รู้แต่อย่ารู้อะไร บันทึกกันลืมจากการอบรมครู


เป็นบันทึกที่ไม่ได้ขัดเกลา รีบบันทึกไว้กันลืม จากการอบรมครูวันนี้

15.09 น.

ครูก้าชวนเล่นเกมแตะจมูก  แยกมือ  ระหว่างรอทุกคนเข้ามาในห้องประชุม 

เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้ว  ก็เข้าสู่กิจกรรมช่วงสุดท้าย

เหล่น  - เล่าเรื่องหมู่บ้านพลัมสั้นๆ และเล่าช่วงท้ายว่ามีเสียงระฆังเตือนให้ทุกคนเรียกสติมาอยู่กับตัวไม่ว่าจะทำอะไรอยู่

ปาด -  ตั้งแต่เช้า   เรารู้จักโหมดของความเป็นปิติ  ชื่นบาน  ความสนุก  ความชื่นบาน  ความอิ่มใจ  ความเพลิดเพลิน ความสนุก 

สิ่งเหล่านี้ต้องไม่มากไป  ต้องอยู่ในความพอดี 

ผมจะแนะนำอีกโหมด จะว่าง่ายก็ง่าย  จะว่ายากก็ยาก ง่ายเพราะไม่ต้องสร้างขึ้น  ยากเพราะเราไม่คุ้น

โหมดนี้เหมือนเราไปดูหนัง  แต่เราไม่เห็นจอ  โหมดต่างๆ เป็นสิ่งที่สร้างบนผิวจอ  บางคนเรียกว่าจอใจ  บางคนพูดว่าถ้าหมดชีวิตนี้ไปแล้วมันจะหมดไปกับตัวเราหรือเปล่า 

พระผู้เฒ่าที่ล่วงลับไป  หลวงพ่อเทียนพูดถึงสิ่งนี้  ผมจะไม่เน้นที่การเคลื่อนไหว  หลวงพ่อบอกว่า รู้แต่อย่ารู้อะไร  จะเป็นผู้ที่ฝึกตนได้  เป็นโหมดที่ทำให้ชีวิตรู้ว่าอะไรควร  ไม่ควร  เรื่องง่ายๆ เพราะเราเป็นอยู่แล้ว 

ลองทำอะไรง่ายๆ สักอย่าง  เอามือมาไว้ที่หู  ดีด  ลูบแขน (ลงอย่างเดียว)  ตบตามแขน เบาๆ  พอประพิมพ์ประพายความรู้ที่ไม่รู้อะไรเลยไหม  จับให้ได้  แล้วอยู่กับมัน 

การรู้แต่ไม่รู้อะไร  คือ  การเผชิญกับอาการภายในตนเอง  มีหลายอย่าง เช่น ความง่วง  ความอึดอัด กระสับกระส่าย  ความเพลิดเพลินในสิ่งที่เราชอบ  ความอึดอัดกับสิ่งที่ไม่ชอบ

แม้แต่สิ่งที่เราให้คุณค่าคือ ความอยากรู้อยากเห็น (ที่ครูอยากให้เด็กๆมี)  แม้แต่ความสนใจใฝ่รู้  ทั้งหมดนี้ สิ่งที่ท่านแนะนำ คือ ไม่คล้อยตาม  ไม่แทรกแซง  ไม่ต่อต้าน  ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น  อย่าไปเสริมต่อ  อย่าไปวิจารณ์  อย่าไปต่อต้าน 

มันจะมาแล้วไปเหมือนเมฆบนฟ้า  มันจะสั้นไปเรื่อยๆ  อาการรู้แต่ไม่รู้อะไรเริ่มชัดขึ้น  เหมือนภาพบนจอเริ่มแหว่ง  เราจะเริ่มเห็นตัวจอ  จนดูหนังไม่รู้เรื่อง 

เริ่มจากการนั่งหายใจลึกๆ สองสามครั้งจะรู้สึกตื่น  สดๆ จับให้อยู่  เป็นวิธีปลุกตื่น  ถ้าทำนานก็จะคล้อยตามลมหายใจ  จะโยคะ  จะบิดขี้เกียจก็ได้  อย่าทำนาน  ไม่งั้นจะคล้อยตาม  ให้ทำเพื่อปลุกให้ตื่น  ถอนตัวออกจากการเข้าร่วมในอาการนั้น ถ้าสังเกตทัน 

ใช้การเคลื่อนไหวแบบพลิกมือ เวลาพลิกมือจะรู้สึกว่าของที่เคยหมกอยู่ถูกทำให้หายไป  สิ่งที่จะเข้ามาหาเรามีหลายอย่างแล้วแต่บุคคล  ใครคุ้นชินอะไรก็เจอกับไอ้นั่น  อย่าไปยุ่งกับมัน  ไม่คล้อยตาม  ไม่แทรกแซง  ไม่ต่อต้าน  ในกรณีที่เรารู้สึกว่าเราคล้อยตาม  ให้ปลุกตื่น  ง่ายๆ  หายใจลึกๆ   ลูบหน้า  ตัว  หรือจะลุกเดิน  แต่อย่านาน  วกตัวเดินกลับตัวข้างไหนก็กลับข้างนั้น  ถ้าข้างในฟุ้งซ่านก็เดินเร็ว  ถ้าสงบเดินช้าไปจะหลุดอยู่กับการรู้ตัวอยู่กับความสงบ 

ทำอย่างไรก็ได้ประมาณครึ่งชั่วโมงต่อไปนี้  ลองมีประสบการณ์กับการเผชิญอาการภายในตนเอง 

ให้ใช้ปัญญาของตัวเองหาให้เจอ  จะอยู่กับมันไม่นาน  เพราะเราไม่คุ้น 

ผมจะไม่แนะอะไร  ให้ลองทำ  ถ้าหลุดเข้าไปให้ทิ้งเลย  อย่าไปวอแวกับมัน  ใช้ความสามารถของตนเอง  ถ้าใครยังนึกอะไรไม่ออก  คือให้ลูปเนื้อตัว  ทำเพียงให้มันตื่น  เหมือนเขี่ยขี้เถ้าออกจากกองไฟ  หรือแสงธูปเวลาถูกแกว่ง  อย่าติดที่การเคลื่อนไหวหรือการนั่งนิ่ง  หัวใจคือการปลุกตื่น  หาให้เจอ  ถ้าได้ยินระฆังเมื่อไรให้เราปลุกตื่นจากการเข้าไปยุ่งกับอาการภายใน

(ขณะนี้เวลา ๑๕.๒๘ น.)

ป้อม ขอออกไปเดิน หรือหาที่สงบนอกห้องประชุมนี้ได้ไหม

ปาด - ระวังการรับรู้ผ่านอายตนะจะดึงให้เราไปรู้กับอาการของเราทันที  ถ้าออกไปนอกห้องจะเพลิดเพลินกับธรรมชาติ  กับความเพลิดเพลิน 

ส้ม - ให้ทำสติปัฏฐานสี่เหรอ

ปาด - ที่ให้ทำวันนี้ไม่ใช่สติปัฏฐานสี่  อันนั้นยังมีรู้กาย  รู้ความรู้สึก  แต่เป็นการทำให้สิ่งที่เคยอยู่กับเราจะมีบทบาทกับเราสั้นลงๆ  ชีวิตจะง่ายขึ้น 

เริ่ม ๑๕.๓๓ น. (นาฬิกาเครื่องคอมฯ ของส้ม) 

บันทึกส่วนตัว  :  บรรยากาศในที่ประชุมหลายคนขยับแขน  หลายคนนั่งเฉยๆ  แหม็กลุกเดินช้าๆ  ไม่แน่ใจว่าจะมีคนเข้าใจในสิ่งที่ครูปาดบอกมากน้อยแค่ไหน  ให้อยู่ไม่นาน  อะไรไม่นาน  การรู้แต่ไม่รู้ให้นานได้  อย่างอื่นนานไม่ได้  หรืออะไร 

เหล่นเคาะระฆังอีกแล้ว  ดูเหมือนจะเคาะทุกสองนาที  เป็นการปลุกตื่นชนิดหนึ่งกระมัง  โอ่งก็ลุกเดิน  ส้มอยากนอนแล้วเพราะง่วงมาก  หลายคนเริ่มเอนตัว  หลับตา  ครูใหม่นอนลืมตา  

นึกไม่ออกว่าจะทำอะไร  รู้แต่ตอนนี้ง่วง  นอนดีกว่า  มีเวลาตั้งเกือบครึ่งชั่วโมง  เอนตัวหลับตาไปเท่าระฆังของเหล่น ๒-๓ ครั้ง ครูปาดก็ทำลายความเงียบด้วยการพูดขึ้นมาว่าอาการภายในมีหลายแบบ ความเพลิดเพลิน  ความกังวล  ความง่วง 

ถ้าเราไม่ยุ่งกับมันเดี๋ยวมันก็ไป  มันปนๆ กันไปอยู่อย่างนี้  เรื่องต่างๆ วนเวียนอยู่ ๕ เรื่อง  โบราณท่านว่าอย่างนั้น 

ตอนนี้เราก็เลยเข้าใจแล้วว่าครูปาดจะพูดถึงอะไร  อ๋อ...งั้นโอเคได้เลย 

ทีนี้ก็เลยหายง่วงขึ้นมาซะเฉยๆ  รู้สึกตำหนิครูปาดนิดๆ ว่าทำไมไม่พูดถึง นิวรณ์ ซะตั้งแต่แรก 

ทีนี้เลยสนุก  ก็ตามดูความดีใจที่เข้าใจ  ดูว่ากำลังต่อว่าครูปาดอยู่ในใจที่ว่าไม่พูดคำว่านิวรณ์  ถึงแม้ครูปาดจะไม่พูดบาลี  หรือศัพท์ยากๆ  แต่ถ้อยคำธรรมดาที่พูดมาทั้งหมดก็ฟังไม่เข้าใจอยู่ดี  ก็เฝ้าดูอาการของตัวเองไป  ซึ่งก็ไม่ได้ทำตามที่ครูปาดว่าอยู่ดี  เพราะคิดว่าเดี๋ยวก่อนขอคิดให้จบก่อน

ครูปาดพูดเสริมขึ้นมาอีกว่า  ให้รู้สึกเหมือนเวลาโดนเพื่อนโป้งแปะ  คือแบบนั้นเป็นการรู้ตัวแบบตกใจ  เพราะมันรู้ตัวเร็วเกินไป  เหมือนที่เหล่นเคาะระฆัง  ก็ตกใจเหมือนกัน  ครูปาดให้ตื่นเฉยๆ  นั่งโง่ๆ อยู่อย่างนั้น 

ถ้าใครสู้ไม่ไหว  ถูกความคิด  อารมณ์ดูดเข้าไป  มึน งง ง่วง อึดอัด  ให้สูดหายใจลึกๆ  วิธีที่ลูกศิษย์หลวงพ่อเทียนใช้คือการยกมือ  เดี๋ยวผมจะทำให้ดู  จะไม่อธิบาย  ถ้าใครอยากทำก็ทำตาม 

ลองทำตามดูสามสี่รอบการเคลื่อนไหว  ก็รู้สึกดี  เป็นการเคลื่อนไหวที่มีความเร็วดี  ไม่ช้า  ทำให้ไม่ง่วง  ไม่ไปไหน ก็อยู่กับความเพลิดเพลินกับการเคลื่อนไหว  อ้าว....  สิ่งที่ดูดเราไว้คือความคุ้นชินที่อยู่กับเรามาหลายสิบปี 

งั้นไม่ต้องทำอะไร ไม่นึกถึงเรื่องอะไรแล้ว  เหมือนตอนจะบอกตัวเองว่านอนดีกว่า  เพียงแต่คราวนี้ไม่นอน  เพราะต่างกันตรงที่เวลาจะนอนมันมาจดจ่ออยู่กับความง่วง  โดยมีเป้าหมายคือการหลับ  แต่ตอนนี้ไม่ง่วง  และไม่มีเป้าหมาย  ดูแต่หน้าจอคอมฯ แต่เหมือนมองไม่เห็น  ไม่ได้ตีความอะไร 

แต่พอเมื่อยเลยลุกขึ้นยืน  ทำไห้ต้องมองออกไปนอกห้อง  ก็มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาทันที  เยอะแยะ  หลายๆ อย่างพร้อมกัน โห  แดดสวย  วิวสวย  น่าเอากล้องมา  เสียดาย   หันกลับมาที่ห้องตอนนี้กลายเป็นเห็นแต่ครูคนอื่นๆ  เห็นเต่านอนอยู่อดคิดไม่ได้ว่าเสื้อสีสวย เลยกลับมานั่งพิมพ์ต่อ  เพื่อบันทึกแล้วหยุดการดูเหมือนไม่ดูเพียงแค่นี้ 

๑๖.๐๐ น.

ครูปาดก็เรียกให้กลับมานั่งปกติ  แล้วถามว่าใครรู้สึกอะไร  อยากเล่าอะไร  ส้มก็เลยเล่าให้ฟังว่าเมื่อกี้เป็นอย่างไร  ครูปาดบอกว่าเป็นปัญญาแบบหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติแบบนี้จะเจอ

พี่นัท  ได้สิ่งเหล่านี้จากวัดสนามใน  วันแรกๆ ยังมีนิวรณ์  ยังกังวลกับเด็กๆ  ประมาณวันที่สามก็รู้สึกหลุดจากทุกอย่างได้  ก็รู้สึกโล่งๆ  เวลาทำแบบนี้ก็ง่ายขึ้น  เมื่อกลับมาเวลาเจอสถานการณ์ต่างๆ ก็รู้สึกว่าเรานิ่งขึ้น

เหล่น  เป็นคนร่วมวางแผน  เลยอดสังเกตคนร่วมวง  อดที่จะสังเกตไม่ได้ว่าใครเป็นอย่างไร  ในที่สุดก็วางเรื่องของคนอื่น มาอยู่กับตัวเอง  เดินไป  หลุดบ้าง  อยู่กับตัวเองบ้าง

ส้มเพิ่งรู้ว่าที่จริงกิจกรรมนี้ครูปาดเป็นคนเคาะระฆัง  ตอนแรกนึกว่าเหล่น

ครูปาดให้ครูอัญเล่า  ครูอัญเล่าว่าตอนแรกก็ดูคนนู้นคนนี้  พอง่วงก็ตบๆ ตัวเอง  ก็ตื่นขึ้นมา  พอเกาๆ อะไรก็รู้สึกขนลุก  ก็มาทุบไหล่ แล้วมาลองเกาๆ ก็หายขนลุกแล้ว  ครูปาดสังเกตเห็นครูอัญทำท่าบางอย่าง  เหมือนให้ตื่น  ครูอัญบอกว่าก็ทำหลายท่าในที่สุดก็ไม่ง่วง  ไม่เครียด  เฉยๆ

โอ่ง  เดินเพราะง่วง  คิดตลอดว่าเดี๋ยวจะทำนู่นทำนี่  ไม่เคยทำแบบนี้  ต้องคอยตัดนู่นตัดนี่ออกไป

ครูปาด - เราไม่อยู่กับอะไรกลายเป็นงานเยอะ  ต้องดีดอะไรออกไป  ถ้าเรากำหนดรู้เราจะอยู่กับสิ่งเดียวเท่านั้นแบบนั้นเรียกได้ว่างานน้อย  นี่เราจะพบว่าเรามีอะไรทำตลอดเวลา  อยู่เฉยไม่ได้  ต้องคอยดีดออกไป 

สิ่งที่ได้คือความฉลาด  ได้ขันติ  ความเข้มแข็งหนักแน่น  ไม่หลีก  ไม่หนี  ชีวิตมีหลักฐาน  ไม่ไหลไปไหน  เราต้องขยัน  เผลอไม่ได้  ผมเห็นว่าครูอัญพยายามสู้กับตัวเองจนจับสมดุลได้  เราต้องมีอิทธิบาท 

ถ้าครูอัญทำต่อไปอีกสองวัน  จะอยู่ตัวเป็นสมาธิที่ต่างจากการกำหนด  เพราะไม่ได้สร้างขึ้นจากการกำหนด  แต่ถ้าเราจับความราบเรียบของผิวจอได้  เหมือนหนังผีที่ฉายบนหน้าจอ แต่เราไม่เห็นหนัง  เราเห็นแต่จอ  เป็นสมาธิที่ไม่ได้สร้างขึ้น  แต่อยู่ได้ในชีวิตประจำวัน  ให้ครูใหม่เล่าให้ฟังบ้างดีกว่า

ใหม่  - เคยเล่าบ้างแล้วที่วัดสนามใน  ตอนแรกไปปฏิบัติเป็นเพื่อนครูปาด  เขายกมือก็ยกมือตาม   จนจับความต่อเนื่องได้  คลื่นความสั่นหายไปก็เกิดความชัด  รับความสงบภายในของเราได้  ความทรงจำที่มีหายไปหมด   ทุกอย่างมันเงียบไปหมด  มันไม่ตีความ  มันว่างและโล่งดี 

พอเราทำหลายวัน  เราได้ยินอะไรจากกายเรา  เข้าใจว่ามนุษย์คือตัวรับสัมผัส  ที่รับได้มากสุดก็คือผิวหนัง  ทำบ่อยๆ เลยเหมือนมีไส้ตะเกียงอยู่ในตัวเรา  เมื่อเราอยากพบ ก็ไขให้มันสว่างขึ้น  ใช้ตัวเราเป็นตัวรับสัมผัส 

เมื่อกี้รับความสั่นของพื้นที่ครูเหล่นเดินมาเป็นตัวรับรู้  อาจารย์โกวิทสอนว่าทำท่าไหนก็ได้  ถ้าเราชินกับการมีสมาธิอยู่ในใจเราทำอย่างไร เมื่อไรก็ได้  เอาจุดอ่อนมาเป็นตัวเรียนรู้

ปาด  -โหมดเรียนรู้วันนี้เอาไปให้เด็กเรียนคงไม่ง่าย  แต่จะทำให้ครูมีขันติ และอิทธิบาท  บารมีนี้จะไปถึงเด็กเองครูจันทร์  ถึงข้างนอกไม่นิ่ง  ข้างในก็นิ่งได้

บที่ ๑๖.๒๒ น.

หมายเลขบันทึก: 136016เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท