กองทุนสวัสดิการสังคม/ชุมชนท้องถิ่น


มิใช่เพียงสำนึก แต่รวมถึงการลงมือปฏิบัติให้เกิดผลขึ้นจริงด้วย

กลไกภาครัฐระดับจังหวัดในเชิงกฏหมายและนโยบายที่ดำเนินการเรื่องสวัสดิการสังคม/ชุมชนท้องถิ่นในตัวโครงการมี4กลไก
ที่เป็นหลักมี2คือ อนุกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการสังคม15คนและคณะทำงานสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น?คน
นอกจากนี้ก็มีของสปสช.ที่ทำกองทุนสุขภาพชุมชนและ
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ทำเรื่องหนี้สินเกษตรกร

ผมเห็นว่าโดยโครงสร้างของอนุกรรมการบริหารกองทุนตามพรบ. 2546 ปรับแก้ 2550 มีความครอบคลุมดีคือ มีภาคราชการ5คน (พมจ.เป็นเลขา)  ภาคชุมชน 4 ภาคประชาสังคม 3 และภาคท้องถิ่น 3

ถ้ากลไกนี้ทำงานก็สามารถเป็นแกนประสานการจัดสวัสดิการสังคม/ชุมชนท้องถิ่นอย่างบูรณาการได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นเป้าหมายของงานจัดการความรู้

ทำอย่างไรให้กลไกนี้ทำงานเชิงรุกที่มากกว่าคณะกรรมการในระบบราชการคือเทคนิควิธีการจัดการความรู้ของเรา
เพราะถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติก็พยากรณ์ได้ว่าคงเป็น"บอด" ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนสังคมเท่าไร

กองทุนสวัสดิการสังคม/ชุมชนท้องถิ่นระดับจังหวัดที่มาจากกระบวนการของชุมชนร่วมกับภาคส่วนต่างๆโดยใช้ทุนทางสังคมในจังหวัดระดมทุนทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่ใช่ตัวเงินเพื่อการพึ่งตนเองและพึ่งพากันของคนในจังหวัดอย่างมีศักดิ์ศรีคือเป้าหมายของเรา

เราจึงต้องมีความรู้เรื่องกองทุนสวัสดิการที่ภาคส่วนต่างๆดำเนินการ อยู่
เราจึงต้องมีความรู้เรื่องทุนทางสังคมในจังหวัดที่เป็นตัวเชื่อมโยงผู้คนให้เกิดสำนึกร่วม/ช่วยเหลือพึ่งพากันให้สามารถดำรงชีวิตผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนาน
จำเป็นต้องมีการจัดการความรู้ ทั้งตัวความรู้และกระบวนการที่สร้างสำนึกร่วมความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของคนทุกภาคส่วน     มิใช่เพียงสำนึก แต่รวมถึงการลงมือปฏิบัติให้เกิดผลขึ้นจริงด้วย

หมายเลขบันทึก: 141332เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2007 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

มีความสำนึกที่ดีแล้วที่สำคัญ  .. การลงมือปฎิบัติจริง

นกน้อยทำรังแต่พอตัว

อยากแลกเปลี่ยนกับคุณภีมมากกับเรื่องกองทุนสวัสดิการชุมชน เลขาจำเป็นได้ติดตามเรื่องนี้มาตลอด แต่มีความรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่จะขยายไปมากกว่านี้เลย เหมื่อนกับว่ากลุ่มไหนได้ทำเรื่องนี้อยู่แล้วก็แล้วแต่ว่าจะทำงานกันอย่างไร จนทำให้การทำงานภาคประชาชนไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร

สิ่งที่สนใจกันคงจะเป็นเรื่องที่ "พูดมากกว่าทำ" แต่ทางเครือข่ายออมบุญ "ทำมากกว่าพูด" จนหน่วยงานที่ไม่เคยเห็นพวกเราทำงานก็เลยไม่สนใจ เหนื่อยกับการทำงานแบบนี้เหลือเกิน (ฟังบ่นหน่อยนะคะ)

สิ่งที่เลขาจำเป็นได้สังเกตุทุกครั้งที่อยากได้ผลงานพูดดี แต่เวลาจะเข้ามาช่วยกันขยายให้ชาวบ้านได้เข้าถึงมีน้อยที่จะเสียสละ ให้กับชาวบ้าน

ผมเห็นว่ายังมีช่องทางทำต่อได้ แม้ค่อนข้างลำบาก แต่อย่างหวังราชการให้มากนัก
อ.อ้อมได้ประสานพมจ.นัดประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการสังคมและคณะทำงานสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นวันที่23พ.ย. เพื่อหารือแนวทางการทำงาน
ผมจะขึ้นไปร่วมประชุมด้วย คงมีกิจกรรมร่วมกันต่อเนื่องเหมือนเช่นที่ผ่านมา แต่คราวนี้เราจะทำงานร่วมกัน4ภาคส่วนคือราชการ ท้องถิ่น ประชาสังคมและชุมชน อ.อ้อมจะเป็นผู้ประสานงานเช่นเคยครับ

 

ผมมีความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะให้เกิดกองทุนสวัสดิการชุมชน แต่ด้วยความรู้ความเข้าใจยังน้อยมาก จึงต้องการรบกวนขอคำแนะนำและชี้แนะจากท่านผู้รู้ด้วย ที่สามารถให้ผมและทีมงานนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลและยั่งยืน ให้กับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด

ป.ล ผมทำงานท้องถิ่นครับ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท