การประยุกต์ใช้ธรรมะในการบริหารงาน


          27 ม.ค. 49 ไปบรรยาย หัวข้อ การประยุกต์ใช้ธรรมะในการบริหารงาน ในการฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำหรับนักบริหารยุคใหม่ รุ่นที่ 2 ให้กับผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จำนวนประมาณ 40 คน ออกแบบหลักสูตรและดำเนินการโดย “โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์”
          ได้ใช้สาระสำคัญดังต่อไปนี้ ประกอบการบรรยาย
                                การประยุกต์ใช้ธรรมะในการบริหารงาน
          1. ธรรมะ หมายรวมถึง
                   u หลักสัจจธรรม (หลักความจริง)
                   u หลักคุณธรรม/จริยธรรม (หลักความดี)
                   u หลักศาสนา(พุทธ อิสลาม คริสต์ ฯลฯ)
          2. ธรรมะสากล
          “ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ผมดำรงชีวิตโดยยึดถือความถูกต้องเป็นที่ตั้ง มี 3 แนวทางในการดำเนินชีวิต คือ คิดให้ถูกต้อง กระทำให้ถูกต้อง และมีชีวิตให้ถูกต้อง (Think Right, Do Right, and Live Right) ปรัชญานี้ ดั้งเดิมไม่ได้มาจากผม แต่เรียนรู้จากปรัชญาเมธี ของท่านมหาตมะ คานธี
          -  เจริญ วรรธนะสิน (บุคคลดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2548 สาขาเผยแพร่เกียรติภูมิของไทย)
          3. หลักธรรมประจำใจ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์
                   u ความจริง ความงาม ความดี
                   u พละ 4 (ธรรมอันเป็นกำลัง)
                        - ปัญญาพละ               (กำลังปัญญา)
                        - วิริยพละ                   (กำลังความเพียร)
                        - อนวัชชพละ              (กำลังสุจริต)
                        - สังคหพละ                (กำลังการสงเคราะห์)
          4. พระบรมราโชวาท
                   u รู้ รัก สามัคคี
                   u เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
                   u คุณธรรมพื้นฐาน 4 ประการ หรือฆราวาสธรรม 4 ได้แก่
                        - สัจจะ             (ความซื่อสัตย์)
                        - ทมะ              (การฝึกฝนข่มใจ)
                        - ขันติ              (ความอดทน อดกลั้น ไม่ท้อถอย)
                        - จาคะ             (ความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)
          5. หลักธรรมของนักธุรกิจคนหนึ่ง
         “......นอกเหนือจากหลักธรรมที่ทรงคุณค่าที่ผู้เขียนได้จากวันสำคัญต่างๆในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีหลักธรรมอื่นๆที่ทรงคุณค่าต่อการนำมาเป็นวิถีแห่งการประพฤติปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตประจำวัน ให้ประสบความสำเร็จทั้งทางด้านส่วนตัว การเรียน และการงาน ซึ่งนับเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เขียนจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมเรื่อง “หิริโอตตัปปะ” รวมทั้ง “ความกตัญญูกตเวที”..........ตลอดจนธรรมพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตที่ผู้เขียนได้ยึดถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด จนประจักษ์กับความจริงที่ว่า  เมื่อใดเรารวยธรรมแล้วเมื่อนั้นเราย่อมรวยสุขอย่างแน่นอน  ซึ่งธรรมพื้นฐานเหล่านั้นได้แก่  (1)อิทธิบาท 4   (2)พรหมวิหาร 4   (3)สังคหวัตถุ 4    (4)ฆราวาสธรรม 4....”
          จากหนังสือ “รวยธรรม รวยสุข” โดย “รับอรุณ” (โสพิศ เจริญอาภรณ์วัฒนา)
          6. The 7 Habits of Highly Effective People (by Stephen R. Covey)
                   u Be proactive
                   u Start with the end in mind
                   u Put first things first
                   u Think win – win
                   u Seek first to understand, then to be understood
                   u Synergize
                   u Sharpen the saw
7.      The 8th Habit (by Stephen R. Covey)
           
“Find your voice and Inspire others to find theirs”

        
          8. ทศพิธราชธรรม (ธรรมของพระราชา, ธรรมของนักปกครอง)
                   1. ทาน                - การให้
                   2. ศีล                  - ความประพฤติดีงาม
                   3. ปริจจาคะ         - การบริจาค
                   4. อาชชวะ           - ความซื่อตรง
                   5. มัททวะ            - ความอ่อนโยน
                   6. ตปะ                 - การบำเพ็ญเพียรเอาชนะกิเลส
                   7. อักโกธะ           - ความไม่โกรธ
                   8. อวิหิงสา           - ความไม่เบียดเบียน
                   9. ขันติ                - ความอดทน
                 10. อวิโรธนะ          - ความสถิตในธรรม/ไม่คลาดธรรม
          9. หลักธรรมร่วมกันของทุกศาสนา (พุทธ อิสลาม คริสต์ ฮินดู ซิกข์ฯลฯ)
                   u การละเว้น ความชั่ว
                   u การทำความดี
                   u การมีจิตสงบมั่นคง
          10. บุญกิริยาวัตถุ 10 (ทางทำความดี)
                   1. ให้เป็นสิ่งของ (ทานมัย)
                   2. รักษาศีลหรือประพฤติดี (สีลมัย)
                   3. เจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ (ภาวนามัย)
                   4. ประพฤติอ่อนน้อม
                   5. ช่วยขวนขวายรับใช้
                   6. เฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น
                   7. ยินดีในความดีของผู้อื่น
                   8. ฟังธรรมศึกษาหาความรู้
                   9. สั่งสอนธรรมให้ความรู้
                 10. ทำความเห็นให้ตรง
          11. หัวใจพระพุทธศาสนา (พุทธธรรม)
                   u อริยสัจจ์ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
                   u ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) 
                   u ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
                   u อิทัปปัจจตา/ปฏิจจสมุปบาท (การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน)
          12. สำคัญที่ “ใจ”
          “ผมเคยบอกเพื่อนว่า ถ้ามีปัญหา ขอให้ลองอยู่นิ่งๆสักพัก ปัญญาก็เกิด”
          คำพูดของดร.สนอง วรอุไร (จบปริญญาเอก สาขาไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ)
          ผู้ซึ่งหันมาศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง พบว่าจิตของเรามีศักยภาพมากกว่าที่คิด สามารถพัฒนาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด         
          และเป็นผู้แต่งหนังสือ “ทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข” ฯลฯ
          13. สติ
          “ผมลงทุนบวชอยู่ 4 หน มีคนถามผมว่า บวชตั้ง 4 ครั้งได้อะไร บวชนี่ผมบวชสุดๆเลยนะครับ พระป่าเลย ฉันมื้อเดียว อยู่กลางป่าคนเดียว บวชอยู่ 4 หน กลับมาได้คำเดียวเขาบอกจะคุ้มเหรอ ผมบอกว่าคุ้มแสนคุ้ม  เพราะได้ตัวเดียวเหมือนได้ทุกอย่าง คำคำนั้นคือ “สติ” คำง่ายๆเรียบๆคำธรรมะหรือคำธรรมดาอย่างที่สุด  เป็นคำที่สุดยอด”
          ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (ปาฐกถาพิเศษในพิธีเปิดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ 28 ตุลาคม 2548)
          14. มงคล 38 (ธรรมอันนำมาซึ่งความสุขความเจริญ) มี 38 ข้อ แบ่งเป็น 10 คาถา
                   (คาถาที่ 1)       (1) ไม่คบคนพาล             (2) คบบัณฑิต
                                        (3) บูชาคนที่ควรบูชา ...............
                       “เอตัมมังคะละมุตตะมัง” (นี้เป็นมงคลอันอุดม)
                   (คาถาที่ 10)    (35) จิตไม่หวั่นไหว    (36) จิตไร้เศร้า
                                       (37) จิตปราศจากธุลี   (38) จิตเกษม
          หลังการบรรยาย ได้จัดให้มีการเข้ากลุ่มย่อย กลุ่มละ 8 – 10 คน แลกเปลี่ยน “เรื่องเล่า” เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ธรรมะในการบริหารงานของแต่ละคน แล้วสรุปสังเคราะห์เพื่อนำเสนอในที่ประชุมใหญ่ โดยมี “คำถามช่วยความคิด” ดังนี้
                                               คำถามช่วยความคิด
                                หัวข้อ การประยุกต์ใช้ธรรมะในการบริหารงาน

          1. ท่านได้นำ “ธรรมะ”  หรือ หลักสัจจธรรม (หลักความจริง)  หรือ “หลักคุณธรรม/จริยธรรม” (หลักความดี) หรือ หลักศาสนา”  ข้อใดมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของท่าน ซึ่งท่านเห็นว่ามีคุณค่ามากเป็นพิเศษ โดยมีรายละเอียดด้วยว่า ท่านประยุกต์ใช้อย่างไร ได้ผลอย่างไร และท่านมีข้อสังเกตที่สำคัญอย่างไร (โปรดใช้เวลาตรึกตรองตามลำพังสักประมาณ 5 นาที และบันทึกความคิดย่อๆไว้ ก่อนการสนทนาในกลุ่มย่อย)
          2. ผลัดกัน “เล่าเรื่อง” ตามข้อ 1. จนครบทุกคนในกลุ่มย่อย  ขณะที่คนหนึ่งเล่าเรื่อง    คนอื่นในกลุ่มควรตั้งใจฟัง  พยายามเข้าใจทุกมิติของเรื่องที่เล่าและของคนที่เล่าเรื่อง  ให้ความสนใจและให้กำลังใจผู้เล่าเรื่อง รวมทั้งอาจซักถามเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างและเพื่อให้ได้สาระที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างเพียงพอ
           3. เมื่อ “เล่าเรื่อง” ครบทุกคนแล้ว โปรดช่วยกันระดมความคิดว่า  จากเรื่องที่เล่าทั้งหมด ทำให้ได้ “ข้อคิดสำคัญ” อย่างไรบ้าง สรุปเป็นข้อๆให้กระทัดรัด
           4. ควรมีคนทำหน้าที่เขียน “ข้อความสำคัญ” ลงบนกระดาษแผ่นใหญ่ หรือ “ฟลิปชาร์ท” (Flip chart) เพื่อให้มองเห็นและดูด้วยกันได้อย่างชัดเจน จะช่วยให้การทบทวนสาระสำคัญและการระดมความคิดสะดวกมากขึ้น
            5. โปรดสรุปเรื่องทั้งหมดเพื่อการนำเสนอ  โดยมีสาระและใช้วิธีการนำเสนอตามที่กลุ่มย่อยเห็นสมควร

ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม
28 ม.ค. 49

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13927เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2006 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท