การคิดแบบแก้ปัญหา


กระบวนการคิดแก้ปัญหา

กิจกรรมการนิเทศแบบแลกเปลี่ยนความรู้ (KM)การคิดวิเคราะห์แบบแก้ปัญหา

โดยคณะครูช่วงชั้นที่ ๒ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๕

  กลยุทธ์การสอนคิด ๑.     การศึกษาทำความเข้าใจ
      ๑)  การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี
                  (๑)  ความหมายของการคิดแก้ปัญหา
                  (๒) คุณสมบัติของนักคิดแก้ปัญหา
                  (๓) ลักษณะของผู้สอนที่ดีในการสอนแก้ปัญหา
                  (๔) บทบาทของผู้สอนในการส่งเสริมการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหา
                  (๕) การจัดการเรียนรู้กับการแก้ปัญหา
                  (๖) ลักษณะของกระบวนการคิดแก้ปัญหา
      ๒)  การศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้
      ๓)  การศึกษาแนวทางการจัดทำแบบฝึก

๒.     การวางแผนการจัดการเรียนรู้
      ๑)  ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในรายสาระ         การเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
      ๒)  กำหนดสาระการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้
      ๓)  วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดประสงค์
การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ / หน่วยการเรียนรู้
      ๔)  จัดทำแบบฝึกทักษะการคิดไปบูรณาการในแผนการจัดการเรียนรู้ หรือกิจกรรมเฉพาะ

๓.     การจัดกระบวนการเรียนรู้
      จัดกิจกรรมได้   แนวทาง  ดังนี้
                  ๑)  จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการคิดตามแผนการจัดการเรียนรู้
                  ๒) จัดกิจกรรมโดยเฉพาะ  เพื่อเน้นการสอนคิด

๔.     การประเมินผล
      มีการประเมินผล   แบบ  ดังนี้
                  ๑)  การประเมินผลตามสภาพจริง  ได้แก่  การสังเกต  สัมภาษณ์  ตรวจผลงาน  ภาระงาน/ชิ้นงาน  แฟ้มสะสมงาน ฯลฯ
                  ๒)  การทดสอบ

๕.     การพัฒนาการสอนคิด
      แนวทางการพัฒนาการสอนคิด มีดังนี้
               ๑)  จัดทำแบบฝึกทักษะการคิดให้ครบทุการะการเรียนรู้
               ๒)  นำไปสอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอน
               ๓)  ใช้ประเมินผลตามสภาพจริง
              ๔)  ปรับปรุงพัฒนาแบบฝึก  เทคนิควิธีการและกระบวนการสอน

๖.     การเผยแพร่
      การเผยแพร่ผลงานด้านการคิดวิเคราะห์  มีดังนี้
                  ๑)  เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                  ๒)  เก็บรวบรวมเป็นผลงานทางวิชาการ
                  ๓)  จัดทำเอกสาร / แผ่นพับ เพื่อเผยแพร่
                  ๔)  จัดนิทรรศการแสดงผลงานครู และนักเรียน
 
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา 

ขั้นตอนการสอน เทคนิคสำคัญ
ขั้นที่ ๑   กำหนดปัญหา ให้ผู้เรียนมองเห็นปัญหา กำหนดขอบเขตของปัญหา
ขั้นที่ ๒  การหาสาเหตุของปัญหา
          
หรือตั้งสมมุติฐาน
ผู้เรียนคาดคะเนคำตอบของปัญหา
ขั้นที่ ๓  วางแผนแก้ปัญหา ผู้เรียนคิดหาวิธีวางแผนเพื่อแก้ปัญหา
ขั้นที่ ๔  เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ
ขั้นที่ ๕  วิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมุติฐาน ผู้เรียนนำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์
ขั้นที่ ๖  สรุปผล ผู้เรียนประเมินผลวิธีการแก้ปัญหา หรือตัดสินใจเลือกวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา

  ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ 

ขั้นตอนการสอน เทคนิคสำคัญ
ขั้นที่ ๑  กำหนดปัญหา นำเสนอปัญหาให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบ
ขั้นที่ ๒  กำหนดสมมุติฐาน ให้ผู้เรียนตั้งสมมุติฐานเพื่อคาดคะเนคำตอบ
ขั้นที่ ๓  เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ อย่างรอบด้าน
ขั้นที่ ๔  วิเคราะห์ข้อมูล ผู้เรียนนำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์
ขั้นที่ ๕  ขั้นสรุปและประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปให้เป็นหลักการทางวิชาการ

           
การใช้เทคนิค 5W1H ในการวิเคราะห์ปัญหา            

การวิเคราะห์ปัญหา  โดยการใช้เทคนิค  5W1H  ในการคิดวิเคราะห์แบบแก้ปัญหา  จะใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐาน  มีรายละเอียด  ดังนี้            

ปัญหาคืออะไร  หรือ อะไรคือปัญหา                           
Who                       ใคร                   (ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง)
What                      ทำอะไร                 (แต่ละคนทำอะไรบ้าง)
Where                    ที่ไหน                    (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน)
When                    เมื่อไหร่       (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด)
Why                       ทำไม    (เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ)
How                       อย่างไร   (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเป็นอย่างไรบ้าง)                          

หมายเลขบันทึก: 135388เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • จากกิจกรรมการนิเทศแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะครูช่วงชั้นที่ ๒ กลุ่ม "การคิดแก้ปัญหา" ได้ร่วมกันจัดทำสื่อ "แบบฝึกคิดแก้ปัญหา" เพื่อใช้ในกิจกรรมการสอนคิด ของภาคเรียนที่ ๑
  • ในภาคเรียนที่ ๒ ทางกลุ่มได้ KM เกี่ยวกับการคิดโดยใช้ผังมโนทัศน์
  • ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกสื่อการคิดอย่างเต็มรูปแบบ จำนวน ๑ หน่วย  ดูได้จาก  ที่นี่ 
  • โรงเรียนยังดำเนินการขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน
  • กลุ่ม KM คิดแก้ปัญหา  จะนำรูปแบบการคิดแก้ปัญหาไปใช้กับสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โดยใช้ข้อมูล / เรื่อง จากหนังสือภาษาพาที 
  • ทดลองกับชั้น ป.๔
  • และทดลองเปรียบเทียบกับการคิด ๕ ขั้นตอน
  • การคิดวิเคราะห์ ๕ ขั้นตอน ดูตัวอย่างแบบบันทึกและแบบประเมินได้จากบันทึกของครูแหวว  ที่นี่ค่ะ 

เทคนิค 5W1H ใช้ได้ดีกับการอ่านจับใจความ

ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเรื่องราวได้เร็วขึ้น

สวัสดีค่ะคุณวิภา

เห็นด้วยค่ะการใช้เทคนิค 5W1H ช่วยในการจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน และยังใช้ได้ดีกับการฝึกเขียนย่อความด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อความ เป็นประโยชน์มากครับ

ด้วยความยินดีค่ะ ดีใจที่ได้ใช้ประโยชน์

จุฑารัตน์ กัณฑเดช

การสอนแบบแก้ปัญหา

สวัสดีค่ะคุณจุฑารัตน์

ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาเยี่ยม

อยากได้ ชื่อหนังสือ เกี่ยวกับการคิดแก้ปัญหาเพิ่มเติมค่ะ ช่วยแนะนำชื่อหนังสือให้ด้วยจะขอบพระคุณมาก เพราะกำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการคิดแก้ปัญหา เพื่อจะนำไปอ้างอิงเพิ่มเติม และอยากอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดแก้ปัญหาให้มากขึ้น ติดต่อได้ ที่ e-mail: [email protected]

จะเป็นพระคุณยิ่งค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหนูน้อย

  • พอมีอยู่ค่ะ แต่เป็นการคิดหลายอย่างปนๆ กันไป
  • จะ mail ให้ลองเปิดอ่านดูนะคะ

ขอขอบพระคุณ อ.แจ่มใส มาก ๆ ค่ะที่แนะนำหนังสือให้ จะนำไปใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุดเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูนาย

กำลังหารูปแบบเหมาะๆ ในการสอนที่สอดแทรกการคิดอยู่ค่ะ พอจะมีตัวอย่างไหมคะ

สวัสดีค่ะคุณครูดาว

จะหาดูนะคะ ถ้าเจอเรื่องเหมาะๆ จะนำมาฝากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท