เรื่องเล่าของการเป็นวิทยากร KM ของ EGAT


การเป็นวิทยากร KM
ผมเงียบหายไปนาน วันนี้กลับมาแล้วครับ ก็มีเรื่องอยากจะเล่าให้เพื่อนๆได้ฟังกันบ้างครับ ตอนนี้ผมได้รับงานเป็นวิทยากรเดินสาย บรรยาย และทำ workshop KM จากการที่ได้เป็นวิทยากรเดินสายบรรยายและทำ Workshop ร่วมกับ อาจารย์ศิริวัฒน์ เก็งธรรม ซึ่งเป็นผู้ร่วมงาน กฟผ. ด้วยกัน ซึ่งท่านก็เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องของการจัดการความรู้เป็นอย่างดี เรา 2 คน ได้เดินสายบรรยายและทำ Workshop เฉพาะในเรื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในสายงานของกลุ่มผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานประมาณหมื่นกว่าคน อ๋อผมลืมบอก Background ให้ทราบก่อน หน่วยงานของผมมี คุณศรีวรรณ วิทยาธิปัต เป็นหัวหน้าหน่วยงาน มีคุณศากุน ปิติไกรสร เป็นหัวหน้ากลุ่มงานที่รับผิดชอบด้าน KM และผมก็เป็นบุคคลหนึ่งในหน่วยงานนี้ ซึ่งผมก็รับผิดชอบงานทางด้านระบบ IT สนับสนุนงาน KM ของสายงานเมื่อตอนแรกผมกับคุณศิริวัฒน์ ไม่ได้ทำหน้าที่บรรยายหรอกครับ ในครั้งแรกก็เชิญท่านอาจารย์ประพนธ์ ผาสุกยืด จาก สคส. มาบรรยายให้กับระดับผู้บริหารของเราก่อน แต่ท่านก็มีภารกิจมาก ไม่สามารถจะมาบรรยายให้กับผู้บริหารของเราได้ครบทุกรุ่นได้ เพราะเราจัดอบรมให้ผู้บริหารทั้งหมด 11 รุ่น รุ่นละเกือบร้อยคน เมื่อท่านอาจารย์มาบรรยายให้เราครบทุกรุ่นไม่ได้ เราก็จำเป็นต้องช่วยตัวเอง โดยเริ่มแรกเราก็พยายามมาหาผู้ที่คิดว่าสามารถจับประเด็นของท่านอาจารย์ประพนธ์ ได้มากที่สุด และสามารถถ่ายทอดได้ดี เราก็ได้มา 2-3 ท่าน ก็ได้ คุณจิระชัย ศรีสมบัติ , คุณพินิจ นิลกัญหาะ และคุณศิริวัฒน์ เก็งธรรม นี่แหละครับที่เริ่มแรก พวกเราก็พยายามหา Concept และ Tools มาบรรยายโดยเดินตาม สคส. และเมื่อมีการจัดสัมมนา มหกรรม KM ที่โรงแรมมิราเคิล หลักสี่ และไบเทคบางนา พวกเราก็เข้าร่วมและได้มีการเพิ่มเติมความรู้มากขึ้น ก็นำมาปรับใช้ในการบรรยายและทำ Workshop ให้กับผู้ปฏิบัติงานที่พร้อม โดยเริ่มแรกทางโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้เริ่มทำก่อน โดยทางคุณชรินทร์ กาญจนรัตน์ ซึ่งเป็นหัวหน้าของคุณพินิจ ได้ร่วมกันจัดทำให้กับทางผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะก่อน และพวกเราก็ได้ไปดูการทำWorkshop ของระดับผู้ปฏิบัติงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ แล้วก็มาถึงแนวคิดว่า เราควรจะดำเนินการในแนวทางนี้ให้กับหน่วยงานอื่นๆ ไปพร้อมๆ กันเลยน่าจะดี ซึ่งในปี 2550 สายผลิตไฟฟ้าของเราก็มีนโยบายให้ทุกฝ่ายทุกหน่วยงาน ต้องมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ซึ่งอยู่ในสายวิชาชีพเดียวกันซึ่งทางเราเรียกว่า CFT (Cross Functional Team) โดยต้องมีการจัดสร้างองค์ความรู้ของหน่วยงาน ทำให้ทุกหน่วยงานมีการจัดตั้งกลุ่ม CFT ขึ้นมากมาย แต่ขาดการชี้แนะแนวทางการทำกลุ่ม ทุกหน่วยงานก็เลยมุ่งไปที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งทางโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้ตั้งเป้าหมายไว้แล้วโดยจะทำการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคน ก็เกือบ พันคน ทำให้ทีมงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะไม่สามารถจะเดินสายไปให้ความรู้และทำ Workshop กับหน่วยงานอื่นๆ ได้ นี่แหละครับซึ่งเป็นจุดเริ่มเปิดโอกาสให้ผมและคุณศิริวัฒน์ เข้ามาร่วมกันเพื่อเดินสายบรรยายและทำ Workshop แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับหน่วยงานต่างๆ ของสายผลิตไฟฟ้า โดยมีคุณศากุน เป็นผู้ประสานในการจัดการ อบรมและ workshop ผมได้เกริ่นมาซะยืดยาวเลย ยังไม่ได้เริ่มเรื่องที่อยากจะเล่าเลย เรื่องที่ผมอยากจะเล่าก็คือ ประสบการณ์ที่ได้การทำกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้สำเร็จอย่างไร แต่พอจะเริ่มเล่ามันไม่รู้จะเริ่มตั้งต้นอย่างไรดี ก็เลยขอเวลาทำสมาธิสักพัก แล้วจะเขียนมาเล่าต่อนะครับ ถ้าอ่านแล้วสนใจ โปรดติดตามนะครับ
หมายเลขบันทึก: 138989เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2007 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีครับ
  • หายไปนานนะครับ
  • หลายๆคนเขาบ่นคิดถึงนะครับ

 

สวัสดีครับ

  •         ขอบคุณทุกคนครับที่ยังคิดถึงกันอยู่
  •          ตอนนี้กำลังร่างเรื่องเล่าของคุณอำนวยแล้วจะนำมาเล่าให้ฟังครับ

หายไปนานจริงๆเนอะ  มีเรื่อดีดีมาเล่าเยอะแยะเลย

ขอบคุณค่ะ

ถ้าจัดหน้าข้อความนิด จะอ่านง่ายขึ้น น่าสนใจดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท