รำลึก 14 ตุลา กับประวัติศาสตร์ไทยที่ประชาธิปไตยนั้นไม่ได้ได้มาด้วยการร้องขอ


ย้อนอดีตไปร่วม 28 ปีเศษที่วีรชนคนกล้า และนักศึกษาผู้รักชาติได้เสียสระเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อต่อสู้กับระบบเผด็จการ ในช่วงปีพศ. 2516 กลุ่มนักศึกษาจากหลายสถาบัน มีแกนนำโดยม.ธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับโค่นล้มเผด็จการ ทรราชได้สำเร็จ แต่คลื่นใต้น้ำยังมีอยู่

200px-header-pic

ผ่านไป 3 ปี ในปีพศ.2519 กลุ่มอำนาจเก่าได้ใช้แผนการล้มสมาพันธ์นักศึกษาทุกวิถีทาง ใช้กำลังเข้าปราบปรามโดยกลุ่มกระทิงแดง คุกคามชีวิตและความปลอกภัยของนักศึกษา จนเกิดเหตุการณ์มหาวิบปโยกของไทย วันที่ 6 ตุลาคม 2519 นักศึกษาถูกทำร้ายและฆ่าตาย เสียชีวิตไปจำนวนมาก และอีกกลุ่มต้องหนีเข้าป่าเพื่อต่อสู้กับฝ่ายเผด็จการ


ย้อนรำลึก...สิบสี่-หกตุลา วีรกรรมเพื่อประชาธิปไตย
ย่างเข้าสู่เดือนตุลาคมคราใด สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสัญลักษณ์ของเดือนนี้ที่ใคร ๆ ต่างไม่ลืมที่จะนึกถึงก็คือ เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519

....วันเวลาที่มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทย !!!14 ตุลาคม 2516 "วันมหาวิปโยค" นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งประชาชนกว่าครึ่งล้าน รวมตัวประท้วงเรียกร้องรัฐธรรมนูญโดยมีนักศึกษาเป็นแนวร่วมสำคัญ เพราะช่วงนั้นเกิดการใช้อำนาจเผด็จการ โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ปฏิวัติยึดอำนาจตัวเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกา ยน 2514 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี 2511 จัดตั้งรัฐบาลคณะปฏิวัติขึ้นปกครองประเทศ

11

แรงปะทุเกิดขึ้น เมื่อมีการจับกุมกลุ่มผู้เรียกร้องจำนวน 13 คน ด้วยข้อหาขัดขืน คำสั่งคณะปฏิวัติมั่วสุมชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนและข้อหาร้ายแรงว่าเป็นกบฏ จึงเกิดการชุมนุมครั้งใหญ่ นักศึกษา ประชาชนหลั่งไหลมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เกิดการเดินขบวนครั้งใหญ่ในวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ฝูงชนนับแสนออกเดินจากธรรมศาสตร์ไปตามถนนราชดำเนิน สู่ลานพระบรมรูปทรงม้า จนเวลา 20.00 น. รัฐบาลจึงยอมปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมโดยไม่มีเงื่อนไข และรับรองว่าจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 1 ปี

แต่แล้วเช้าตรู่ของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ขณะกลุ่มผู้ชุมนุมกำลังจะสลายตัว การนองเลือดก็เกิดขึ้น ด้วยกลุ่มผู้ชุมนุมถูกตำรวจปิดกั้นเส้นทางเดิน เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง กลายเป็นจลาจลกลางเมือง สภาพบ้านเมืองเสียหายย่อยยับแทบทุกถนน เหตุร้ายมาสงบลงได้เมื่อค่ำวันที่ 15 ตุลาคม 2516 เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ออกเดินทางไปนอกประเทศ หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่

นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงพลังมวลชนในการรวมตัวเรียกร้องให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ แต่ก็ต้องเสียชีวิตเลือดเนื้อผู้คนถึง 71 ชีวิต บาดเจ็บอีกหลายร้อย ราย พิการ 45 คน จิตฟั่นเฟือน 27 คน ทุพพลภาพ 11 คน สูญหาย 4 คน !!!

22

แต่หน้าประวัติศาสตร์ต้องถูกจารึกอีกครั้ง เมื่อเวลาผ่านไปถึงปี 2519 กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม นาทีเลือดแห่งการปราบปรามและสังหารนักศึกษาอย่างทารุณ บัดนี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตยังเป็นปริศนาดำมืด....

การกลับมาของจอมพลถนอม กิตติขจร ด้วยการห่มผ้าเหลืองบวชเป็นสามเณร.. เกิดการชุมนุมขับไล่โดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีกลุ่มพลังฝ่ายอำนาจเก่า คอยล้มล้างโจมตีนักศึกษา ปลุกปั่นสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งกว่าเดิม ผลสุดท้ายในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ตำรวจและกลุ่มประชาชนสังกัดพลังฝ่ายขวาเข้าล้อมปราบนิสิตนักศึกษาและประชาชนด้วยอาวุธปืนสงครามร้ายแรงนานาชนิด กระทำทารุณด้วยการแขวนคอกับต้นมะขามบริเวณสนามหลวง รุมฆ่า เผาทั้งเป็น โดยใช้ยางรถยนต์เป็นเชื้อ.... เลือดเนื้อและชีวิตถูกสังเวยไปกับความโหดเหี้ยมผิดมนุษย์ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันศพ

เกิดการยึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ประกาศเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 ยุบสภาผู้แทนราษฎร เลิกพรรคการเมือง ตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เข้าสู่ยุคเผด็จการเต็มรูปแบบ ผู้นำนักศึกษาถูกจับกุมดำเนินคดี นักวิชาการปัญญาชนลี้ภัยไปต่างประเทศจำนวนมาก นักศึกษาประชาชนหนีเข้าป่าเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย บ้านเมืองเต็มไปด้วยความหวาดระแวง รัฐบาลหักหลังปฏิวัติล้มล้างกันเองมาตลอดจนถึงปี 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ที่เข้าร่วมกับคอมมิวนิสต์ที่อยู่ในป่าพ้นผิด เข้ามอบตัวกับทางการเพื่อมาช่วยกันพัฒนาบ้านเมือง ความสงบสุขจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง

เหตุการณ์ผ่านมานานแล้ว แต่สิ่งที่อนุชนรุ่นหลังจะยังเห็นภาพอดีตของเรื่องราว 14 และ 6 ตุลา ในเชิงรูปธรรมได้ในขณะนี้ก็คงจะเป็นอนุสรณ์ที่ได้สร้างไว้ นั่นก็คือ อาคารอนุสรณ์ สถาน 14 ตุลา ที่ทางมูลนิธิ 14 ตุลาเป็นเจ้าของโครงการ ตั้งอยู่ที่สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กลาง ที่กว่าจะสำเร็จได้ต้องใช้เวลาถึง 28 ปีหลังจาก ปี 2516...... โคทม อารียา กรรมการและเลขานุการมูลนิธิ 14 ตุลา กล่าวว่า จุดประสงค์ของการก่อสร้างก็เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเหตุการณ์ ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงเรื่องราว

333

วีรกรรมเพื่อประชาธิปไตย จะคงอยู่ในความทรงจำไม่ลบเลือน.


......................................

พลังของนักศึกษาจะยังคงอยู่เพื่อประชาชน

ขอเถิดเพื่อนผอง, อย่าร้องไห้
โลกกว้าง, เต็มใบ ยังรออยู่
อย่าเพียง เรียนเพื่อ เฟื่องฟู
ควรยืนคู่ อยู่เคียงข้าง ประชาชน
                                         รำลึก..ตุลา น้ำตาประชาธิปไตย

หมายเลขบันทึก: 138577เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • พี่มองว่าเหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นคติสอนใจคนไทยเราได้เป็นอย่างดี
  • แต่ทำไมคนไทยลืมง่าย  ไม่ค่อยจะจดจำเพื่อนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน
  • ดีใจที่แม้แต่น้องที่เกิดไม่ทัน (จริงไหม) ก็ยังจำได้และนำมาเตือนใจคนไทยทุกคน
  • ขอบคุณมาก ๆๆ สำหรับบันทึกนี้
  • สวัสดีครับพี่รักษ์ P 
  • โดยส่วนตัวผมเป็นคนสนใจประวัติศาสตร์ครับเพราะ " อดีตคือความจริงของตัวเราในปัจจุบัน "
  • การซึมซับกับอดีตนั้นทำให้เราเห็นด้านมืดและข้อบกพร่องของตนเอง  แต่ก็สามารถทำให้มองเห็นแสงสว่างในเส้นทางที่ริบหรี่ได้ครับ
  • ขอบคุณครับพี่

อันที่จริง  อยากเขียนอะไรเกี่ยวกับ 14  ตุลา  16  มาก  หรือแม้แต่  6  ตุลา  19

แต่ช่วงนี้ก็ยุ่งเหลือเกิน ... ตอนนี้ยังนั่งจิ้มงานอยู่เลย   เพราะพรุ่งนี้ต้องออกเดินทางไปอุดรแต่เช้ามืดเลยก็ว่าได้

.....

รักษาสุขภาพ....

ประเทศชาติไม่ใช่ของเราคนเดียว  ... ซึ่งหมายถึง  เราต้องช่วยกันดูแล (ต่างหาก)

สวัสดีค่ะน้องมะเดี่ยว

  • ครูอ้อยก็อยู่ในเหตุการณ์นั้นค่ะ  ตอนนั้นเรียน อยู่ชั้น มศ.5 ค่ะ  ครูอ้อยกลับบ้านทันเวลาค่ะ  .....  ไม่งั้น  เป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วค่ะ

คิดถึงจังค่ะ

  • สวัสดีครับพี่แผ่นดิน P
  • ประวัติศาสตร์จะสอนให้เรารู้ตัวเองครับพี่ ว่า..สังคมจะเดินไปในเส้นทางไหนและ..สังคมต้องการอะไร
  • จิตวิญญาของความเป็นไทยคือ ชาต ศาสนา พระมหากษัตริย์ ... อยู่ยั้งยืนยง  ครับ
  • สวัสดีครับแม่ครูอ้อย P ที่น่ารัก
  • ไม่ยักกะรู้ว่าแม่ครูก็เป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์นี้ครับ
  • แต่เอ...อยู่หน้าไหนครับเนี่ย  อิอิ
  • รักษาสุขภาพนะครับ  คิดฮอดคือกัน ...

สวัสดีครับคุณสายลม

อ่านแล้วนึกถึงความหลังสมัยเป็นนักเรียนนักศึกษาครับ สมัย ม.ศ.๕ (๑๔ ต.ค.๑๖)ผมอยู่ในกลุ่มผู้นำนักเรียนที่สตรีภูเก็ต เดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยที่สะพานหิน ตอนปีสามอยู่ในรามคำแหง (๑๖ ต.ค.๑๙) นึกๆแล้วสะท้อนใจกับการเรียกร้องประชาธิปไตย  จนถึงวันนี้เรายังไปไม่ถึงไหนเลย..

วันนี้โทร.ไปเยี่ยมโกมี้ตามเบอร์ที่ให้มาก็ไม่มีใครรับสายครับ ผมต้องทำงานอยู่ที่พังงาครับ

สวัสดีค่ะพี่สายลมอ่านแล้วขนลุกค่ะ ได้แต่ขออย่าให้เกิดขึ้นอีกเลยค่ะ

 

  • เลือดรักชาติ ประชาธิปไตย ยังอยู่ในใจเสมอ
  • วรีกรมเหล่านั้น เป็นทั้งบทเรียน และความอาลัย ต่อผู้ที่ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยอันแท้จริง
  • แค่นี้พอก่อนเดี๋ยวเลือดท้วมจอ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ
  • รักชาติยอมสละแม้ชีวี ต่อด้วย จะได้มีส่วนร่วมด้วยกัน

 

  • กราบสวัสดีครับท่าน P อัยการชาวเกาะ
  • หลายท่านใน G2K แห่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ครับ อิอิ
  • ประชาธิปะไตย ปะไตย เอ๋ย หน้าตาเจ้าเป็นอย่าง อย่างไร ขอดูหน่อย ขอดูหน่อย เปิดให้ดูหน่อยซิ  เอ้า ฮิ้วววววว
  • สวัสดีครับคุณน้องกิ่ง P 55555
  • สบายดีบ่ล่ะครับ  อากาศเย็นบ่น้อ
  • คึดฮอดสวนป่าเด้
  • อยากสิไป่นอนเล่นซือ ๆ เอาสมองไปล้างบ้าง
  • รักษาสุขภาพเด้อครับ
  • สบายดี๋
  • สวัสดีค่ะ คุณนายสายลม
  • พอถึงเดือนตุลา ก็เหมือนมีอะไรมาสกิดให้ระลึกถึงเสมอ
  • -----
  • บันทึกของน้องสายลม ทำใหคาดเดาอายุ ของผู้ร่วมสมัยร่วมเหตุการณ์ ได้
  • ขอบคุณค่ะ
  • พี่ครูเสือครับ P 
  • ถึงผมไม่ใช่คนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์หน้านี้ แต่ผมยืนยันได้ว่าจะไม่มีใครมาฉีกประวัติชาติหน้าหนี้ออกไปได้ครับ
  • เราทุกคนคือผลพวงของอดีตกันทั้งนั้นครับ
  • อิอิ

ตุลาอาถรรพ์

ตุลามหาโหด

ตุลาอหังการ์

สุข สงบ เย็น

rainalone

  • สวัสดีครับป้าแดง P 
  • เดือนตุลาหรือว่าเดือนไหน ผมก็คิดถึงทุก ๆ คนครับ
  • 55555555
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท