาฝึกงาน2คนซึ่งเป็นรุ่นน้องเปีย2คนซึ่งมาฝึกเป็นวันที่2ก็พาลงพื้นที่เลยซึ่งไปช่วยจดบันทึกซักถาม ลงไปช่วยสรุปปิดโครงการเลย ( งานแรก)

1. คุณอิทธิพล  บุญบุตร   ( อำนวย )

2. คุณจันทร์เพ็ญ  พันธุ์เขียน ( การเงิน )

3. คุณสุวัฒน์ ศรีทัน    ( บันทึก +ลิขิต )

ซึ่งมีน้องๆที่ฝึกงานช่วยในการจดบันทึกเหมือนกับเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันไปด้วยในเวที

เปียก็เริ่มขบวนการชวนอาจารย์นิษณากับอาจารณย์สุทินพูดคุยไปตามภาษาคุณอำนวยแต่อาจารณย์ก็ยังไม่ได้เอาองค์ความรู้ออกมาให้เราซึ่งเป็นคุณบันทึกได้จดสักเท่าไรแต่พอได้พูดคุยไปเรื่อยๆก็เริ่มที่จะออกมาซึ่งคุณอำนวยกับคุณบันทึกช่วยกัน ก็ได้เทคนิคจากอาจารณ์ทรงพลนั่นร๊ะครับ 9 ข้อซึ่งอาจารณ์ที่ให้เป็นกรอบหลักๆในการถอดบทเรียนแล้วผสมกับความคุ้นเคยกันมาก่อนจากที่ไปศึกษาดูงานที่ลพบุรีซึ่ง cop ทายาทเกษตรก็เลยได้อะไรดีมาก

ผลที่ได้รับจากโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในฝัน

1. นักเรียนได้ความรู้ความเข้าใจในด้านพิษภัยของสารเคมีแล้วตระหนัก

2. นักเรียนกล้าคิดกล้าแสดงออกต่อหน้าสาธารณะชนแล้วรู้จักคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาได้เอง

3. นักเรียนได้เป็นแกนนำแล้วในกลับไปบอกครอบครัวแล้วขยายต่อชุมชน

4. นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งเวลาให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเมื่อก่อนเด็กได้เอาเวลาไปเล่นเกมออนไลนท์

5. นักเรียนได้การทำงานกันเป็นทีมและเครือข่ายแล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

6. นักเรียนและผู้ปกครองมีสุขภาพที่ดีกว่าเดิม ผลมาจากการตรวจหาสารตกค้างและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

7. แม่ค้าได้เห็นความสำคัญตระหนักพิษภัยสารเคมีให้กับผู้บริโภค ( มี อย. )

8. นักเรียนรู้จักการทำงานแบบบูรณาการระว่างครูผู้ปกครองชุมชนเข้าด้วยกัน

ผลที่ไม่ได้คาดหวังแต่ได้จากโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในฝัน

1.ได้น้ำใจ ความใกล้ชิด จากเด็กที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน

2.ได้คุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความเอื้ออารีซึ่งกันและกัน

3. จากเด็กที่ก้าวร้าวก็กลายมาป็นเด็กที่อ่อนโยน ซึ่งเมื่อก่อนจะเป็นเด็กที่เกเรมากโดดเรียนแต่พอมาทำโครงการเด็กกลับมาสนใจการเรียนมากขึ้น

4. ซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของผู้ปกครองมากขึ้น จากเมื่อก่อนเวลาจะไปศึกษาดูงานต้องทำหนังสือให้ผู้ปกครองแต่เดี่ยวนี้แค่โทรไปบอกก็ให้ไปแล้ว

5. เด็กๆกล้าที่จะมาปรึกษาปัญหากับอาจารณย์มากขึ้น

6  นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาที่เค้าเจอแล้วแก้ไขไปในสิ่งที่ดีขึ้น

7. นักเรียนได้เอาความรู้นี้ไปดำเนินชีวิตประจำวันให้อยู่รอดได้

8. นักเรียนได้หันกลับมามองตัวเองมากขึ้น ได้สติ จากเมื่อก่อนได้รับคำสั่งก็ทำๆๆไม่ได้มองว่าทำไปแล้วมันเกิดผลอย่างไร

9. นักเรียนได้ใส่ใจกับการปลูกผักปลอดสารและงานอื่นๆมากขึ้น (ใส่ใจเขาใส่ใจเรา) เช่นจะดูว่าเขารดน้ำผักจะสดใสใหมหรือว่าเหียว แล้วจะทำให้เคาสดใสอย่างไร

10. การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะและรายพิษเศษได้ในเวลาเรียน ( เก็บผักขายให้กับแม่ค้า )

11. จากเด็กที่เป็นเพื่อนกันมาก่อนกับแตกคอกัน กับจากไม่รู้จักกันมาก่อนกับมาเป็นเพื่อนกัน( ดาบสองคม)

ความคิด ทักษะ ความรู้ ใหม่ๆที่ได้

 1. คุณธรรม จิระธรรม ความซื่อสัตย์ทรุดจริต

 2. รู้จักตัวตนเองมากขึ้น

 3. แบ่งเวลาใหเป็นประโยชน์

 4. เปิดโลกปะทัศน์มากขึ้น

ความประทับใจในตัวเด็ก

 - ประทับใจที่เด็กได้มีความเอื้ออาทร มีความซื่อสัตย์ สุจจริต

 -  มีคุณธรรม จริยธรรม เด็กได้รู้คุณค่าของคำ " เกษตรกร" ได้หันมามองตัวเองและท้องถิ่นที่อยู่อาศัย จากเด็กที่เกเรก็หันมาปรับปรุงตนเองไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมาก

 -  เด็กได้มองเห็นปัญหาจากครอบครัวตนเองที่เกิดขึ้นต้องการช่วยแก้ไขและมีใจที่จะทำเต็มร้อย

 วิธีการทำเกษตรปลอดสาร 

 เด็กๆและอาจรารณ์ก็ทำมาเด็กจบไป 2 รุ่นแล้วครับต่อยอดมาเรื่อยๆ 3-4 ปีแล้วครับ

     ที่บ้าน

 - นักเรียนทำที่บ้านของตนก่อน มีการเตรียมแปลงดิน การเตรียมดิน ทำปุ๋ยคอกจากวัสดุจากท้องถิ่น ขี้วัว ขี้ไก่ แกลบดำ แล้วก็นำไปใส่ในแปลงที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ 1 อาทิตย์พอไปจับดินถ้าดินซุ้ยก็ใช้ได้นำกล้าที่เตรียมไว้ไปปลูก

- อีกอย่างหนึ่งอยู่ใกล้ๆกับปราชญ์พิจิตร ลุงณรงค์ แฉล้มวงค์ ลุงสืบ กลิ่นชาติ ได้เข้าไปให้ความรู้และวิการปฎิบัติแล้วก็นำเข้ามาในโรงเรียน ลงมือปฎิบัติในโรงเรียนและมีครูที่ให้การสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและภาคปฎิบัติ อ. สุทิน  อ. นษิณา แล้วก็ ผอ. สมควรซึ่งได้เล้งเห็นความสำคัญในการทำผักปลอดสารและแนวคิดเศรฐกิจพอเพียงและสุขภาพจิตใจของเด็กๆ

 ที่โรงเรียน

 - ในโรงเรียนก็ทำประมาณ ครึ่งไร่ ในบริเวณโรงเรียนที่ว่าง  เด็กๆก็เตรียมดินใช้แกลบดำขี้เถ้าขี้วัวไปผสมแล้วนำไปใส่แปลงผักใช้จอบสับๆให้เข้ากันและเอาฟางข้าวมาคุมทับใช้นำหมักชีวภาพรดทิ้งไว้ประมาณ 7 วันแล้วก็นำเมล็ดพันธุ์ผักมาลงแปลง

 - นักเรียนนำวิธีการจากประสบกราณ์ที่บ้านมาปรับทำในโรงเรียน " การปลูกผัก "

 การเปลี่ยนแปลงของนักเรียน

 1. รู้จักการแยกแยะแบ่งเวลาในการทำเกษตรและเรียนควบคู่กันไป เช่นตอนเลิกเรียนเสร็จก็จะไปเที่ยวเล่นตามร้านเกมส์ แต่พอมีกิจกรรมก็ได้แบ่งเวลาในการทำโครงการนี้เพราะเด็กต้องมาทำความเอาใจใส่กับแปลงผักที่ตนเองปลูกอยู่มากกว่าที่จะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นเพราะต้องการเห็นผักที่ตนเองทำอยู่เจริญเติมโต

 2. นักเรียนสามารถหารายได้นำเงินส่วนนี้มาช่วยในการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอ

 3. นักเรียนสามารถนำปัญหามาคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กับสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น สปริ้งเกอร์น้ำจะกระจายและชุ่มเฉพาะหน้าดิน เด็กก็ต้องการที่จะนำนำหยดเข้ามารดน้ำผักแทน

 4. นักเรียนมีความออนโยนทางจิตใจที่ดีขึ้น เด็กมีความรับผิดชอบมากขึ้น รู้จักเป็นห่วงคนรอบข้างมากขึ้น

 5. เด็กรุ้วิธีการเข้าสังคม สามารถเข้าสู่สังคมได้มีกริยามารยาทอ่อนน้อมมากขึ้น จากเมื่อก่อนกิริยามารยาทที่ก้าวร้าว เด็กก็อ่อนลง

นี่ก็เป็นข่าวที่ทีมมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรได้นำมาเล่าสู่กันจากการลงเวทีติดตามโครงการของอำเภอบางมูลนาก เป็นเวทีแรกที่ไปถอดบทเรียนอย่างไรก็ขอคำติชมด้วยนะครับ อาจารณ์

บันทึก หนุ่ม   : 22.30 น. 31/1/2549

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14197เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลองเล่าเรื่องนักเรียนของ รร. วังตะกูฯ ที่คุณสุวัฒน์ประทับใจที่สุด    ว่าเขาทำเกษตรปลอดสารที่ รร. อย่างไร    ทำที่บ้านอย่างไร    ทำมานานเท่าไรแล้ว    ชีวิตของเขาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

วิจารณ์

ขอบคุณอาจารณ์ที่ให้คำแนะนำครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท