การจัดการความรู้


เทคโนโลยี่กับการศึกษา
การจัดการความรู้ในสถานศึกษา      การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด     การจัดการความรู้ มีความรู้อยู่  2 ประเภท คือ       - ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน  (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์  พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ   เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย  เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง  จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม       - ความรู้ที่ชัดแจ้ง  (Explicit Knowledge)  เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้  โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม  แนวคิดการจัดทำแผนการจัดการความรู้  (Knowledge Management Action Plan)    ได้นำแนวคิดเรื่องกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)  และกระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง  (Change Management Process)   มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการความรู้  (KM Action Plan) กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)   

2. การสร้างและแสวงหาความรู้

(Knowledge Creation and Acquisition)
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
7. การเรียนรู้ (Learning)
ความรู้นั้นทำให้เกิดประโยชน์กับองค์กรหรือไม่ทำให้องค์กรดีขึ้นหรือไม่
มีการแบ่งปันความรู้ให้กันหรือไม่
เรานำความรู้มาใช้งานได้ง่ายหรือไม่
ความรู้อยู่ที่ใคร  อยู่ในรูปแบบอะไรจะเอามาเก็บรวมกันได้อย่างไร
จะแบ่งประเภท หัวข้ออย่างไร
จะทำให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์อย่างไร
เราต้องมีความรู้เรื่องอะไรเรามีความรู้เรื่องนั้นหรือยัง
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
 กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)  เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้  หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร  ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้1)   การบ่งชี้ความรู้เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร , ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร2)   การสร้างและแสวงหาความรู้เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว3)   การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต 4)   การประมวลและกลั่นกรองความรู้เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์5)   การเข้าถึงความรู้เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น6)   การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น7)   การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก  สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง      1.2.2 กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง  (Change Management Process)

กระบวนการ

และเครื่องมือ(Process & Tools)
การเรียนรู้(Learning)
การสื่อสาร(Communication)
การวัดผล(Measurements)
การยกย่องชมเชยและการให้รางวัล(Recognition and Reward)
เป้าหมาย(Desired State)
การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(Transition and Behavior 
Robert Osterhoff
กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) เป็นกรอบความคิดแบบหนึ่งเพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ภายในองค์กร   ได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้  ประกอบด้วย  6 องค์ประกอบ  ดังนี้1)      การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -   เช่น กิจกรรมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร (ที่ทุกคนมองเห็น), โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร, ทีม/ หน่วยงานที่รับผิดชอบ, มีระบบการติดตามและประเมินผล , กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน2)      การสื่อสาร เช่น กิจกรรมที่ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ, ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน, แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร3)      กระบวนการและเครื่องมือ  - ช่วยให้การค้นหา  เข้าถึง ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยการเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือ ขึ้นกับชนิดของความรู้, ลักษณะขององค์กร (ขนาด,  สถานที่ตั้ง ฯลฯ), ลักษณะการทำงาน, วัฒนธรรมองค์กร, ทรัพยากร4)      การเรียนรู้   - เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจัดการความรู้ โดยการเรียนรู้ต้องพิจารณาถึง เนื้อหา, กลุ่มเป้าหมาย, วิธีการ, การประเมินผลและปรับปรุง5)      การวัดผล  - เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่, มีการนำผลของการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น, มีการนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้  และการวัดผลต้องพิจารณาด้วยว่าจะวัดผลที่ขั้นตอนไหนได้แก่ วัดระบบ (System), วัดที่ผลลัพธ์ (Out put) หรือวัดที่ประโยชน์ที่จะได้รับ (Out come)6)      การยกย่องชมเชยและให้รางวัล  - เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ โดยข้อควรพิจารณาได้แก่ ค้นหาความต้องการของบุคลากร, แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว, บูรณาการกับระบบที่มีอยู่, ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา1.3 องค์กรจะต้องมองภาพรวมของปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) ขององค์กร  โดยการนำกระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงมาเชื่อมโยง เพื่อจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสริมสร้างสภาพแวดล้อม ที่จะทำให้กระบวนการจัดการความรู้มีชีวิตหมุนต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง    และทำให้การจัดการความรู้ขององค์กรมีประสิทธิผลโดยจัดทำเป็นแผนการจัดการความรู้  (KM Action Plan)  และนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงๆ1.4 ตามแนวคิดนี้  องค์กรต้องมีการกำหนด  ขอบเขต KM  (KM Focus Area)  และเป้าหมาย KM (Desired State) ที่องค์กรต้องการเลือกทำ เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน ตามเนื้อหาในบทที่ 2 และบทที่ 3 ตามลำดับ1.5 การกำหนดขอบเขต KM และเป้าหมาย KM   เพื่อต้องการจัดการความรู้ที่จำเป็นต้องมีในกระบวนงาน (Work Process)   เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน   ที่องค์กรได้จัดทำขึ้นไว้ในข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint  for Change) งบประมาณประจำปี 25481.6 องค์กรต้องมีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ (KM Assessment Tool : KMAT) หรือวิธีการประเมินองค์กรตนเองแบบใดก็ได้ที่นอกเหนือจาก KMAT เพื่อทราบถึงจุดอ่อน-จุดแข็ง / โอกาส-อุปสรรค   ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญต้องปรับปรุง-รักษาไว้ / พัฒนาให้การจัดการความรู้บรรลุผลตามเป้าหมาย KM  ตามเนื้อหาในบทที่ 41.7 องค์กรต้องนำผลลัพธ์ของการประเมินตนเอง จากข้อ 1.6  เพื่อจะนำมากำหนดหาวิธีการสู่ความสำเร็จ  ไว้ในแผนการจัดการความรู้ (KM  Action  Plan) โดยอาจจะเป็นแผนการจัดการความรู้ระยะสั้นภายในปีงบประมาณ     หรือเป็นแผนระยะยาว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย KM ที่องค์กรเลือกทำ  รวมถึงความพร้อมจากผลการประเมินตนเองจากข้อ 1.61.8 องค์กรต้องมีการกำหนดโครงสร้างทีมงาน KM   เพื่อมาดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้  ให้การจัดการความรู้บรรลุผลตามเป้าหมาย KM ตามเนื้อหาในบทที่ 51.9 เมื่อองค์กรได้ดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้  เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนปี 2549 แล้ว  ผู้บริหารทุกระดับจะต้องร่วมผลักดันให้เกิดการบูรณาการ  กระบวนการจัดการความรู้  (KM Process) ให้ยึดถือปฏิบัติอยู่ในกระบวนงาน  (Work Process)  ของข้าราชการ รวมถึงบูรณาการกระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change  Management Process) ให้เกิดขึ้น   ในการปฏิบัติราชการขององค์กรในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM  ในเรื่องอื่นๆ ต่อไป   ทั้งนี้เพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดมีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอกิจกรรมหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม โรงเรียนวิถีพุทธปทุมานุกูล  ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาของชาติ มีบทบัญญัติว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อให้พัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างการ จิตใจ สติปัญญา ความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข          จากสภาพปัจจุบันของสังคมไทยและในส่วนของโรงเรียนปทุมานุกูลมีนักเรียนจำนวนไม่น้อยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกชักนำไปในทางเสื่อม โรงเรียนจึงวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรและนักเรียน โดยเริ่มจากการพัฒนาบุคลากรและนักเรียนโดยเริ่มจากระบบการดำเนินงานในสถานศึกษา เน้นส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างพอเพียงสามารถพึ่งตนเองได้มีการพัฒนาอาชีพอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียงรู้จักพัฒนางานฝีมือและมีรายได้ระหว่างเรียนวิธี การพัฒนา โดยโรงเรียนบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสนับสนุนให้มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ระดมสมองโดยยึดแนวการบริหารแบบ Brain Base Learning   จากเป้าหมายวิสัยทัศน์โรงเรียนจึงพัฒนาแนวทางการบริหารทั้งหลักระบบระเบียบการบริหารราขการแผ่นดินและผสมผสานกับแนวพุทธวิธี และมุ่งเน้นไปให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งความเป็นอยู่ส่วนตนและในสังคมตลอดจนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ โดยมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกลุ่มสนใจ  การอาศัยหลักธรรมเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้  โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ  กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม  กิจกรรมวันสำคัญ  โครงการมีรายได้ระหว่างเรียน  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ   โรงเรียนนำเอาหลักการโรงเรียนวิถีพุทธมาใช้ในการพัฒนาทั้งเชิงบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร ครู นักเรียน พัฒนาผลการเรียน ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างโรงเรียนและบ้าน  พัฒนาครูโดยสร้างความเข้าใจเน้นครูเป็นตัวอย่างแก่นักเรียนในด้านต่างๆ เช่นอบรมความรู้เรื่องวินัย  กิจกรรมระหว่างวัน  ธรรมสวัสดี  และยังร่วมกับสถาบันศาสนาอบรมธรรมะแก่ครู และนักเรียน  การอาศัยหลักธรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้             ผลสำเร็จ โรงเรียนมีบรรยากาศร่มรื่นสวยงามเหมาะแก่การจัดการศึกษา มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย   ผู้บริหาร เอาใจใส่อย่างมีไมตรีจิต ทำให้ดู อยู่ให้เห็น  บุลากรรักและสามัคคี นักเรียนเรียนรู้อย่างเป็นสุข  ชุมชนร่วมพัฒนาการจัดการศึกษา การพัฒนาโดยประชุมวิเคราะห์แผนงาน สร้างความเข้าใจกับทุกฝ่าย  ปรับสภาพบรรยากาศให้ สงบ สะอาด สว่าง  ร่มรื่นสวยงาม  บูรณาการหลักธรรมทุกสาระ  ปรับหลักสูตรสาระสังคมศึกษา  พัฒนาระบบนิเทศ  จากธรรมนูญสู่การปฏิบัติ ตามหลักภาวนา 4  กาย ศีล สมาธิ  ปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนได้ กิน ดู อยู่ ฟัง เป็นดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า  จนได้รับรางวัลดีเด่นมากมาย เช่น โรงเรียนวิถีพุทธดีเด่นสำนักงานพระพุทธศาสนา  โรงเรียนวิถีพุทธต้นแบบกระทรวงศึกษาธิการ  โรงเรียนส่งเสริมปลุกกระแสสร้างจิตสำนึกแหล่งเรียนรู้คุณธรรม  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง                ดังนั้นการจัดการความรู้ในสถานศึกษา ทำให้องค์กรสามารถพัฒนา บรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ โดยจัดและแสวงหาความรู้ใหม่ๆอย่างเป็นระบบ ทำให้องค์กรสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในทางที่เจริญก้าวหน้าตลอดไป ***************************     
 บรรณานุกรม สำนักงาน ก.พ.ร   โครงการพัฒนาส่วนราชการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ,ธันวาคม  2548   เข้าถึงได้จาก :  Power  Point   
    
คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 138582เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท