เมื่อเรียนปริญญาเอกด้วยการทำให้คอมพิวเตอร์มีกลไกการคิดเหมือนมนุษย์ เลยต้องรู้ว่ากลไกการคิดของมนุษย์เป็นอย่างไร


มาแล้วครับ ถึงเวลาแล้วที่ผมจะมาเล่าเรื่อง "กลไกการคิดของมนุษย์" ครับ

ผมเป็นนักวิจัยสาขา "ปัญญาประดิษฐ์" (Artificial Intelligence หรือย่อว่า AI) ครับ แม้ช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ผมจะใช้เวลาโดยส่วนใหญ่พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับเว็บไซต์แต่ผมก็ไม่ได้ลืม "สิ่งสนุก" ของผมครับ ไปไหนมาไหนเจอคนคอเดียวกัน ก็จะคุยเรื่องเหล่านี้ครับ

นักวิจัยนี่เขาจะเรียกหัวข้อวิจัยว่า "สิ่งสนุก" นะครับ เพราะถ้าเราไม่สนุกกับมัน แสดงว่าเขาไม่ได้สนใจมันจริงครับ

เรื่อง AI นี่ผมสนุกมาก ผมไม่แน่ใจว่าความสนใจในเรื่องนี้ของผมเริ่มต้นที่ไหนครับ แต่การที่จะได้เห็นคอมพิวเตอร์ "คิด" เหมือนมนุษย์นี่ผมชอบมาก ยิ่งเราเองมีส่วนทำวิจัยให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นได้นั้น ยิ่ง "สนุก" ครับ

ที่จริงแล้วผมก็เขียนบันทึกโดยใช้องค์ความรู้ในฐานะนักวิจัยด้าน AI อยู่บ้างเป็นระยะ ถ้าติดตามอ่านก็จะเห็นอยู่โดยทั่วไปครับ

แต่ผมยังไม่เคยเล่าเรื่องดุษฎีนิพนธ์ (dissertation) ใช่ไหมครับ

เอาล่ะ ล้อมวงเข้ามา ใครยังไม่ได้สั่งกาแฟก็สั่งเสียก่อน ผมจะเล่าให้ฟังครับ

dissertation ผมมีหัวข้อว่า "Fuzzy Object-Oriented User Modeling: Theory, Representation, and Effectiveness"

ชื่อยาวครับ แปลเป็นไทยคงได้ว่า "หลักทฤษฎี หลักการแทนความรู้ และประสิทธิผล ของตัวแบบผู้ใช้บนกระบวนวิธีเชิงวัตถุแบบเซตวิภัชนัย"

อืมม... แปลเป็นไทยอ่านยากกว่าภาษาอังกฤษครับ

dissertation ของผมยาวประมาณสี่ร้อยหน้า แต่ผมจะสรุปเหลือสองประโยคได้ดังนี้

"ผมหาวิธีให้คอมพิวเตอร์คิดเหมือนมนุษย์เพื่อจะได้ตอบสนองกับมนุษย์เช่นเดียวกันกับที่มนุษย์ตอบสนองต่อกันและกันครับ โดยวิธีของผมเรียกว่า Fuzzy Object-Oriented User Modeling"

ใครสนใจในรายละเอียดต้องหา dissertation ตัวจริงมาอ่านครับ

ในสิ่งที่ผมศึกษา user modeling คือการสร้างตัวแบบของผู้ใช้ของคอมพิวเตอร์​ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ mental modeling ที่เป็นตัวแบบของคอมพิวเตอร์ที่เราสร้างในใจเมื่อใช้คอมพิวเตอร์

ที่จริงแล้วโดยทั่วไปมนุษย์เราสร้าง mental models ต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอยู่แล้วเป็นปกติ นึกถึงเรื่องนิทานตาบอดคลำช้างนะครับ สาเหตุที่แต่ละคนบอกต่างกันเพราะ "mental models" ของช้างของแต่ละคนที่สร้างขึ้นเมื่อได้สัมผัสต่างกันครับ

dissertation ของผมด้าน information systems นี้เหมือนจะเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก แต่ที่จริงกลับตรงข้าม เพราะเกี่ยวกับคนเป็นหลักครับ

กลายเป็นว่าเพื่อให้คอมพิวเตอร์ modeling เหมือนคน ผมต้องรู้ว่าในสมองคนการ modeling ทำอย่างไร

กลายเป็นว่าทำวิจัยยิ่งห่างคอมพิวเตอร์ไป แล้วใกล้กับคนมากขึ้นเรื่อยๆ

ผมจบมาด้วยความรู้ว่าสมองคนทำงานอย่างไร เนื่องจากวิธีการทำงานของสมองคนมีหลายแบบหลายทฤษฎีที่เราจะประยุกต์ให้คอมพิวเตอร์ได้ ผมก็ทดลองสร้างวิธีการหนึ่งให้คอมพิวเตอร์เพื่อจะจบกลับบ้าน ก็เป็นอันเรียบร้อยของการเรียนปริญญาเอก

มาถึงเมืองไทยนั้น การทำวิจัยเพื่อให้คอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนคนดูเหมือนจะไม่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของบ้านเรา ผมก็เลยไม่ได้ทำต่อ

ที่จริงแล้วเป็นเพราะไม่รู้จะหาทุนวิจัยอย่างไรด้วย ตอนกลับมาแรกๆ ผมงงๆ อยู่พักหนึ่ง จับต้นชนปลายไม่ถูก นักวิจัยเปลี่ยน environment ก็เหมือนปลาเปลี่ยนน้ำครับ ต้องวนๆ หาทางสักพัก

ผมว่าสำหรับบ้านเรา งานวิจัยเพื่อให้คนสามารถคิดประมวลผลความคิดอย่างเป็นกระบวนการที่ดีนั้นสำคัญกว่า

ตกลงว่าผมกลายเป็นนักวิจัยเรื่องการบริหารจัดการไป โดยเน้นที่คนและการประมวลผลของสมองคน

เหมือนจะห่างคอมพิวเตอร์และ AI ที่ผมตั้งต้นไว้เรื่อยๆ แต่ที่จริงไม่ใช่นะครับ

ผมเข้าหา I (Intelligence) ต่างหากล่ะ แล้วผมก็ทำงานกับ "processor" ที่ advanced ที่สุดที่มนุษย์เรารู้จัก ได้แก่ "สมองมนุษย์" นั่นเอง

ผมว่าตอนนี้ถึงเวลาแล้ว ที่ผมจะนำเรื่องเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้นครับ ดังนั้นต้องติดตามต่อไปนะครับ

หมายเลขบันทึก: 139115เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2007 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอขอบพระคุณอาจารย์ธวัชชัย...

  • จะติดตามต่อไป แม้จะอ่านไม่ค่อยเข้าใจ(ทั้งภาคไทยและอังกฤษ)
  • เข้าใจไม่เข้าใจไม่เป็นไร.... เชียร์ไว้ก่อน

หนูคิดว่าคนที่คิด AI เจ๋งที่สุดค่ะ

นับจนถึงโอกาสที่ได้มาตอบ comments นี้ ผมเขียนไปแล้วหลายตอนครับ ตั้งใจให้อ่านง่ายและสามารถประยุกต์ใช้ได้เลยครับ

หนูจะเชียร์อาจารย์ต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท