วัชรินทร์ ศรีณิบูลย์
นาง วัชรินทร์ ศรีณิบูลย์ รินทร์ ศรีณิบูลย์ (นุชอินทรา)

การจัดการความรู้ KM กศน.ฉะเชิงเทรา


จากองค์กรแห่งการเรียนร้ ก้าวสู่ สังคมแห่งการเรียนรู้

การจัดการความรู้ (KM)  ของ กศน. ฉะเชิงเทรา
                จากองค์กรแห่งการเรียนรู้  ก้าวสู่  สังคมแห่งการเรียนรู้     ก้าวแรกของการจัดการความรู้ KM  ของกศน.ฉะเชิงเทราคือ  การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  เป็นการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นทฤษฎี  มาไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานหรือที่เรียกว่าเป็น ศาสตร์  ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ฝึกคนให้สามารถนำความรู้ของตนเองออกมาเผยแพร่  เป็นขั้นตอนของการเพาะบ่มปัญญา  ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ได้แก่การจัดการความรู้ผ่าน เว็ปบล็อก  ตามแนวความคิดและวิธีการของ ผอ.ดิศกุล  เกษมสวัสดิ์  วิธีการดังกล่าวเป็นการถอดความรู้ของคนในองค์กร  เป็นการสร้างคนแบบไม่ให้รู้ตัว ค่อย ๆ สร้าง ค่อย ๆ ชี้นำที่ละน้อย  จนเกิดความสำเร็จ  คน กศน.ฉะเชิงเทรา มีความสามารถในการจัดการความรู้ของตนเองได้  ซึ่งสามารถดูได้จาก Goto Know.org  ซึ่งจะมีบล็อกของชาวฉะเชิงเทราเป็นจำนวนมาก  สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า  การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้   เพราะองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นรากฐานที่มั่นคง่ในการพัฒนากิจกรรมอื่น ๆ ให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นไปได้
                ก้าวต่อไปของการจัดการความรู้
KM ของ กศน.ฉะเชิงเทรา  ภายใต้นโยบายของ   ผอ.กศน.ฉะเชิงเทราคนใหม่ คือการสร้าง แหล่งเรียนรู้  สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้   และสิ่งที่เป็นเป้าหมายคือ  สังคมแห่งการเรียนรู้  ส่วนวิธีการนั้นเราจะทำอย่างไร  งาน KM ขอเสนอแนวคิดไว้ดังนี้
               
1. ต้องจัดการให้ครู กศน. มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างหลักสูตรท้องถิ่น มีความสามารถในการค้นหาแหล่งความรู้  เข้าถึงองค์ความรู้  และภูมิปัญญาของท้องถิ่นได้               
             
2. ต้องแสวงหาและรวบรวมภูมิปัญญาในท้องถิ่น นำมาถอดความรู้หรือที่เรียกว่าถอดหลักสูตรแล้วจัดระบบ  ตกแต่งให้สวยงามตามหลักวิชาการ แต่ต้องไม่ยากเกินกว่าที่ชาวบ้านจะเรียนรู้ได้ จัดทำเป็นเอกสาร เป็นสื่อต่าง ๆ
           3. ต้องจัดการเผยแพร่ความรู้ที่มีอยู่  เช่นจัด ในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้น แบบรายคน แบบเป็นกลุ่ม  แบบทางไกล  แบบใช้สื่อผ่าน internet
e- book
 e -learning           
           
สรุปได้ว่า  จุดหมายปลายทางของการจัดการความรู้คือ  การจัดการศึกษาที่หลากหลาย  ประชาชนในท้องถิ่นสามารถที่จะเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น เป็นการเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในท้องถิ่น จากประสบการณ์ของคนทีปฏิบัติซ้ำ ๆ จนประสบความสำเร็จ เป็นการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นที่ต้องปรับตัวให้มีชีวิตอยู่รอดในสังคมของตนเองอย่างมีความสุข   หาก กศน. ไม่เร่งดำเนินการ  อาจมีหน่วยงานอื่น ที่นำแนวคิด หรือผสานแนวคิด  แล้วไปดำเนินการก่อน  ปล่อยให้ กศน. เป็นเพียงผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังเหมือนที่ผ่าน ๆ มา   
                              ***************

หมายเลขบันทึก: 140396เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2007 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยนะคะที่การจัดการความรู้สุ่ชุมชน

กศน.คือองค์กรที่สำคัญมากนะคะที่จะช่วย

ประชาชนและผู้ด้อยโอกาสให้สามารถหรือมีโอกาสที่ดีต่อไป

เป็นอนาคตของชาติ หนึ่งคน  หนึ่งชีวิต  มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน

เป็นกำลังใจให้นะคะ

ป้าอึ่ง

การจัดการความรู้ในองค์การและการจัดการความรู้ในชุมชน ทั้งสองมิตินี้หากทำให้สมบูรณ์ก็จะทำให้บรรลุความหมายของการจัดการความรู้ของ กศน. ครับ ขอให้ดำเนินการต่อไปให้เป็นจุดแข็งขององค์การกศน.ให้จงได้

ขอบคุณป้าอึ่ง ขอบคุณ ผอ.ดิศกุล ที่แวะมาให้กำลังใจ  ซึ่งผอ.ดิศกุลคือบุคคลสำคัญที่ช่วยให้มีก้าวแรก  เพราะก้าวต่อไปเราต้องหัดเดินเอง  และออกวิ่งไปข้างหน้าในที่สุด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท