โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

"คุณหมอคะ ฉันนอนไม่หลับ"


" เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง และเราก็ไม่จำเป็นต้องทุกข์กับปัญหาทุกปัญหา "

ไม่นานมานี้มีคนไข้คนหนึ่งมาปรึกษาผมที่ clinic ด้วยปัญหานอนไม่หลับ เธออายุประมาณ 35 ปี มากับลูกชายวัย 15 ปี ปรึกษาผมว่า "นอนไม่หลับ" เป็นปัญหาที่แสนจะสามัญธรรมดา เป็นปัญหาอันดับ top  ten ของปัญหาที่พบบ่อย และก็เป็นปัญหาที่แพทย์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากเจอ เพราะส่วนใหญ่จะจบลงด้วยจ่ายยานอนหลับหรือยาลดอาการซึมเศร้า

เธอบอกว่า ไปมาหลาย clinic ไปทั้งโรงพยาบาลเอกชน สุดท้ายรักษาที่จิตเวช รพ.แม่สอด 2 ปี (คาดว่าน่าจะเป็นโรคซึมเศร้า) ไม่หายซักที ช่วงหลังๆ เป็นมากขึ้นถึงขนาดว่า แน่น อัดอั้นในอก ทุกที่บอกว่าฉันเครียด ตรวจทุกอย่างก็ปกติ

ผู้ป่วย "หมอบอกว่าฉันเครียด"

ผม " แล้วพี่เครียดจริงไหม ?"

ผู้ป่วย " มีหลายเรื่องให้คิด นอนไม่ได้เลยมา 3-4 วัน วันนี้อยากได้ยานอนหลับ"

ผม "เล่าให้ผมฟังซักเรื่องได้ไหม"

ผู้ป่วย " หลายอย่างมาก ทั้งหนี้สิน และ เรื่องในอดีต"

 พอดีลูกชายเดินเข้ามาในห้องตรวจและนั้งฟังด้วย ดูสีหน้าห่วงแม่ แต่ทำเป็นนั่งอ่านหนังสือการ์ตูนที่ถือมาด้วย

ผม "เรื่องในอดีตเป็นอย่างไร "

ผู้ป่วย " คิดเรื่องน้องชายที่ฆ่าตัวตายไปเมื่อ 2 ปีก่อน  น้องชายกินเหล้ามากจนประสาทหลอน  มันไม่คิดถึงลูกเมียหรือไงว่าจะลำบาก"

ผมคุยไปลึกๆพบว่า ผู้ป่วยประสบการณ์สูญเสียหลายครั้ง

1.พ่อหย่าร้างกับแม่ตั้งแต่ผู้ป่วยยังเล็ก

2.แม่เป็นมะเร็งเสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้

3.ครอบครัวผู้ป่วยสามีเป็นตำรวจเครียดเรื่องหนี้สินและสามีเป็นคนเงียบๆ  ภรรยาไม่กล้าปรึกษาเวลามีปัญหา

4.ผู้ป่วยเป็นเหมือนหัวหน้าครอบครัวแบกรับปัญหาทุกอย่าง

5.ต้องเลี้ยงดูลูกชายวัยรุ้น กับ ลูกสาววัย 5 ขวบที่กำลังซน

ผมฟังเธอแล้วดูวุ่นวายสับสนไปหมดว่าเรื่องใดก็เป็นปัญหาไปหมด อารมณ์ดูซึมเศร้า

ผม "ทุกคนมีทุกข์ทั้งนั้น หากแต่ว่า คนแต่ละคนวางทีท่าต่อทุกข์ต่างกัน ทำให้เกิดทุกข์ไม่เท่ากัน"

" เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกข์เรื่อง และเราก็ไม่จำเป็นต้องทุกข์กับปัญหาทุกปัญหา"

" ผมคิดว่าจากอาการ คิดว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า ยาอาจช่วยได้แต่ใจก็ต้องสู้กับปัญหา"

"คุณเป็นผู้หญิงที่เก่งเลี้ยงลูก 2 คน ดูแลทุกปัญหาในบ้าน"

ผู้ป่วย "จำเป็นคะ โชคดีที่ลูกชายไม่เกเร " (ยิ้มๆ)

ผมจ่ายยานอนหลับ พร้อม ยาต้านอาการซึมเศร้า (เหมือนหมอคนอื่นๆ)

ผมถามเธอว่าชอบอ่านหนังสือหรือไม่ "เธอบอกว่าอ่านเก่ง "

ผมให้หนังสือของท่านไพศาล วิสาโลไปแล้วนัดดูอาการ 1 สัปดาห์

ก่อนกลับเธอบอกผมว่า " คุณหมอเป็นคนแรกที่ฟังฉันมากขนาดนี้ ฉันไม่กลัวโรคหัวใจแล้ว หลังคุยกับหมอแล้วหายแน่นหน้าอกเลย "

จิตใจของผมเกิดปิติมาก และคิดว่า นี้แหละคือ อานุภาพแห่งการฟัง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นอนไม่หลับ
หมายเลขบันทึก: 141801เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ไป ไป มามา แล้ว ทักษะที่สำคัญมาก ที่เจ้าหน้าที่น่าจะได้เรียนรู้ คือทักษะในการฟัง ทุกวันนี้พี่ก็พยายามฝึกอยู่ตลอด
ขอบคุณอาจารย์จิ้นที่แวะมาครับ การฟังเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าใจ ฟังเป็น จะได้ประโยชน์มาก ไม่ว่าจะลดเวลาการดูแล เพิ่มคุณภาพการดูแล และส่งเสิรมความสัมพันธ์ที่ดีด้วยครับ

ขออภัยพี่สุพัฒน์นะครับที่ผมต้องย้ายความเห็นมาไว้ ที่นี่เนื่องจากผมเกิดไป post บทความซ้ำกันจึงต้องลบ  บทความครับ

ยินดีแลกเปลี่ยนกับพี่เสมอครับ

P
1. kmsabai
เมื่อ พฤ. 25 ต.ค. 2550 @ 16:42 [434846] [ลบ]

สวัสดีครับ

เข้ามาแบ่งปันความรู้สึกดีๆครับ

อ่านแล้วเห็นภาพบ่อยๆเลยครับ  เหมือนกันครับ

ขอบคุณมากๆครับ  ^_^

มาขอชื่นชมคุณหมอด้วยคนค่ะ

ถ้าหมอให้เวลา โดยฟังคนไข้สักเล็กน้อย คนไข้อาจไม่ต้องใช้ยาก็ได้นะคะ

รับฟัง เห็นด้วยมาก ๆ เลยค่ะ

แต่ทำยากนะคะ มีหลายปัจจัย..จำนวนคนไข้ที่มากมาย สำหรับโรงพยาบาลรัฐ..น่ะค่ะ

สวัสดีครับ

คุณจริยา ก็เป็นเรื่องยากจริง ๆ ครับ สิ่งที่สำคัญกลับไม่ใช่ใคร ครับเพียงเราตั้งสติและใช้เวลาที่ดูคนไข้แต่ละคนอย่างคุ้มค่า

เพียงคำพูดไม่กี่คำ-รอยยิ้ม-และถามตัวเองว่า "ตรวจคนไข้ไปทำไม?"

ถ้าคำตอบคือ "เพื่อให้เสร็จ" เราก็จะได้วิธีเดิมในการจัดการปัญหา

แต่ถ้าคำตอบ คือ การช่วยให้เขาพ้นทุกข์ วิธีก็จะเปลี่ยนไป

ผมเองก็ยอมรับว่า ทำไม่ได้ทุกคน ทำไม่ได้ทุกครั้ง แต่ก็พยายามฝึกฝนอยู่ตลอด ผลก็ดีขึ้นครับ

ผมก็นอนไม่ค่อยหลับครับช่วงที่ผ่านมา ลุ้นบอลทั้งน้ำตา เฮ้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท