มาตรการอนุรักษ์เต่าทะเลตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535


สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานกรรมสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างเป็นศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล และได้พระราชทานชื่อว่า "โครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล" อยู่ในความดูแลของกรมประมง
     ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2537 กำหนดให้เต่าทะเลตามบัญชีแนบท้ายตามกฎกระทรวงนี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองได้แก่
ลำดับที่ 39 กระ (Erethmochelys imbricata)
ลำดับที่ 46 เต่าตนุ (Chelonia mydas)
ลำดับที่ 47 เต่าหัวฆ้อน (Carette carette)
ลำดับที่ 54 เต่ามะเฟือง (Dermochelys coreacea)
ลำดับที่ 57 เต่าหญ้า หรือเต่าสังกะสี (Lepidochelys olivacea)
มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดล่าหรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (เต่าทะเล) เว้นแต่เป็นการกระทำโดยทางราชการที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 26
      ในเรื่องของการอนุรักษ์เต่าทะเล ปัจจุบันทางราชการให้ความสำคัญเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นกรมประมง กรมป่าไม้ และกองทัพเรือ โดยเฉพาะเกาะมันใน จังหวัดระยอง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานกรรมสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างเป็นศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล และได้พระราชทานชื่อว่า "โครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล"    อยู่ในความดูแลของกรมประมง ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา
     สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล แหลมพันวา ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้มีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ไข่เต่าทะเลขึ้นดำเนินการศึกษาชีววิทยาและติดตามดูการดำรงชีวิตและพฤติกรรมของเต่าทะเล ตลอดจนดำเนินการปล่อยเต่าทะเลลงสู่ทะเล การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ในอันที่จะรักษาพันธุ์เต่าทะเลเอาไว้ตลอดไป ตลอดจนทำการเพาะพันธุ์เต่าทะเลในบ่อเพาะพันธุ์ โดยการเลี้ยงเต่าทะเลจนเจริญเติบโต เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์และทำการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์เต่าทะเลในบ่อเพาะพันธุ์
     ในการดำเนินการอนุรักษ์เต่าทะเล ควรคำนึงถึงธรรมชาติและชีววิทยาของเต่าทะเลด้วย โดยเฉพาะในการนำไข่เต่ามาทำการเพาะฟัก และการปล่อยลูกเต่าในเทศกาลและสถานที่ต่าง ๆ แต่ในทางตรงข้ามในการดำเนินการลักษณ์นี้ ถ้าไข่เต่าทะเลส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมเหล่านี้ เช่น การนำลูกเต่าทะเลไปปล่อยในแหล่งต่าง ๆ ก็จะมีโอกาสสูงจะเกิดการกระทบกระเทือนต่อประชากรเต่าทะเลในธรรมชาติ โดยหลักการแล้วควรให้ไข่เต่าทะเลประมาณ 50-70% ได้มีการฟักตัวเกิดและกลับสู่ทะเลตามธรรมชาติ แต่มีหลายแห่งชาวบ้านหรือชาวประมงท้องถิ่น ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ จึงไม่สามารถปล่อยให้เต่าทะเลเพาะฟักในธรรมชาติได้ จำเป็นต้องเก็บไข่เต่ามาฟัก
      การอนุรักษ์เต่าทะเล จะกระทำประเทศใดประเทศหนึ่งจะได้ผลเต็มที่ จะต้องมีการร่วมมือกันในระหว่างประเทศหรืออย่างน้อยต้องมีการประสานงานกันในระดับภูมิภาค เพราะเต่าทะเลเป็นสัตว์ที่มีการโยกย้ายถิ่น แหล่งอาหาร แหล่งอาศัยที่กว้างไกล
      มาตรการการอนุรักษ์เต่าทะเล
     บทบาทด้านการอนุรักษ์เต่าทะเลส่วนใหญ่จะอยู่กับทางราชการ โดยเฉพาะแต่เมื่อมีกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขยายตัวไปกว้างขวาง ชุมชน องค์การพัฒนาเอกชนก็เริ่มเข้ามามีบทบาททางด้านนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การดำเนินงานการอนุรักษ์เต่าทะเลไทย จำเป็นต้องมีการควบคุมและจัดการประชากรเต่าทะเลในธรรมชาติ ควบคู่กันกับการด้านกฎหมายและประชาสัมพันธ์
ที่มา http://www.nicaonline.com/articles9/site/view_article.asp?idarticle=163
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13510เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2006 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท