การอภิปรายแบบระดมสมอง Brain Storming


การอภิปรายแบบระดมสมอง Brain Storming

             ผู้ที่นำวิธีการอภิปรายแบบระดมสมองมาใช้เป็นท่านแรก คือ Mr.Alex Osborn  การอภิปรายแบบนี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายเกิดความคิดสร้างสรร ฉะนั้นเมือ่ถึงตอนการดำเนินการอภิปรายที่สำคัญ จะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนแสดงความคิดเห็น และมีเสรีภาพในการแสดงควมคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพื่อเป็นการระดมพลังสมองของแต่ละคนในการแก้ปัญหานั้น โดยปราศจากการสกัดกั้นทางความคิด  ใครจะแสดงความคิดเห็นก่อนหลังได้ตามโอกาส สำหรับในช่วงแรกของการสัมมนาจะไม่มีการวิเคราะห์  วิจารณ์ หรือตีความคิดเห็น หรือแม้แต่ข้อเสนอแนะของสมาชิกโดยเด็ดขาด แต่จะใช้เวลาช่วงหลังของการสัมมนาจะปล่อยให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและต้องทำอย่างทั่วถึงซึ่งจะใช้เวลานานพอสมควร  ซึ่งตลอดเวลาของการแสดงความคิดเห็นเลขานุการจะต้องบันทึกไว้ทั้งหมด โดยการบันทึกดังกล่าวสมาชิกทุกคนต้องเห็นร่วมกันและรับทราบร่วมกัน

วิธีการดำเนินการอภิปราย

1. ประธานเสนอหัวข้อหรือปัญหาให้ที่ประชุมรับทราบ

2. ประธานอธิบายความมุ่งหมายและสาระสำคัญของหัวข้อประชุมให้สมาชิกทราบ และตลอดทั้งความคาดหวังที่จะได้รับรับจากการประชุม

3. กำหนดระยะเวลาในแสดงความคิดเห็นตามความเหมาะสม

4. เปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นอย่างมีอิสรเสรี

5.สรุปประเมินค่าความสำคัญข้อเสนอแนะ หรือความคิดเห็นในอันที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

6.สิ่งสำคัญประธานควรจัดและควบคุมให้จำนวนสมาชิกของกลุ่มมีจำนวนที่เหมาะสม คือประมาณ 8-20 คน

7. ในการจัดสถานที่สามรถจัดได้หลายรูปแบบแต่ควรจัดที่นั่งให้สามารถเอื้ออำนวยให้สมาชิกทุกคนมองเห็นหน้ากัน และได้ยินข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นได้อย่างชัดเจน

 

เขียนใน GotoKnow
 โดย 
 ใน nart
หมายเลขบันทึก: 138892เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
สำหรับเทคนิคนี้ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก แต่ในบางครั้งผู้จัดก็อาจไม่้ได้ผลลัพธ์้อย่างที่ต้องการ เหมือนกันอาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยเหมาะสม กัับสังคมไทยเนื่องจากมักจะไม่ค่อยชอบแสดง ความคิดเห็น ไม่ชอบขัดแย้งทางความคิด ดังนั้น ผู้จัดอาจจะต้องเริ่มด้วยการละลายพฤติกรรม ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้จักคุ้นเคยกันมากขึ้น และทีมงานอาจจะต้องมีการกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น รวมทั้งการสร้างบรรยากาศแบบเป็นกันเอง ลดความเป็นทางการ และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน อาจจะทำใ้ห้การอภิปรายรูปแบบนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าได้นะ
  • สวัสดีคะ....คุณชายหนุ่ม
  • ขอบคุณที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
  • สวัสดีคะพี่ นาถ นกขอ Brain Storming
  • ด้วยคนนะคะ แต่ตอนนี้มันดึกแล้วคะ คณะจะปิดแล้ว
  • P  นกค่ะขอบคุณมากค่ะที่เข้ามาทักทาย
  • ไม่เป็นไรค่ะเราจะค้างคณะกันให้มันรู้แล้วรู้เรื่องไปเลยค่ะ

ดีค่ะ ทำไมไม่มีภาพประกอบบ้างเลยค่ะ น่าจะเพิ่มเติมรูปภาพประกอบด้วยนะค่ะ จะได้เป็นตัวอย่างในการมองให้เห็นภาพอ่ะค่ะ

อยากทราบถึงข้อดีและข้อเสียของการอภิปรายแบบระดมสมอง Brain storming

อ่ะค่ะ ขอขอบคุณล่วงหน้าเลยนะค่ะ พี่นาถ

มีภาพประกอบด้วยก็จะดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี