เด็กวัยรุ่น สงสัยว่าทำไมต้องกินยาต้านทุก 12 ชั่วโมง หยุดกินได้ไหม


หนูให้ อาวุธ ให้อาหาร แก่กองทหารของหนูได้ไหม

มีคำถามจากเด็กวัยรุ่น ที่เข้าค่ายวัยรุ่น ครั้ง แรก

หลากหลาย ประมาณ 20 คำถาม จัดเป็นหมวดหมู่ได้ 4 กลุ่ม

หมวด1 ความรู้สึก ถามว่า กลัวเพื่อนรู้ ทำอย่างไร ไม่ให้เพื่อนรู้

หมวด 2 เรื่องอนาคต ว่า จะต้องกินยาตลอดชีวิตไหม รักษาให้หายได้ไหม จะหยุดยาได้ไหม

หมวด 3 เรื่องคุณลักษณะยา  ว่ายาที่กินประกอบไปด้วยอะไร ยาเม็ดใหญ่สีเหลืองคือยาอะไร

หมวด 4 เรื่องการกินยา

 3 หมวดแรก ตอบไม่ยากค่ะ

วันนี้ เราจะเน้นกันที่ หมวด4 เรื่องการกินยา ซึ่งเป็นข้อคำถามฮิตในทุกค่ายวัยรุ่นที่ผ่านมา

เด็ก ๆ ถามว่า

ทำไมต้องกินตรงเวลา ทำไมต้อง 12 ชั่วโมงเป๊ะ

 ถ้ากินเลยเวลาจะเป็นอย่างไร                      กินวันละครั้งได้ไหม

ป้าหมอเคยตอบเด็ก ๆ อธิบายหลายๆวิธี  เอารูปยาให้ดุ  วาด ระดับยาในเลือดให้ดู ทีมงานทบทวนเรื่องกลไก ยาต้าน ให้เด็กๆ ฟังฯลฯ

แต่ก็ เหมือนไม่สามารถ อธิบายเข้าใจจนให้กระจ่างได้

พึ่งมาพบ วิธีการ

ที่ใช้อธิบายให้ผู้ปกครองและเด็กเข้าใจได้ง่าย ทั้งเรื่องเชื้อโรค ภูมิคุ้มกัน และความจำเป็นของการกินยาตรงเวลา

ก็เลยเอามาบันทึก เผื่อใครจะเอาไปใช้ต่อ ดังนี้ค่ะ

 เริ่มด้วยคำถาม

ถามจุดประกายก่อน ว่า

รู้ไหม ก่อนรักษา ก่อนกินยา

จำนวน ทหาร CD 4 ที่ใช้สู้เชื้อโรค ของเด็กๆแต่ละคนมีเท่าไร

แล้วหลังกินล่ะมีเท่าไหร่

เด็กๆประมาณครึ่งหนึ่งจะรู้ จำนวนทหารภูมิต้านทาน CD4 ของตนเอง

ทำไมทหารเราเพิ่มขึ้นล่ะ

ให้ตอบสัก สองสามคน

แล้ววาดรูป ไวรัส ตัวใหญ่ ทหารตัวเล็กกว่า  บอกว่า

ปกติ ทหาร CD4 ที่หนูมีอยู่เนี่ย สู้กับไวรัส ชนิดตัวต่อตัว มวยปล้ำกันนั้น ทหารเราสู้ไม่ได้ ไวรัสจะชนะ

ทหารภูมิต้านทานของเราสู้ไม่ได้ก็ ตาย 

พอทหารมีน้อย  ตัวเรา เด็กๆ เจอเชื้อโรคอื่นๆ ก็ ป่วยบ่อยๆ ใช่ไหมคะ

 (ตอบค่ะ ครับ กันเซ็งแซ่เลย)

พอเรากินยาต้าน ยานี้ เสมือนเป็น อาวุธ และอาหารให้ทหารเรา (วาดปืน ลูกกระสุน มีด ที่มือตัวทหาร

พอมีอาวุธ สู้ ใครชนะคะ?

(ตอบ ทหาร ๆๆๆๆๆ เย้)

พอมีอาหาร ทหารเราเป็นไง

(ตอบดังเลยค่ะ ว่า แข็งแรง มีกำลัง)

มีกำลัง ก็ เติบโต เพิ่มจำนวนทหารขึ้นเรื่อยๆ

เชื้อโรคเป็นไง

(งงๆ แต่ก็บอกว่าตาย)

ป้าหมอตอบช่วยว่า เหลือนิ้ดดดดดด เดียว 

ขังไว้ ควบคุมไว้ได้ใช่ไหม 

 (ช่าย ดังเลย)

ถึงเวลา 12 ชั่วโมง อาหารที่เราให้ทหารก็หมด อาวุธ ที่ให้ หมด ทหารเริ่มหมดแรงป้อแป้

เชื้อโรคที่เคยคุมไว้ได้ เป็นไง

(ตอบหลากหลายค่ะ ว่า เชื้อโรคเพิ่ม มันมาสู้ทหาร เชื้อโรคหนี เชื้อโรคชนะ)

พวกเราจะรอ ทหารเราตาย อดอาหารไม่มีกำลัง ไม่มีอาวุธ เลยไหม

  (มอง นิ่งที่ป้าหมอตาแป๋ว บางคนส่ายหน้า)

หรือเราจะให้ทันทีที่อาหารอาวุธของทหารเราหมด

(พยักหน้ากันหงึกหงัก พร้อมเชียร์ว่า ให้ เลย! ให้เลย !)

จะให้ทหารเรารอ นั่งภาวนาอยู่ข้างในไหม

เมื่อไรเจ้านาย จะเอาอาวุธ และอาหารให้เราสักที  

พวกเรา เริ่มหิว หมดแรง อาวุธ ก็หมดแล้ว เราสู้เชื้อโรคไม่ไหวแล้ว  เจ้านายมัวทำอะไรอยู่

เร็วๆเร้ว เดี๋ยวเราจะสู้มันไม่ไหวแล้ว

(หัวเราะ กัน ตาเป็นประกายเลยค่ะ)

เพราะฉะนั้น ตอนนี้ ทหารหนู เริ่มมีเยอะขึ้นเรื่อยๆ

หนูให้ อาวุธ ให้อาหาร แก่กองทหารของหนูได้ไหม

(ได้ ค่ะ ได้ครับ กัน พร้อมยิ้มอย่างมีความสุข)

แถมเล่าต่อด้วย   ว่า

ป้าหมอมีเด็กๆ เป็นโรคประจำตัวที่มาโรงพยาบาลหลายแบบ

เป็นเบาหวานต้องเจาะเลือดตรวจบ่อยๆ ต้องฉีดยาทุกวัน 2 ครั้ง เช้า ก่อนนอน

เป็นโรคเลือด ธาลาสซีเมีย  ต้องเติมเลือดทุกเดือน ต้องฉีดยาขับเหล็กกลางคืน 6ชั่วโมง นอนไปพร้อมกับเข็มและกระบอกฉีดยาทุกวัน

ป้าหมอ เพิ่งเจอคนหนึ่ง อายุ 20 กว่า กำลังจะจบมหาวิทยาลัย คะแนนดีมาก คาดว่าจะได้เกียรนิยม พี่เขากลางคืนก็ เสียบเข็ม เดินยาไว้ที่ท้องแขน  เช้ามาก็ ถอดเข็มไปมหาวิทยาลัย ไปเรียน

เพราะฉะนั้น หนูๆ เมื่อก่อนเคยป่วย แต่

ตอนนี้ ทุกคน แข็งแรง เพียงแต่มีโรคประจำตัว

ผู้ปกครอง  พี่ๆที่มาช่วยทำค่าย ป้าๆ แม่ๆ และป้าหมอ อยากให้เด็กทุกคนมีชีวิตปกติ ทำอะไรก็ ได้ เรียน อะไรก็ ได้

แต่จัดการกับโรคประจำตัว ของใครของมัน

ต้องฉีดยา ก็ ฉีด เติมเลือด เจาะเลือด ก็ ทำ

ถึงเวลากินยา ก็ กินยา  

แต่มีชีวิต ปกติ

ไปโรงเรียน ไปทำงาน เติบโตเป็นคนดี มีอาชีพ การงานที่ตนชอบ

ได้ไหมคะ

(ด้ายยยย  เต็มอกเต็มใจ ดังลั่นเลยค่ะ)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 138351เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ดีมากเลยค่ะ

อ่านแล้วภาพทหาร - อาวุธและเชื้อโรค

ป้าบิ๋นห์อยากฝากบอกต่อกับเด็ก ๆ ด้วยว่า เราคงเลือกไม่ได้ว่าเราจะมีโรคประจำตัวอะไร แต่เราเลือกได้ว่าเราจะจัดการกับมันอย่างไร  จริงไหมคะ

 

ขอบคุณ ค่ะ ป้าบิ๋นห์ ธนันดา

เด็ก ๆ จะ ได้พลังแห่งความรัก ความปรารถนาดีของป้าบิ๋นห์ ในค่ายหน้าค่ะ

ป้าหมอหน่อย จะนำเอาความรัก ความปรารถนาดี นี้ ไปเล่าให้เด็กๆ ฟังในครั้งหน้าด้วย 

รู้สึกดีค่ะ ที่จะได้บอกเด็กๆ ว่า

เราคงเลือกไม่ได้ว่าเราจะมีโรคประจำตัวอะไร

แต่เราเลือกได้ว่าเราจะจัดการกับมันอย่างไร

อ ภพ โกศลารักษ์ จากขอนแก่น เมนท์ มาว่า

ขอบคุณครับอาจารย์
แล้วผมจะขอยืมไปอธิบายเด็กๆที่ขอนแก่นบ้างนะครับ

ภพ

อยากบอกว่า ขอบคุณมากๆ และยินดี  เป็น อย่างยิ่งค่ะ

ถ้า อาจารย์ จะยืม( และ ไม่ต้องคืน )นะคะ

  • อ่านเรื่องนี้ของคุณป้าหมอของเด็กแล้วชื่นใจแทนเด็กๆคับเป็นเรื่องเล่าเชิงเปรียบเทียบง่ายๆที่เด็กฟังแล้วเข้าใจทำไมต้องกินยา
  • จากที่เคยเป็นแกนนำกลุ่มมา..พบว่าเรื่องการพูดคุยกับผู้ดูแลเด็กเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน การสร้างความมั่นใจให้ผู้ดูแลว่าเด็กก็โตได้ เป็นอะไรก้ได้ที่เขาอยากเป็น  หมอ ครู ฯลฯ
  • โรงพยาบาลที่รักษา ดูแลเด็กนอกพื้นที่เปอร์เซ็นดื้อยาของเด็กจะสูง อย่างเช่น โรงพยาบาลของ มข 90ปอร์เซ็นเด็กที่มารับยาที่นี่ดื้อยาเพราะเด็กมาจากหลายจังหวัดหลายพื้นที่
  • เรื่องการติดตาม เรื่องข้อมูลของทั้งเด็กและผู้ดูแลสำคัญไม่ต่างกัน
  • ในการรักษาเด็กในโรงพยาบาลชุมชน เรื่องหมอเด็กผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ การรักษาไม่แตกต่างกับผู้ใญ่ แต่ความละเอียดอ่นที่จะต้องคิดถึงมากกว่า ที่ปรึกษาคุณหมอสำคัญ(คิดว่าคุณป้าหมอแบบคุณหมอในประเทศไทยคงมีมากเหมือนกัน)แต่ที่สำผัสได้คือหมอรงพยาบาลชุมชนเองไม่อยากขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญซะมากกว่า
  • การส่งกลับพื้นที่การส่งต่อ เพื่อง่ายแก่การติดตามการดูแลรักษาน่าจะทำให้เด็กดื้อยาได้น้อยลง เหลือเรื่อเดียวที่ยังติดขัดคับ ทำอย่างไรให้หมอโรงพยาบาล ศูนย์กับหมอโรงพยาบาลชุมชนคุยกันได้น่าจะเป็นประโยชน์กับเด็กสูงสุด (บางที่อะคับที่เห็น)ส่วนเรื่องสังคมชุมชนคิดว่ากลุ่มในพื้นที่ช่วยได้มาก

เหตุผล

เพราะว่าเด็กอยุ๋นพื้นที่รักษาที่โรงพยาบาลในชุมชนเหมือนกับกับเป้นสมาชิกของกลุ่มฯ

แต่ถ้าไปรักษาที่อื่นดุเหมือนเพื่อนๆแกนนำจะไม่ค่อยติดตามเท่าที่ควรหรือไม่ติดตามเลย  อาจจะด้วยเรื่องไม่รู้ว่ากินยาอะไร มีปัญหาอะไร การส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลกับแกนนำไม่มี

ดีใจมากๆคับที่คุณหมอให้เกียจมาแสดงความคิดเห้นในบล๊อกของผม  มีกำลังใจมากคับ

สวัสดีครับพี่

ชัดเจนมากเลยครับ ช่วงนี้มีโอกาสเข้า g2k ไม่บ่อย งานยุ่งมากเลยครับ  เลยมาเยี่ยมครับ   ขอเอาไปใช้ด้วยคน  ไม่ยืมนะครับ ขอเอาไปเลย

ยังได้ใช้ประโยชน์ จากหนังสือที่พี่ส่งมาให้นะครับช่วงนี้ติดกระเป๋าตลอด กำลังทำกับกลุ่มผู้ใหญ่ ในระดับชุมชน   แล้วก็ติดตามเด็ก 2-3 รายในชุมชนด้วย ว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง

ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำนี้จะนำไปใช้กับเด็กๆที่กำลังจะกลับมาที่ธาตุพนมจะเก็บไปสอนเด็กๆที่ธาตุพนมต่อไปครับ

เรียน อ ณัฐพล

ยินดีมากค่ะ

ดีใจแทนเด็กๆที่กำลังจะกลับมาที่ธาตุพนมด้วย

 

นอกจากให้คำชม อาจารย์หมอจิ้น ยังเปิดโลกใหม่ ให้ด้วย

ขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท