ถือศีลอดหลังรอมฎอน


เมื่อว่านอธิการไปที่บ้าน คุยกันหลายเรื่องแต่ที่เป็นวิชาการๆหน่อยก็มีสองเรื่อง เรื่องแรก เกี่ยวกับการออกอีดหรือรายอ

ท่านบอกว่าเพื่อนท่านโทรจากซาอุว่า ทางซาอุสามารถมองเห็นจันทร์เสี้ยวอย่างชัดเจน เราอาจจะออกอีดผิดพลาด

ผมก็ต้องอธิบายจนท่านเข้าใจ และแน่นอนที่ซาอุฯมองเห็นชัดเจนเพราะตอนก่อนมัฆริบที่ซาอุ จันทร์ใหม่มีอายุ 10 ชั่วโมงแล้ว ก็ใหญ่พอที่จะมองด้วยตาเปล่า ซึ่งต่างกับบ้านเราซึ่งมีอายุเพียงแค่ 6 ชั่วโมงแถมตกก่อนดวงอาทิตย์อีก

ทำสำคัญเราจำเป็นต้องเชื่อตามหลักการคำนวณทางดาราศาสตร์ เพราะไม่มีเหตุผลไดที่จะไม่เชื่อ เพราะอัลกุรอานก็บอกชัดเจนว่า ระบบของดวงดาวจะไม่คาดเคลื่อนแม่แต่เสิ้ยววินาที่ ถ้าจะคาดเคลื่อนก็คงเป็นที่นาฬิกาของเรา

สุดท้ายท่านยอมรับ และแถมว่า วิชาดาราศาสตร์อิสลามนี้ต้องเปิดสอนให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเรา ไม่อย่างนั้นความรู้นี้หมดไป ผมจำไม่ได้ว่าทางอิสลามศึกษามีให้เลือกเรียนแล้วหรือยัง

เรื่องที่สอง เรื่องการถือศีลอดในเดือนนี้(เชาวาล) เพราะเมื่อวานท่านก็ไม่ได้ถือศีลอด

พอดีผมก็ตั้งใจเขียนเรื่องนี้ในบล็อกนี้เหมือนกัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นักบันทึกหะดีษเกือบจะทุกคน ยกเว้นอัล-บุคอรียฺกับอันนะสาอียฺ ได้บันทีกว่า

 

" ‏مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ فَكَأَنَّمَا صِيَامُ الدَّهْرِ "

        “ผู้ใดถือศีลอดในเดือนรอมฎอนแล้วตามด้วยหกวันในเดือนเชาวาล เสมือนกับเขาได้ถือศีลอดตลอดชีวิต”

อุลามาอฺได้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเสมือนการถือศีลอดตลอดชีวิต ว่า โดยปกติแล้วการทำดีของมุสลิมไม่ว่าการดีอะไร จะผลบุญสิบเท่า ฉะนั้น ถือศีลอดหนึ่งเดือนในเดือนรอมฎอน 30 วัน ก็เสมือน 300 วัน และในเดือนเชาววาลนี้เพิ่มอีก 6 วัน เสมือน 60 วัน ในหนึ่งปีมีประมาณ 360 วัน(ไม่ถึง 365 วันเพราะอิสลามนับเดือนทางจัทรคติ) ก็เสมือนว่าได้ถือศีลอดทั้งปี

แล้วจะถือศีลอดอย่างไร จะทำเลยหลังอีด ติดต่อกัน หรือกระจ่ายไปทั้งเดือน

เรื่องนี้ ความเห็นของอุลามาอฺแตกต่างกัน เช่น

อิมามชาฟีอีย มีความเห็นว่า ดีที่สุดต้องทันทีและติดต่อกัน

แต่อิมามอะหฺมัด(ฮัมบาลี) เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องติดต่อกัน ติดต่อกันหรือไม่ติดต่อกัน ผลเหมือนๆกัน (ดู ฟิกฮุลสุนนะฮฺ)

แต่ อิมามมะลิก กลับมีความเห็นว่า ในเรื่องนี้ไม่เคยได้ยินนบี(ศ็อลฯ)หรือบรรดาเศาะหาบะฮฺ เขาทำกัน ดังนั้นในทัศนะของเขา จึงไม่ใช่เรื่องสุนนะฮฺ ที่สนับสนุนให้ทำ

อุลามาอฺบางท่านให้ความเห็นว่า ก็ให้ถือวันจันทร์กับวันพฤหัส หนึ่งเดือนก็ครบหกวัน (อาจจะเกินเสียอี)

มีบางท่านเสนอว่า เพื่อหนีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนี้ ก็ให้ถือศีลอดในวันที่ 13, 14 และ15 (อัยยามุลบัยฎ) แล้วถือศีลอดต่ออีก 3 วันก็เป็น 6  
(สรุปจากที่ได้พูดคุยกับอธิการเมื่อวาน)

ผมก็เสนอแก่ท่านว่า.. ตามหลักสรีระแล้วน่าจะไม่ติดต่อกัน ค่อยๆทำ กระจัดกระจ่ายแล้วค่อยๆหยุด ซึงเมื่อเราเทียบกับเดือนก่อนรอมฎอน (เดือนชะอฺบาน) ก็สนับสนุนให้ถือศีลอดมากๆ (อ่านเพิ่มเติมใน intan) เป็นการวอร์มอัป เตรียมความพร้อมของร่างกาย และเมื่อถือศีลอดรอมฎอนแล้ว แม้ร่างกายจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่บางส่วนมีการคุ้นเคยกับการรับประทานอาหารกลางคืนแล้ว ก็ไม่น่าจะหยุดทันที น่าจะค่อยๆหยุด เหมือนนักวิ่งที่เขาวิ่งมาด้วยความเร็วก็ไม่ควรหยุดทันทีอาจทำให้ร่างกายช็อก หรือเครื่องยนต์ก็เช่นกันเมื่อเดินเครื่องมานานก็ไม่ควรหยุดทันทีน่าจะค่อยๆหยุด

ผมเพิ่งเริ่มวันนี้ และจะทยอยเรื่อยๆ จนสิ้นเดือน อินชาอัลลอฮฺ

อ๋อ.. เมื่อวานได้อ่านฟัตวาเรื่องการถือศีลอดในเดือนเชาวาลของสตรี สรุปว่า สตรีสามารถถือศีลอดที่เป็นสุนัตในเดือนเชาวาลนี้ได้ แล้วค่อยไปชดในวันอื่น ภายในปีนี้

 

คำสำคัญ (Tags): #ถือศีลอด
หมายเลขบันทึก: 138991เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2007 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณครับ มาอ่านได้ความรู้เยอะครับ

  • ปอซอ หมดเมื่อไหร่ก็ แวะมากิน "ตูปะ" ที่บ้านได้นะค่ะ
  • ว่ากันว่าเป็น "ตูปะ" ที่อร่อยที่สุดในโลก
  • เชื่อดิ

                            "JasmiN"

อาจารย์มีส่วนให้ผมกระจ่างมากขึ้นเยอะเลยครับโดยเฉพาะเรื่องศาสนาในแง่มุมบางแง่มุมที่ไม่ค่อยมีใครศึกษา มาเป็นอาจารย์ที่นี่เกือบ 2 ปี ได้อะไรมากกว่าที่คิดไว้มาก(อัลฮัมดุลิลละฮฺ) ผมมีโอกาสได้เจออาจารย์หลายครั้งแต่ก็ไม่กล้าคุย เคยไปสอนติวที่สุขสวัสดิ์ก็ 4 ปีนี้แล้วก็ไม่เคยได้เข้าไปพบอาจารย์เลย ผมอ่านบล็อกของอาจารย์แล้วผมได้ความคิดเยอะมากครับ

ขอบคุณมากครับ ทุกท่านที่ได้คอมเมนต์มา

ขอบใจน้อง

P
 "JasmiN" ที่นึกถึง และชวนไปกินตุปะที่บ้าน เอาไว้วันหลังก็แล้วกันนะครับ เมื่อวานฝนตกไปไม่ได้
อาจารย์ P ครับ จากประสบการณ์ชีวิต ผมได้ข้อคิดหลายอย่าง และบางอย่างจากข้อคิดตัวนั้นทำให้ผมต้องมาศึกษา ในเรื่องที่ส่งสัย จนได้ความรู้มา
  • หลายคน(อาจจะส่วนใหญ่)เข้าใจตัวเองว่าเข้าใจศาสนาดีแล้ ไม่จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก แต่เท่าที่ผมศึกษามานะครับ ถ้าเปรียบวิชาศาสนาเป็นน้ำทะเล ผมเพิ่งตักใส่ถ้วยเล็กๆ มาศึกษาเท่านั้น คนที่คิดว่าเข้าใจอิสลามดีเพียงแค่มีพ่อแม่เป็นมุสลิมนั้น คงประมาณว่า เขารู้เพียงว่า น้ำทะเลมันเค็ม
  • ผมสอนที่สุขสวัสดิ์ วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และฟิสิกส์ ที่ มอย.วิชาจิตวิทยาทั่วไป ดูๆแล้วมันจะไม่เกี่ยวกับศาสนาเลย แต่ในความเป็นจริง เกี่ยวโดยตรงเลยครับ เพียงแต่ว่าคนที่เรียนวิชาเหล่านั้นจะหาเจอในอิสลามหรือเปล่าเท่านั้น
  • ผมจบวิทยาศาสตร์ กับจิตวิทยา มา ผมไม่เคยเสียใจเลยที่ผมไม่ได้เรียนศาสนามาโดยตรง แต่ผมภูมิใจที่ผมสามารถอ่านอัลกุรอาน อ่านหะดีษ และกีตาบที่เป็นภาษาอาหรับได้โดยตรง ทำให้ผมสะดวกในการศึกษาศาสนาจากต้นฉบับได้ ทำให้บางครั้งผม insight ความรู้ใหม่ๆ(สำหรับผม) จากที่ได้อ่านคัมภีร์หรือหนังสือเหล่านั้น ชีวิตส่วนใหญ่ของผมทุกวันคลุกอยู่กับหนังสือศาสนาครับ และบางตอนที่ได้ศึกษาได้เขียนแปลลงในเว็บ http:intan.sci-yiu.net เพื่อเป็นวิทยาทานแก่คนที่สนใจ
  • อาจารย์ครับ.. ความรู้ที่เราได้ร่ำเรียนมาที่เราเรียกว่า วิชาสามัญนั้นนะ มันไม่เสถียร วันนี้ถูกต้องแต่พรุ่งนี้ หรืออาทิตย์หน้า เดือนหน้า ปีหน้า .. อาจจะเปลี่ยนไป อย่างภาษาไทยก็เหมือนกัน วันนี้บอกว่าเขียนแบบนี้ผิด ปีหน้าราชบัณฑิตยสถานอาจบอกว่าถูกก็ได้ .. แต่ความรู้ในอัลกุรอาน และหะดีษเศาะหีหฺ ไม่เคยเปลี่ยนและไม่เคยผิดด้วย มันเป็น(الحق) ไม่ได้งมงายอย่างที่บางคนว่า ที่เขาว่างมงายอาจจะเป็นเพราะเขายังไม่รู้ความจริง (รู้เท่าที่เขารู้ เมื่อคนเขาเชื่อในสิ่งที่เขาไม่รู้เขาอาจจะว่างมงาย)
  • เรียนหรือศึกษาศาสนาไม่ยาก ขอให้ตั้งใจจริง ...และมีอะไรจะปรึกษาโดยเฉพาะการบูรณาการความรู้ศาสนากับความรู้สมัยใหม่ ยินดีครับ

 والله أعلم

 

ขอบคุณอาจารย์มากครับที่ให้ข้อคิดแก่ผม ถ้าผมไมสอนที่นี่ผมก็คงไม่ได้บูรณาการศาสนากับภาษาไทย ผมภูมิใจ(อัลฮัมดุลิลละฮฺ)ที่มีคอร์สนึงผมได้สอนกลุ่มอูศูลุดดีนโครงการพิเศษ(พวกอุศตาซ) และได้ใช้ภาษาไทยแบบบูรณาการสอนพวกเขาจนสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ ทุกวันนี้ผมก็บูรณาการอยู่ครับ อย่างเรื่องภาษา การเรียกชื่อนาม ในซูเราะฮฺอัลบากาเราะฮฺอายะหืที่ 31-33 ก็ได้กล่าวไว้ที่อัลลอฮฺทรงสอนบรรดาการเรียกชื่อนามของสิ่งต่างๆให้แก่นบีอาดัม หรือแม้กระทั่งการอ่าน การฟัง การพูด ผมก็นำเอากุรอ่านและหะดีษแบบอย่างมาสอนโดยเฉพาะแบบอย่างการพูดของท่านร่อซูลที่ผมอยากให้เด็กของเราเอาเป็นแบบอย่างเพราะเด็กเราในความคิดผมยังเป็นคนพูดแข็งๆอยู่ ตอนแรกผมก็คิดอยู่เหมือนกันว่าจะบูรณาการได้ไหมผมเห็นเอกสารจิตวิทยาของอาจารย์ของน้องหมือนกับที่ผมเรียนมาแต่ต่างกันที่ไม่บูรณาการกับศาสนา ผมเลยมานั่งทบทวนและบอกตัวเองว่าภาษาก็น่าจะบูรณาการได้แม้จะเรียนภาษาไทยก็อัลฮัมดุลิลละฮฺที่ทำได้ระดับหนึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาแค่ไม่กี่ปี คงจะเป็นความเมตตาของพระองค์ใช่ไหมครับ ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งที่ทำให้ผมเห็นภาพอะไรบางอย่าง ผมก็ศึกษาศาสนาจากการอ่านกุรอ่านครับ ไม่กี่วันที่ผ่านมามีโอกาสได้ไปงานสัปดาหืหนังสือแห่งชาติมา ก็ได้ซื้อหนังสือศาสนามาเยอะเหมือนกันครับ ก็ยังไงมีโอกาสคงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอีก ขอบคุณสำหรับแง่คิดอีกครั้งครับ

 

ขอร่วมแจมอีกครั้งครับ

ผมเป็นเด็กปอเนาะ อยู่และเรียนปอเนาะมาหลายปี หวังว่าจะเป็นผู้รู้ แต่เมื่อจบกับเจอคำถามมากมาย

เข้ามาเรียน มอ. อาจารย์ท่านหนึ่ง บอกว่า ท่านมั่นใจว่าท่านไม่สามารถสร้างศิษย์ของท่านให้เป็นผู้รู้ได้ แต่ที่ท่านมั่นใจมากที่สุดคือท่านสามารถสร้างให้ศิษย์ของท่านหาคำตอบเป็น

หกปีของผมที่ปอเนาะ เป็นการเรียนแบบฟังคนอื่นคิด แล้วยึดถือมัน

สี่ปีต่อมาที่ มอ. บอกผมว่า ต้องกลับไปหาความรู้ที่อยู่ในอัลกุรอานและซุนนะห์สิ แล้วเรียนรู้มันจากผู้รู้ว่าหมายถึงอะไร ตรวจสอบให้แน่ว่าถูกหรือเปล่า

ผมจึงรู้ว่า ความรู้เรียนไม่จบ 

ขอบคุณมากครับ อาจารย์

ถูกต้องตามที่อาจารย์ว่า และเมื่อทุกคนยึดอัลกุรอานและหะดีษเศาะหีหฺ ถ้าจะมีแตกต่างทางความคิดก็คงไม่แตกต่างในการปฏิบัติอันที่เป็นสิ่งหลักๆ และไม่ทะเลาะกัน

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً [النساء : 59]

ถ้าเรามีความคิดหรือแนวปฏิบัติที่แตกต่าง ก็หันกลับไปหาอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ นั้นคือไปดูในอัลกุรอาน และหะดีษเศาะหีหฺว่าอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท