โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

วันแรกไปถึงสนามบินฟูคุโอกะตอนเช้าแล้วเที่ยว ศาลเจ้าดาไซฟูขอพร


ไปถึงวันแรก ก็เริ่มนั่งรถเที่ยวกันเลยที่แรก ศาลเจ้าดาไซฟู

      เมื่อมาถึงสนามบิน มีรถบัสมารับ คนขับเป็นชาวญี่ปุ่นผิวคล้ำยังกับคนอีสานบ้านเฮา แล้วก็หน้าตายิ้มแย้มท่าทางใจดี  ออกเดินทางจากสนามบินไปเที่ยวที่แรก วัดดาไซฟูเป็นวัดกึ่งศาลเจ้าเก่าแก่ สร้างมาแล้วกว่า 600 ปีดังที่สุดในตอนใต้ของญี่ปุ่นที่มีจุดเด่นหลายประการ>>>

dazifu

 student

  •  เป็นวัดที่สร้างให้กับนักปราชญ์ท่านหนึ่ง ก็เลยกลายเป็นตัวแทนของเรื่องการศึกษา   นักเรียน นักศึกษาจะมาที่วัดนี้เยอะมากมายหลายคณะ เพื่อมาขอพรเกี่ยวกับเรื่องการเรียน พี่ไกด์เป็ดบอกว่า มาจากทั่วประเทศ สัญลักษณ์ของที่ระลึกที่ทำมาขาย จะมีตุ๊กตานักปราชญ์รวมอยู่ด้วย
  • วัดนี้มีต้นบ๊วยอยุ่ประมาณ 3000 ต้น ต้นใหญ่ๆ อายุเยอะกันทั้งนั้น แถมด้วยต้นท้อขาว 1 ต้น ท้อแดงอีก 1 ต้นที่เจ้าหญิงองค์หนึ่งปลูกให้นักปราชญ์
  • คนสุขภาพไม่ดีก็มาที่นี่ได้ เพราะมีรูปปั้นวัวเงาวับ (สงสัยโดนลูบไล้มาก) ต้องลูบที่เขาแล้วขอพรให้หายเจ็บป่วย

วัว

จากที่นี่แล้ว ไปรับประทานอาหารกลางวันเป็นอาหารชุดแบบ เบนโตะ ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นบ้านเรา

food

ที่เที่ยวต่อไปคือ เมืองเบบปุ ที่มีบ่อน้ำพุร้อนสีดินแดง กับอีกบ่อที่ไปจะเป็นสีฟ้าน้ำทะเล บ่อที่สองนี้ มีบ่อเล็กๆ ใส่น้ำไว้ให้เอาเท้าไปแช่กันได้ ในบ่อมีหินภูเขาไฟก้อนเล็กให้ไปยืนเหยียบเล่น

ตามบ้านเรือนที่เมืองนี้ใช้น้ำแร่เป็นน้ำประปา ทำให้คนมีผิวพรรณผุดผ่องดูอ่อนกว่าวัย โดยเฉพาะผู้หญิง  ชักอยากมาอยู่แล้วสิ

     ที่ตลกอย่างหนึ่งคือ ตอนไปบ่อเลือด (สีแดง) มีการตั้งโต๊ะขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำแร่ คนขายเป็นผู้หญิงสองคน พอเห็นเราเดินไปเขาก็ทำท่าเทน้ำแร่ออกมาใส่ที่มือ แล้วก็เอามาทาที่มือของเขาให้ดู เสร็จแล้วก็ให้เราลองบ้าง เราก็เลยเอามาทาหน้า พอกลุ่มของเราเข้ามามุงดู คราวนี้การสาธิตของคนขายก็เปลี่ยนไปโดยเอาไปทาที่หน้าบ้างตามแบบที่เราทำ แม้จะพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่เขาคงเดาออกว่าพวกเราคงรักสวยรักงามกันทั้ง น้าน....

บ่อน้ำพุร้อน

 

sprinkle

     ตอนไปที่ เที่ยวสุดท้ายคือไปหมกทราย และอาบน้ำแร่ใน Hyotan Onsen สมาชิกทัวร์ชื่นชอบกันมาก ติดใจเรียกหาอีกรอบ แม้แต่คนที่ไม่เคยมีประสบการณ์อาบน้ำล่อนจ้อนในที่สาธารณะแบบนี้มาก่อน ก็เลิกอายกันแล้ว เพราะมีเทคนิคการปกปิดที่คนญี่ปุ่นรับไม่ได้ เล่นใส่ยูกะตะเข้าไปในห้องอาบน้ำ พร้อมผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ คนญี่ปุ่นเวลาอาบน้ำต้องมีผ้าผืนเล็กเอาไว้ขัดหลัง

     ตอนเย็นพวกเราได้รับประทานอาหารกับชาวบ้านที่เราจะต้องไปอยู่บ้านเขา 2 คืน พวกเรา 21 คนรวมพี่ไกด์เป็ดอีก 1 คน ได้รับการแบ่งกลุ่มไปตามบ้านต่างๆ 6 หลัง โดยการจับสลาก เป็นเรื่องน่าแปลกเมื่อผ่านไปแต่ละวัน ดูเหมือนแต่ละคนจะได้บ้านที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี ถูกจริตกันแทบทุกกลุ่ม อ.คนไร้กรอบ บอกว่า นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เหมือนเราได้กลับมาเยี่ยมญาติที่จากกันไปนาน

        สำหรับกลุ่มเรา มีครอบครัวของคนดอย กับครอบครัว citrus ที่ไปอยู่บ้านของนักเล่านิทาน คุณลุงกับภรรยา  อายุหกสิบกว่ากันแล้ว (เราเรียกเขาว่า โอโต้ซัง กับ โอก้าซัง คล้ายพ่อใหญ่ แม่ใหญ่ของอีสาน) อยู่ในบ้านที่เรียบง่าย เขาบอกว่าเขาเป็นคนจน ถ้าเทียบกับครอบครัวอื่นๆ ขนาดว่าจน ในบ้านก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกพอสมควร เช่น มีที่กรองน้ำ เพิ่งสังเกตเห็นทีหลังว่า เครื่องนี้สุดยอดเลย มีปุ่มให้เลือกปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ตามการใช้งาน เช่น ใช้ล้างหน้า ใช้ดื่ม ใช้ปรุงอาหารต้องเลือกปุ่มไม่เหมือนกัน

     อากาศที่นี่เย็นมากๆ มากกว่าที่คิดไว้ เพราะอยู่บนเขาและเจ้าของบ้านเขาก็ไม่เปิด heater ทำให้พวกเรา 4 คนได้สัมผัสอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะตัวเองไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต  นั่งคุยกันที่บ้านพักนึง เพื่อสืบสาวว่าเขาทำงานอะไร กว่าจะจับต้นชนปลายก็เล่นเกมสื่อสารภาษามือ และเกม 20 คำถาม แถมด้วยการแกะรอยตามแบบวิชาสอบสวนของนักสืบ  ในที่สุดจึงรู้ว่า โอโต้ซังท่านนี้เป็นนักเล่านิทานพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องราวของ คิกชอมซัง คงคล้ายกับศรีธนญชัยบ้านเรา ที่มีเรื่องราวกว่า 200 ตอน คืนนั้นนอนหลับแล้วก็มาตื่นกลางดึกเพราะหนาวจนฟันกระทบกัน

หมายเลขบันทึก: 141454เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2007 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ขอบคุณมากส้มที่มีรายละเอียดที่ต้องขออนุญาตใช้ข้อมูลส่วนหนึ่งไปลงสมุดบันทึกแบบดั้งเดิมคือเขียนด้วยลายมือค่ะเก็บไว้อ่านคนเดียว(ขออนุญาตเห็นแก่ตัวนะคะ) พี่เข้ามาอ่านและใช้ประโยชน์จากบลอคนี้มาก รักษาสุขภาพด้วยนะคะ หากติดต่อพี่สำหรับกลุ่มนี้ใช้ e-mail:[email protected]

สวัสดีค่ะ

 อ. 1. Lin Hui Panda

ตอนแรกเดาตั้งนานค่ะ ว่าใคร นะ Lin Hui  แต่พอเห็น e-mail address ก็ต้องขำออกมาค่ะ  เพราะชื่อนี้เป็นชื่อของน้องหมีแพนด้า ซึ่งคล้องกับ อ.แพนด้า

ขนาดว่าไม่ได้พบหน้าอาจารย์ ยังขำเลยค่ะ อ.คุยสนุก ได้อารมณ์เฮฮามากๆ 

ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ถ้าบันทึกของส้มเป็นประโยชน์กับ อ. ด้วยค่ะ 

นั่งเฝ้าบลอกเลยหรือนี่ พออ่าเสร็จหายใจลึกๆ10ครั้งแล้วตอบทันที่สมกับกับราคาคุยของ ช่วงช่วงเลยนะขอบอก

สวัสดีค่ะ

P

ไม่ได้คุยกันนานมากค่ะ คิดถึง จริงๆค่ะ

พูดถึงฟูกุโอกะ พี่เคยไป บ้านเมืองเขาสวยดี อยู่2 วันค่ะ

เคยทราบมาว่า ที่นี่รางวัล The Fukuoka Asian Culture Prize

พื่อแสดงถึงบทบาทของนครฟูกุโอกะ ในประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 2,000 ปี ในฐานะ "ประตูสู่อาเซีย" (Gateway to Asia) อันเป็นที่ ซึ่ งวัฒนธรรมญี่ปุ่นมีปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรม ชาติอื่นๆ ในอาเซีย

อาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์  เคยได้รับรางวัล The Fukuoka Asian Culture Prize ในฐานะ นักวิชาการ คำประกาศเกียรติคุณระบุ ว่า อาจารย์นิธิเป็น "นักประวัติศาสตร์ ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง ที่ประเทศไทยเคยมีค่ะ

P  ขอบคุณ สำหรับ ข้อมูลครับ

ตามมาอ่านติด ๆ ครับผม....

มีโอกาสแล้วพบกันครับพี่ส้ม-พี่ยอด

สวัสดีค่ะ พี่
P
เอ ส้มว่าเหมือนเขียนตอบพี่ไปแล้ว พอกลับมาอ่านอีกที หายไปไหน งง เลยค่ะ ขออภัย ที่ตอบช้าไปนานเลยค่ะ 
ขอบพระคุณพี่ มากนะคะ ที่ช่วยให้ข้อมูล พี่มีความรู้มากมายหลายด้านจริงๆ ค่ะ น่านับถือในความเป็นผู้รู้ และมีเมตตาแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ค่ะ
อริงาโตะ

คิดถึง น้องแมวเหมียว เช่นกันค่ะ

ถ้ามีงานจิบน้ำชา อีก เราน่าจะนัดรวมรุ่นบ้างนะคะ

วาสนามีคงได้พบกันใหม่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท