โลกร้อน...ผลกระทบ...ต่อแมลงศัตรูพืช


โลกร้อน...ผลกระทบ...ต่อแมลงศัตรูพืช

โลกร้อน...ผลกระทบ...ต่อแมลงศัตรูพืช  จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  พบว่า การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือลดลง มีผลต่อการอยู่รอดและการขยายพันธ์ของแมลงศัตรูพืช  ปัจจัยที่ส่งเสริมให้แมลงศัตรูผลิตผลเกษตร  มีการระบาดตลอดปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเหมาะสม  ความร้อนชื้น จะทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงขึ้น เช่น              

  1. แมลงศัตรูข้าว  เช่น เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว  และ บั่ว  ระบาดมากที่สุดเมื่ออุหภูมิ 32 องศาเซลเซียส  และพบว่าแมลงจะลดน้อยลงเมื่ออุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส         

 2. ตั๊กแตน  จะเคลื่อนไหวช้าลง หรือแข็งตัวบินไม่ได้ เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียส (ช่วงเดือน ธันวาคม กุมภาพันธ์)               

3. เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง   เมื่ออุณหภูมิอยู่ที่ 20 องศาเซลเซียส จะผลิตลูกได้ปานกลาง มีการรอดตายนาน (38 วัน) การเจริญเติบโตปานกลาง  เมื่ออุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส จะผลิตลูกได้สูงสุดการรอดตายปานกลาง (22 วัน) การเจริญเติบโตดีที่สุด  เมื่ออุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จะผลิตลูกได้น้อย  การรอดตายลดลง (22 วัน) การเจริญเติบโตลดลง   และเมื่ออุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ไม่สามารถให้ลูกได้เลย  การรอดตายน้อยที่สุด (11 วัน) ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เลย               

 4. แมลงหวี่  เจริบเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส  และถ้าอุณหภูมิ  30 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน  แมลงหวี่จะเป็นหมัน หรือตายหมด               

5. ยุงลาย  สภาพสภาวะอากาศแห้งแล้งมีผลต่อการเพิ่มจำนวน ยุงลาย และ ยุงลายจะจำศีลในช่วงฤดูหนาว สามารถแพร่พันธุ์ได้ในสภาพอากาศของฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย

สรุป    ปัจจัยทางภูมิอากาศมีอิทธิพลโดยตรงต่อแมลงที่เป็นพาหะนำโรคคืออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น จะเป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ  และผลตามมา  แมลงพาหะต้องการอาหารเพื่อบำรุงมากขึ้น  ต้องการเลือดมากขึ้น วางไข่เพิ่มสูงขึ้นด้วย อุณหภูมิที่ต่ำสุด สูงสุด จะเป็นตัวกำจัดการกระจายตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์  แมลงจะอยู่ภายใต้อุณหภูมิที่พอเหมาะเท่านั้น  อุณหภูมิที่ต่ำสุดที่เปลี่ยนแปลงไป จะมีผลอย่างมากต่อการอยู่รอดของแมลงพาหะ (ยุงลาย) ในฤดูหนาวที่ร้อนขึ้น จะทำให้ยุงลายและแมลงสาป และปลวก เพิ่มปริมาณและขยายพันธุ์สูงมากขึ้นด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภาวะอากาศของผิวโลกที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศ  ผลผลิตทางการเกษตร  การเป็นอยู่ของสัตว์ป่า และต่อแมลงศัตรูพืช  สุดท้ายก็หนีไม่พ้น  ย่อมมีผลต่อมนุษย์ที่เหลียกเลี่ยงไม่ได้เรามาช่วยกันหยุดการกระทำให้เกิดภาวะโลกร้อนตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป                                                           

 สะแกกรัง

12  ตุลาคม  2550

หมายเลขบันทึก: 137425เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2007 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สุวิทย์ มะโนจิตต์

ขอบคุณกับความรู้และสาระครับผมและผมจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดโลกร้อนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท