การพัฒนาการจัดการความรู้


การจัดการความรู้ในแต่ละองค์กร มีทั้งได้ปลาทูเป็นเข่ง (มีหัวปลาใหญ่ หัวปลาเล็ก) และหลายองค์กร ได้ปรับเป็น รูปแบบของตัวเอง และบางแห่งทำปลาทูหายทั้งเข่ง

      การเดินทางเพื่อการเรียนรู้  เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับมอบหมายในการเข้าประชุมปฏิบัติการ เรื่อง  การพัฒนาการจัดการความรู้ (KM cognitive  coaching)  โดยมาในนามของ  ทีมแกนนำนักจัดการความรู้ระดับสถานศึกษา  ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)    สำนักงานกองทุน     สนับสนุนการวิจัย  (สกว.)  และสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้     เพื่อสังคม (สคส.)   

      ในการจัดคณะวิจัยได้แบ่งจัดเป็นภาค  ตามภูมิภาค  ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งที่  2  ของโครงการนี้  ที่โรงแรม         บ้านเชียง  จังหวัดอุดรธานี   ระหว่างวันที่  7 - 9  ตุลาคม  2550 
ซึ่งที่โรงแรมแห่งนี้มีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย (ข่าวดี  มีระบบไร้สาย       ข่าวร้าย  ซื้อการ์ดชั่วโมงละ  50  บาท)


           รูปแบบในการประชุมในวันนี้  เป็นการซ่อมเสริมในกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาแล้ว  1  ปี  4  เดือน   ว่ามีการขาดตกบกพร่องตรงไหน   มีปัญาหาอุปสรรคอะไร 
           จากเรื่องเล่าในการเข้ากลุ่มย่อย  แล้วนำเสนอในภาพรวม      ทำให้มองเห็นภาพ  การจัดการความรู้ในแต่ละองค์กร  มีทั้งได้ปลาทูเป็นเข่ง (มีหัวปลาใหญ่  หัวปลาเล็ก)  และหลายองค์กร  ได้ปรับเป็น  รูปแบบของตัวเอง  และบางแห่งทำปลาทูหายทั้งเข่ง 
แต่สุดท้าย  ทุกแห่งก็สัมฤทธิ์ผล


          ช่วงบ่ายคล้อย  คณะวิทยากรได้เติมเต็ม  ในส่วนที่องค์กรต่าง ๆ ทำหล่นทำหาย ทำข้าม  เช่น  การทบทวนกระบวนการทั้งหมด         การตอบปัญหาในการจัดกิจกรรม  การเรียนรู้ Blog  โดยให้สมาชิกเลือกกลุ่ม ลปรร  ตามความสนใจ ส่งผลให้ทุกคนมั่นใจ  ในแนวทาง  ในการจัดกิจกรรม


         ท้ายสุดช่วงค่ำ  (ค่ำจนมืด)  มีการให้สมาชิกคัดเลือกกิจกรรม     ที่อยากศึกษาเรียนรู้   ซึ่งคัดเลือกจาก Best  Practice  ของแต่ละโรงเรียน  ซึ่ง 1  ใน  6  คือ  วิถีการเรียนรู้ ที่เข้มแข็งในสถานศึกษาและชุมชน  ของโรงเรียนบ้านเม็กดำ  ได้รับการรับรองจากที่ประชุม


        กิจกรรมในวันพรุ่งนี้  ท่านวิทยากรบอกว่า  เป็นเครื่องมือตัวใหม่  ที่จะเป็นตัวเลือก  เป็นของเล่นใหม่  โดยจะใช้ Best  Practice  ที่ได้คัดเลือกไว้แล้ว  เป็นกรณีศึกษา


        ท่านวิทยากรบอกว่า  พรุ่งนี้เตรียมขึ้นเขียง   แต่ถึงอย่างไร      ท่านรองบอกว่า  ทำมากับมือ  เราจะกลัวไปไย......
       

 

หมายเลขบันทึก: 136018เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท