หน้าที่พลเมือง


พลเมืองดีและการปกครอง

หน้าพลเมืองดี 

1.ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมีความสำคัญต่อประเทศ เช่น
        1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง
        2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
        3. ทำให้เกิดความรักแบะความสามัคคีในหมู่คณะ
        4. สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีนั้นเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่
 

2.แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวโรงเรียนและชุมชนแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาขิกที่ดีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
        1. การเป็นสมาชิกที่ดีขอบครอบครัว
        2. การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน
        3. การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
เมื่อทุกคนในสังคมไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็กพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ได้จะประสบความสำเร็จ 
 

3. คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
        1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
        2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
        3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
        4. ความซื่อสัตย์สุจริต
        5. ความสามัคคี
        6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว
        7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
        8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ

                             การปกครอง

     ประชาธิปไตย (democracy) คือแนวคิดที่เชื่อว่าประชาชนมีสิทธิที่จะปกครองตนเอง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดก่อนหน้า ที่เชื่อว่าประชาชนมีชีวิตอยู่เพื่อเสริมสร้างบารมีหรือความมั่งคั่งให้กับกษัตริย์ หรือมีชีวิตตามความต้องการของพระเจ้า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้เป็นผลจากยุคแสงสว่าง

     การนำแนวคิดประชาธิปไตยมาใช้จริงนั้นมีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน จากประชาธิปไตยเชิงรูปแบบ ไปเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม แม้ว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลกเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่บางประเทศก็เป็นแค่ในนาม บางประเทศเป็นประชาธิปไตยที่ไม่มีเสรีภาพ บางประเทศเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และบางประเทศก็พัฒนาไปเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของรัฐบาล และมีกิจกรรมทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ

     ประชาธิปไตยนั้น กล่าวได้ว่ามีความหมายทั้งในแง่อุดมการณ์หรือลัทธิความคิดทางการเมือง และความหมายในเชิงระบอบการปกครอง โดยเป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปว่า ระบอบการปกครองที่สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีกลไกเงื่อนไขรองรับศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคมคือการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ถือว่าประชาชนคือเจ้าของอำนาจ

     คำว่า “ประชาธิปไตย” มาจากภาษากรีกโบราณว่า “Democratia” เป็นคำผสมระหว่างคำว่า “Demo” หมายถึง ประชาชนหรือสาธารณชนทั่วไป นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงคำว่า demo หรือ demos ว่ามี 2-3 ความหมาย ความหมายแรกหมายถึง ประชาชนหรือสาธารณะชนดังกล่าวไปแล้ว อีกความหมายหนึ่งคือ ชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่ได้เป็นทาส มีอิสระและได้แสดงตนว่าสามารถทำหน้าที่ปกป้องนครรัฐของตนเองได้

      ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือสภาประชาชน หรือ “ekklesia” ซึ่งเป็นที่รวมของรายชื่อประชาชนทั้งหลาย) อีกคำหนึ่งที่ประกอบคือ “cratia” ที่มีความหมายถึง ระบอบการปกครอง อันอาจจะสรุปความหมายของประชาธิปไตยได้จากสุนทรพจน์อันลือเลื่องของประธานาธิบดีลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ว่า ประชาธิปไตยคือการปกครอง “ของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” ที่ถือว่าอำนาจหน้าที่ในการปกครองประเทศจะต้องมาจากประชาชนหรือได้รับความยินยอมจากประชาชน โดยจะมีการกำหนดวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวไว้

 

ระบอบเผด็จการ

       เป็นระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มจากการรวมกลุ่มของมนุษย์ ผู้ที่แข็งแรงที่สุดมีอำนาจปกครองกลุ่ม โดยให้ความคุ้มครองต่อกลุ่มของตน

       แนวคิดหลักคือ อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือของคนคนเดียว หรือกลุ่มเดียว จึงนับว่าเป็นรากฐานการปกครองของโลก โดยทั่วไปผู้ที่ปกครองมักเป็นไปในรูปของกษัตริย์ หรือพระราชา โดยหากการปกครองเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน จะเรียกว่า ราชาธิปไตย (การปกครองโดยคนเดียวและประชาชนมีความสุข) หากเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเองเรียกว่า ทุชนาธิปไตย โดยผู้ปกครองในกรณีนี้เรียกว่า ทรราช

 

 

หมายเลขบันทึก: 140308เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2007 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • บันทึกของอาจารย์สวยงาม น่ารัก
  • วันหลัง ครูอ้อยจะมาอ่านอีกนะคะ
  • ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะ..เชิญที่นี่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 1 นะครับ อยากให้ทำบล็อกในลักษณะนี้เยอะๆ ๆๆ จัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท