แผนที่


แผนที่

พ.อ.ประสงค์ ชิงชัย 

แผนที่ คือ สิ่งที่ใช้แสดงลักษณะต่างๆ บนพื้นผิวโลก ทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้น อาจเขียนลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุที่แบบราบหรือแผ่นรองรับใดๆก็ได้ ปกติแล้วแสดงรายละเอียดลงบนพื้นราบตามมาตราส่วนที่กำหนดขึ้น หรือด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการ และอาศัยสี เส้น เครื่องหมาย หรือรูปต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเป็นเครื่องแสดงลักษณะของพื้นผิวโลก

ที่กล่าวมานี้ คือนิยามของแผนที่ ซึ่งเป็นการอย่างกว้างๆ พอให้ทราบลักษณะภายนอกของสิ่งที่เรียกว่าแผนที่เท่านั้น การที่จะทราบความหมายของแผนที่ให้ลึกซึ้งไปกว่านี้นั้น ย่อมจะต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาของสิ่งประกอบกันขึ้นเป็นแผนที่ด้วยและจากความเข้าใจนี้เองจะทำให้เข้าใจถึงคุณค่าของแผนที่ได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย

นักสำรวจจัดทำแผนที่ด้วยการกำหนดหาขนาดและรูปร่างของพื้นที่ โดยการรังวัดหาตำแหน่ง และอาศัยวิชาการคำนวณ และการใช้เส้นโครงแผนที่ที่เหมาะสม ตลอดจนวิทยาการสาขาต่างๆ เข้าช่วย ทำให้ได้แผนที่ตามที่ต้องการ แผนที่จึงเปรียบเสมือนเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการดำเนินกิจการงานต่างๆ ประจำวัน ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่าการทำแผนที่นั้นจะต้องกระทำให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ เพื่อจะได้ใช้ในการวางแผนพัฒนาได้ทันกับสถานการณ์ และเหตุการณ์ของโลก วิทยาการด้านนี้จึงมีการพัฒนา และวิวัฒนาการมาตามลำดับ การทำแผนที่ในปัจจุบันส่วนใหญ่กระทำด้วยการใช้กรรมวิธีของการทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ (Photogrammetry) และวิทยาการที่ใช้ในการดำเนินการผลิตแผนที่ที่เรียกกันว่า การทำแผนที่ (Cartography)

แผนที่มีกำเนิดมาพร้อมๆ กับวัฒนธรรมของมนุษย์ และอาจกล่าวได้ว่ากำเนิดมาจากความจำเป็นในการดำรงชีพของมนุษย์ ดังนั้นถึงแม้จะไม่มีความรู้ในทางวิทยาการใดๆเลย มนุษย์ในสมัยโบราณก็รู้จักทำแผนที่ขึ้นใช้ได้จากการสังเกตุและจดจำในสิ่งที่ได้พบเห็น ซ้ำๆ ซากๆ จนประทับแน่นอยู่ในความทรงจำ เช่น พวกเอสกิโมซึ่งไม่รู้หนังสือและไม่เคยเรียนรู้วิธีการทำแผนที่ก็สามารถทำแผนที่ได้ด้วยการใช้ไม้สลักติดลงบนแผ่นหนังแมวน้ำโดยอาศัยการสังเกตุ และจดจำพวกหาอาชีพด้วยการล่าสัตว์ พวกไม่มีถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง หรือใช้เปลือกหอยแทนเกาะ และก้านมะพร้าว หรือปาลม์แทนคลื่นเพื่อบอกให้ทราบถึงทิศทางลมในทะเลและทิศทางของลูกคลื่น หรือชาวเกาะต่างๆ สามารถที่จะเขียนแผนที่แสดงที่ตั้งตำแหน่งของเกาะ ระยะทิศทางได้อย่างประหลาด หรือการที่มนุษย์ในยุดดึกดำบรรพ์สามารถเขียนแผนที่ลงบนพื้นทราย แสดงให้นักท่องเที่ยวทราบถึงแหล่งน้ำที่ตกปลา หรือบริเวณล่าสัตว์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงเป็นที่ยอมรับกันว่าความสามารถในการทำแผนที่เป็นสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์

แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ คือ แผนที่ที่ทำด้วยดินเหนียวแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่ง ในเมโสโปเตเมียที่ชาวบาบิโลนทำขึ้นเมื่อสมัย ๒,๕๐๐ ปีก่อนคริสตศักราชหรือ ๓,๐๔๓ ปีก่อนพุทธศักราช แผนที่นี้แสดงบริเวณลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส และมีภูเขาซึ่งแสดงไว้ในรูปของเกร็ดปลาอยู่ขนาบแม่น้ำ มีทิศทางที่แสดงไว้ด้วยวงกลม คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และตะวันตก เป็นแผนที่ที่ทำขึ้นโดยได้อาศัยวิทยาการด้ายการทำแผนที่เลย ผิดกับการทำแผนที่ของชาวกรีกในสมัยโบราณที่ทำแผนที่ขึ้นโดยคำนึงถึงรูปลักษณะโลกที่กลม และโดยใช้ตาวามจริงอยู่มาก จนกระทั่งถึงยุดสมัยฟื้นฟูการทำแผนที่ในยุดนี้มี ทำแผนที่ ดังเช่นที่มีการพิสูจน์ว่าโลกกลม เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๙๓ และเมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๒๓ ชาวกรีกชื่อ เอระตอสทะนีส(Eratosthenes) ก็วัดขนาดของโลกได้เป็นคนแรก โดยใช้หลักทางคณิตศาสตร์ เบื้องต้นเท่านั้น และเขายังได้คิดสร้างเส้นสมมุติที่เรียกว่า เส้นขนานกับเมอริเดียนขึ้น นอกจากนี้ยังได้สร้างแผนที่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในโลก โดยมีเส้นขนาน ๗ เส้น และเส้นเมอริเดียน ๗ เส้นอีกด้วย ต่อมาอีกราว ๓๗๐ ปีก็มีชาวกรีกอีกผู้หนึ่งชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี(Claudius Ptolemy) ก็นำผลงานของเอระตอสทะนีส มาใช้ในการทำแผนที่โลกได้อย่างแนบเนียนโดยได้ดัดแปลงเส้นขนาน และเมอริเดียนให้เข้าสู่ระบบที่กำหนดค่าด้วยมาตราวัดมุม ดังนั้นแผนที่โลกของปโตเลมีจึงได้รับการยกย่องจากวงการแผนที่สมัยใหม่ว่าถูกต้องดีที่สุดในยุดนั้น แต่น่าเสียดายที่แผนที่ของปโตเลมีได้หายสาบสูญไปเป็นเวลาถึง ๑,๕๐๐ ปีเพิ่งจะพบและนำมาใช้เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๐๑๘ กล่าวกันว่าหากแผนที่โลกของปโตเลมีไม่หายไประยะหนึ่งดังกล่าวแล้ว ความเจริญทางวิทยาการด้านการทำแผนที่จะรวดเร็วกว่าที่เป็นมาแล้วมาก ดังจะเห็นได้จากแผนที่ที่จัดทำในสมัยโรมัน และสมัยกลางของยุโรป ในระยะต่อมาซึ่งยังไม่ถูกต้องหรือผิดจากความจริงอยู่มาก จนกระทั่งถึงยุดสมัยฟื้นฟูการทำแผนที่ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งกิจการแผนที่เจริญขึ้นมาก ปัจจัยส่งเสริมความเจริญของแผนที่ในยุดนี้มี ๓ ประการคือ ได้มีการค้นพบแผนที่ของปโตเลมีที่หายไป และการค้นพบทวีปอเมริกาหรือโลกใหม่ ทำให้มีความต้องการแผนที่และมีการทำแผนที่กันมากขึ้น

ต้นปีพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ประเทศเนเทอร์แลนด์เป็นแหล่งผลิตแผนที่ที่ดีที่สุดและนักทำแผนที่ที่มีชื่อเสียงของประเทศนี้ในยุดนั้น คือ เจอร์ราด เมอร์เคเตอร์ (Gerard Mercator) ในปีพ.ศ. ๒๐๓๕ ชาวเยอรมันชื่อ มาร์ติน บาเฮม(Martin Bahaim) ได้คิดสร้างโลกจำลองได้สำเร็จ โดยเขียนแผนที่โลกบนผิวทรงกลม นับว่าเป็นรูปโลกจำลองลูกแรกของโลกซึ่งแสดงถึงความก้าวหน้าทางกิจการแผนที่อีกอย่างหนึ่ง ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ได้มีการประดิษฐเครื่องวัดมุม และนาฬิกาโครโนมิเตอร์ขึ้นใช้ ระยะนี้ฝรั่งเศศนับว่าป็นประเทศที่สนใจ และเชี่ยวชาญในการทำแผนที่ เช่น ริเริ่มการวัดหาลองติจูดเป็นครั้งแรก ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมาเป็นยุดแห่งการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกระยะหนึ่งของการทำแผนที่มีการทำแผนที่แสดงรายละเอียด ทางธรณีวิทยา เศรษฐกิจ การศึกษา และการขนส่ง ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆ มีการทำแม่พิมพ์แยกสีและการพิมพ์สอดสีสวยงามขึ้น สมัยปัจจุบันการทำแผนที่ได้เจริญและพัฒนาขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เพราะมีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยี่ใหม่ๆ เข้าช่วย เช่นการใช้รูปถ่ายทางกชอากาศกับวิธีการรังวัดและหาข้อมูลจากรูปถ่าย ซึ่งเรียกว่า โฟโตแกรมเมตรี(Photogrammetry) ในการทำแผนที่ นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมมาใช้ในการทำแผนที่บางประเภทได้ดี และประกอบทั้งยังมีเครื่องมือ และอุปกรณ์เครื่องจักรกล(Computer)ทำแผนที่ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมความก้าวหน้าของการทำแผนที่สมัยปัจจุบัน

สำหรับแผนที่ประเทศไทยเคยปรากฏอยู่ในแผนที่โลกของปโตเลมีฉบับที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๖๙๓ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบันเรียกว่า Aurea Khersonnesus ซึ่งหมายถึงแหลมทองแต่ผิดจากความเป็นจริงจากปัจจุบันมาก พอเห็นเคร้าโครงเท่านั้น ในสมัยหลังต่อมามีรายละเอียดของบริเวณแหลมทองมากขึ้น ทั้งนี้เพราะความเจริญทางด้านการคมนาคมค้าขายติดต่อกันมากขึ้นและวิธีการทำแผนที่ก็เจริญก้าวหน้าตามมาด้วย

แผนที่ในประเทศไทยเริ่มวิวัฒนาการเจริญขึ้นในสมัยที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศและมีชาวต่างประเทศและมีชาวต่างประเทศมาสู่ราชสำนักมากขึ้น โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงปรากฏว่ามีการทำแผนที่ภายในประเทศขึ้นหลายบริเวณ ได้แก่แผนที่และแผนผังเมืองลพบุรีและกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น แผนที่ภายในประเทศที่เก่าแก่ที่สุดของไทย คือ แผนที่ยุทธศาสตร๋ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การทำแผนที่ภายในประเทศอย่างจริงจังเริ่มขึ้นในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า กล่างคือ ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๑๘ และในพ.ศ. ๒๔๒๔ ได้ทรงจ้างนายเจมส์ แมคคาร์ธี(James McCarthy) ชาวอังกฤษเข้ามาเป็นเจ้ากรมแผนที่ เพื่อเร่งรัดการทำแผนที่ภายในประเทศให้ทันสมัย และก้าวหน้าขึ้น งานแผนที่ด้วยวิธีการทันสมัยจึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา เมื่อมีความจำเป็นในการใช้แผนที่ประกอบกับกิจการต่างๆ ภายในประเทศมีมากขึ้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยจึงต้องเร่งรัดการทำแผนที่มูลฐานให้รวดเร็วขึ้น ในการนี้จึงได้นำวิธีการทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ หรือ โฟโตแกรมเมตรีมาใช้อย่างเป็นล่ำเป็นสันในปี พ.ศ.๒๔๙๓ กิจการทำแผนที่ในประเทศจึงได้พัฒนาก้าวหน้าและทันสมียขึ้นมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน

สรุปแล้วจะเห็นได้ว่าแผนที่เป็นผลแห่งความพยายามของมนุษย์ ที่จะแสดงภาพของส่วนใดส่วนหนึ่งของผิวโลกลงบนพื้นแบบราบ ซึ่งเป็นความพยายามนี้มีมาตั้งแต่สมัยดบราณจนกระทั่งปัจจุบันนี้มนุษย์ได้ใช้แผนที่เป็นแสดงสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและ สังคมอย่างแพร่หลายในทุกแง่มุมโดยไม่มีขีดจำกัด การนำอุปกรณ์ใดๆ ไปใช้ประกอบการต่างๆนั้น ถ้าทราบคุณลักษณะแห่งอุปกรณ์นั้นๆ เป็นอย่างดีแล้ว ย่อมได้รับประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย แผนที่ก็เช่นกันแต่ละชนิดแต่ละแบบก็มีคุณลักษณะแตกต่างกัน และมีความเหมาะสมในกิจการต่างๆ ไม่เหมือนกัน ทั้งตัวแผนที่เองก็เป็นเพียงลายเส้นที่ประดิษฐ์ขึ้นแทนสิ่งต่างๆ ผู้ใช้แผนที่จึงต้องเรียนรู้ " ภาษาแผนที่" หรือเข้าใจความหมายของสิ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นแผนที่อย่างดี เพื่อจะได้รับประโยชน์จากแผนที่อย่างสมบูรณ์ที่สุด ผู้นำทัพตลอดจนผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะน้อยใหญ่ขนาดใด หากขาดแผนที่เสียแล้วก็เสมือนคนตาบอดเดินทางไปในที่มือ เพราะแผนที่ คือ แหล่งข่าวสามร และเป็นมัคคุเทศน์คล้ายประทีปส่องทางนำท่านไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ โดยเฉพาะเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้การวางแผนทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการทหาร ผู้วางแผนสามารถจะมองเห็นภาพกว้างได้อย่าง แจ่มชัด เพียงแต่เอาแผนที่ซึ่งมีข้อมูลอยู่พร้อมมาใช้ก็จะสามารถจะทราบว่ามีอะไรอยู่ที่ไหน แผนที่จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการที่จะนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศและการทหารดังกล่าวมาแล้ว และใช้เป็นเครื่องมือมนงานด้านวิศวกรรม การค้นหาทรัพยากรธรรมชาติเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน และตลอดจนใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

เนื่องจากแผนที่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายชนิด จึงมีการแบ่งออกเป็นประเภทได้หลายรูปแบบแตกต่างกันสุดแต่ว่าจะยึดถือสิ่งใดเป็นหลักในการแบ่ง ถ้าแบ่งตามขนาดของมาตราส่วนก็จะมี แผนที่มาตราส่วนใหญ่ มาตราส่วนปานกลาง และมาตราส่วนใหญ่ หรือถ้าแบ่งตามชนิดของแผนที่ก็จะมี แผนที่แบบแบน แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่รูปถ่าย แผนที่ลายเส้น และแผนที่แบบผสมระหว่างรูปถ่ายกับลายเส้น เป็นต้น ส่วนแบ่งแผนที่ตามชนิดการใช้ หรือตามรายละเอียดขอบข้อมูลที่จะนำมาใช้นั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น แผนที่ทั่วไป แผนที่ทางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี แผนที่เส้นทาง แผนที่ตัวเมือง แผนที่การบิน แผนที่ลมฟ้าอากาศ แผนที่เศรษฐกิจ แผนที่การใช้ที่ดิน แผนที่โฉนด แผนที่รัฐกิจ แผนที่เฉพาะวิชา แผนที่สถิติ แผนที่ท่องเที่ยวและการโฆษณา ฯลฯ

คำสำคัญ (Tags): #แผนที่
หมายเลขบันทึก: 139882เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2007 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

รห้กด้นร้หำเรเ

ทำไมหายากจังเนี่ย

เครียดนะ

เซ็งด้วย

จะบ้ากะละมัง

เหนื่อยจะตายอยู่แล้วเนี่ย

แบแบแบแบแบแบแบแบแบแบแบแบแบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท