Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๑๖)_๓


Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๑๖)_๓

ช่วงการถาม-ตอบ

ผู้ร่วมประชุม  :
 หากจะวัดความสัมพันธ์ ความเชื่อใจ จะวัดได้อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญต่อ KM  มาก

ดร.บุญดี บุญญากิจ  : 
 เป็นคำถามที่ดี  หลังจากที่เราทำโครงการนำร่อง  พบว่า องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  ใช้ model เดียวกันวัฒนธรรมองค์กรแบบไหนที่จะมีผลต่อผลลัพธ์ในองค์กร  วิธีการวัดทำยาก  เลยทำแบบสอบถาม  วัฒนธรรมแต่ละแบบจะให้ผลอย่างไร    จากงานวิจัยพบว่าวัฒนธรรมขององค์กรมีผลจริงๆ  อย่างเช่น ความไว้ใจ  ซึ่งวัดได้ลำบาก  ผลวิจัยดังกล่าว  เป็นการสร้าง  model ขึ้นมาอธิบายในเรื่องของความไว้ใจ

นพ.อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล  :
 เริ่มจากว่าความไว้ใจมีอะไรบ้างที่เรา concern  เช่น  เวลามีปัญหาไม่กล้าพูดกับเพื่อน  กับเจ้านาย  ด้วยวิธีการต่างๆ นามธรรมต่างๆที่วัดยาก  ความไว้ใจในที่แห่งหนึ่งกับอีกแห่งจะ concern ไม่เหมือนกัน

ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร   :
 ตัวชี้วัดเชิงนามธรรมจะพยายามใช้ในรูปของคณะกรรมการและวิจารณญาณของกรรมการ  พอเข้าไปองค์กรนั้น ๆ จะสัมผัสกันด้วยจิตซึ่งเป็นนามธรรม  เวลาเข้าไประเมินจะสัมผัสได้ด้วยจิตและบรรยากาศ  ซึ่งจะสามารถประเมินได้

ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด  :
เสนอว่าเคยพบการวัดความสุขขององค์กรแห่งหนึ่ง  ซึ่งวัดโดยใช้แบบสอบถาม และมีตัววัดอื่นๆ ในเชิงปริมาณด้วย เช่น อัตราการลาออก 

ผู้ร่วมประชุม  : 
เมื่อบอกพนักงานว่าจะมีการวัดและการประเมิน  จะทำให้พนักงานเครียด  ทำอย่างไรจะทำให้การวัดและการประเมินเป็นความสุขและไม่เป็นภาระให้แก่พนักงาน

นพ. อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล  :
ในเชิงที่ให้คนวัดเป็นคนคิดว่าจะวัดอะไร  และใช้ผลอะไร  อยากวัดอะไรก็วัดและให้เขาได้เรียนรู้  ทำอย่างไรถึงกระตุ้นให้เขาวัด  ซึ่งอาจต้องใช้เวลารอให้เขาอยากวัด  ไม่แน่ใจว่ามันจะเกี่ยวข้องกับการประเมินเพื่อวัดผลการพัฒนาหรือไม่  แต่อย่างไรก็ตามหัวหน้ามีส่วนสำคัญในการเป็นโค้ชและช่วยเหลือพนักงาน 

อาจารย์สุธรรม  ปิ่นเจริญ :
หนึ่งคนถูกวัดจะเครียด  เพราะสุดท้ายพอวัดเสร็จจะแย่งเป็นคนชนะ/แพ้/ได้/ไม่ได้  อีกสาเหตุคือ สอง  คนถูกวัดไม่ไว้ใจคนวัด และสาม  เกณฑ์การวัดที่ออกใหม่อาจไม่แม่น  คนถูกวัดอาจเกิดความเครียด 

ผู้ร่วมประชุม  : 

สถาบันอุดมศึกษามีหน่วยงานต่างๆ  มาประเมินมาก  เช่น กพร. สพส. สมศ. โดยหน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ประเมินในเชิงบูรณาการร่วมกันหรือไม่


ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร   : 
ต่างคนต่างประเมิน  และมีข้อเสนอแนะว่า  ควรมีการประเมินร่วมกัน  เพื่อให้เกิดการบูรณาการ  อย่างไรก็ตามเราสามารถบูรณาการการประเมินของเราเองได้ในเบื้องต้น  โดยไม่ใช้ภายนอกเป็นตัวตั้ง  เช่น  การทำงานภายในมหาวิทยาลัยด้วยกัน  และการบูรณาการในฐานข้อมูล  คือสามารถดึงข้อมูลไปใช้ได้ทันที 
การวัดผล  = การประเมิน+ การตัดสิน  การวัด  เช่น  การสอนนักเรียนสองห้อง  โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน  ค่าเฉลี่ยห้อง  ก  ได้ร้อยละเก้าสิบ ห้อง ข ได้ร้อยละแปดสิบ  ในภาพรวมอาจตัดสินได้ว่าห้อง ก  เก่งกว่า  แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดห้อง  ก  มีอยู่เพียงไม่กี่คนที่ดึงค่าเฉลี่ยให้สูง  ในขณะเดียวกันคนอื่นๆ สอบตกเกือบหมด  ส่วนห้อง ข  ส่วนใหญ่เกาะกลุ่มที่ห้องคะแนนแปดสิบคะแนน   ดังนั้นการวัดอาจต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นที่ไม่ใช่การวัด  เช่น  ในรายละเอียดหรือผลสัมฤทธิ์อื่น ๆ ประกอบด้วย  เช่น  การสนใจในการเรียน  การโดดเรียน  การร่วมมือ  การเรียนรู้  เพื่อใช้ในการตัดสิน 

ดร.บุญดี บุญญากิจ  : 
knowledge audit เกี่ยวข้องกับการวัดการประเมินผล KM  ความรู้เป็นเครื่องมือที่ใช้กระบวนการค้นหา knowledge  gap  ในอนาคตเราตั้งวิสัยทัศน์ไว้  ความรู้ที่ต้องมีเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์    ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ focus ใน KMได้ 

ผู้ร่วมประชุม :
หน่วยงานภาคราชการมีการให้ความดีความชอบเป็นลักษณะของตัวชี้วัด  ส่วนมากจะเป็นความชอบมากกว่าความดี  ในส่วนของท่านวิทยากรที่เห็นหน่วยราชการมามาก  ระบบการวัดโดยให้ขั้นเงินเดือนควรเลิกสักทีดีไหม

ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร   : 
ทั้งภาคราชการและเอกชนคงตอบได้เหมือนกัน ของทุกอย่างมีทั้งประโยชน์และโทษ  แล้วแต่จะเอาไปใช้  การประเมินหากเอาไปใช้ไม่ถูกก็อาจอยากจะยกเลิก  แต่หากไปใช้ในทางที่สร้างสรรค์จะดี  ซึ่งขึ้นอยู่ที่การใช้ 

ผู้ร่วมประชุม :
การใช้  balance  score card ไปประเมิน  HA  ในโรงพยาบาลจะทำได้ไหม 

นพ. อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล  :

ทำได้  มาตรฐานใหม่มีมิติใหม่ครอบคลุมเรื่องของ balance  score  card แต่จะให้ความสำคัญกับเรื่องของคลินิก  โดยเฉพาะ process  ของการดูแลคนไข้กลุ่มนั้น ๆ
 
ผู้ร่วมประชุม :
ตัวชี้วัดขององค์กรแต่ละด้านมีตัวชี้วัดมากมาย มีวิธีการเลือกตัวชี้วัดที่สำคัญๆ มีวิธีการเลือกอย่างไร 

ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร :
เลือกตัวที่เป็นประเด็นสำคัญที่สุด  ที่วัดถึงการบรรลุเป้าหมาย และมีผลต่อการทำให้เกิดความเสียหายได้  และการที่เราสามารถควบคุมปัจจัยที่ผลต่อตัวชี้วัดนั้นได้  หากวัดไปแล้วไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้  การวัดคงนั้นไม่เกิดประโยชน์   นอกจากนี้คือวัดแล้วเห็นถึงโอกาสของการพัฒนาได้ น่าจะพยายามไม่หลอกตัวเอง  โดยวัดแล้วสามารถสะท้อนว่าจะปรับปรุงตรงไหนได้


ผู้ร่วมประชุม :
ตัวชี้วัดทางธุรกิจ  อาจมีจริยธรรมทางธุรกิจหรือกิจกรรมทางสังคมด้วย    จะให้น้ำหนักอย่างไรว่าตัวชี้วัดบางตัวควรวัดหรือไม่ควรวัด  เพราะถ้าเอาทุกอย่างคงต้องวัดเยอะมาก

ผู้ร่วมประชุม :
ต้องดูถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กรอย่างที่อาจารย์วิบูลย์ได้ตอบไปแล้ว

ผู้ร่วมประชุม :
ตัวชี้วัดมีทั้งดีและไม่ดี  และมีวิธีที่จะประเมินการประเมินตัวชี้วัด  ตัวชี้วัดที่ไม่ดีจะถูกตัดออกไป  ส่วนตัวที่ดีจะพาเราไปถูกทิศทางและครอบคลุม  หลักการกำหนดตัวชี้วัดมีหลักเกณฑ์อยู่  คือมีจำนวนไม่มากจนเกินไป  และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์  รวมไปถึงต้องครอบคลุมพันธกิจขององค์กรด้วย 
 
ผู้ร่วมประชุม :
จะวัดได้อย่างไรว่าบูรณาการงานกับชีวิตแล้ว ตามแนวคิดว่าทำ KM แล้วไม่เป็นภาระกับผู้ทำ 

นพ.อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล  :
เป้าหมายการบูรณาการงานวัดกับชีวิต  ไม่จำเป็นไม่ต้องวัด  เพราะสามารถรู้ด้วยตัวเองได้  คำถามน่าจะเป็นว่าทำอย่างไรถึงสามารถบูรณาการงานกับชีวิตมากกว่า  หากบางกลุ่มที่ตอบว่าต้องวัด  ต้องดูความต้องการในชีวิตของเรา  เช่น  ตัวเองมีความสุข  เพื่อนมีความสุข  และครอบครัวก็มีความสุขเพราะไม่ได้เอางานกลับไปทำที่บ้าน  ซึ่งขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของคนรอบตัวเรา  สามารถมองมิติต่างๆ  ที่เป็นความต้องการของเราได้

ดร.บุญดี  บุญญากิจ  :
เราพยายามวัดกิจกรรมที่เราทำ เพื่อปรับกิจกรรม KM  สุดท้ายแล้วตัวชี้วัดเหล่านั้นจะหายไป  เพราะทำจนเป็นเรื่องปกติ  ตัววัดสำคัญที่จะบอกว่าเป็นการบูรณาการคืองานของท่านเอง

นพ.อภิชาติ  ศิวยาธร : 
   พูดถึงเครื่องชี้วัดมีความหมายค่อนข้างกว้าง  คือในระดับ macro  คือระดับองค์กร  พอลงไปในเรื่องของการพัฒนางานจะเป็นเรื่อง micro   ซึ่งทั้ง 2 ระดับต้องเชื่อมกันอยู่  ตัวชี้วัดเป็นตัววัดการพัฒนา  ต้องมองว่าองค์กรอยู่ในการพัฒนาในระดับใด  เรากำลังวัดอะไร  การมีส่วนร่วม  หรือผลสัมฤทธิ์  ส่วนเรื่องที่ต้องสนองคือ  มาตรฐาน   ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นเรา  และต้องมีประโยชน์แก่องค์กรไม่มากก็น้อย   ควรพยายามพัฒนาเครื่องชี้วัดที่ตรงกับบริบทของตัวเอง  องค์กรที่พัฒนาไปมากๆ  เป็นเลิศในระดับ  macro  จะมีตัวชี้วัดสองชุด  ตัวหนึ่งไว้ตอบมาตรฐาน  ส่วนอีกตัวคือตัวที่แสดงถึงความเป็นเลิศขององค์กร  หากสามารถสะท้อนให้เห็นคุณค่าขององค์กร  ดังนั้นเราต้องมองดูว่าเราเดินทางอยู่ตรงไหน  จะวัดอะไร  และต้องมองดูว่าพูดในฐานะอะไร  คุณกิจ  คุณอำนวย  หรือคุณเอื้อ  ซึ่งทั้งสามคนมีภารกิจต่างกัน  ตัวชี้วัดก็จะแตกต่างกัน  หากเป็นคุณกิจพยายามทำ  KM แบบไม่รู้ ตัว ว่าเกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาอย่างไร  สุดท้ายต้องมองดูว่าใครวัดอะไรที่ไหน เพื่ออะไร  ยิ่งตอบอาจยิ่งสร้างความสับสนมากขึ้น


ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด : 
ได้มีโอกาสเห็นตัวอย่างจากห้องเอกชน  ซึ่งได้มีการทำมีตัวชี้วัดหลักๆ  องค์กรควรกลับไปดูตัวชี้วัดอีกที

นพ.อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล  :
อยากพูดโยงไปถึงการทำ KM แล้วเครียด  ทุกองค์กรต้องใช้ความรู้ในการทำงานอยู่แล้ว  ภายหลังเกิดความคิดในการบริหารความรู้เพื่อใช้ในการทำงานให้ดีขึ้น  KM น่าจะเป็นการเอาความรู้ที่มีอยู่แล้วไปใช้ในการทำงานให้ดีขึ้น  หลังจากได้วิธีการหรือหลักการที่ดีมา  ซึ่งน่าที่จะลดภาระงานลงได้  ขึ้นอยู่กับการให้นิยามความหมายของ KM  หลายสถานการณ์สามารถเปรียบเทียบได้  เช่น  การประหยัดทรัพยากร   หากมีหลายปัจจัยน่าเอาทุกปัจจัยมาวิเคราะห์  โดยอาจให้วิธีการอันหลากหลายเพื่อแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน  เช่น  เทคโนโลยีหรือ  system  dynamic

ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด : 
เราไม่มีแบบประเมินผลใน  session  นี้  แต่เราใช้แบบทบทวนบทเรียนหรือแบบทบทวนบทเรียน  AAR (after  action  review)  ให้ทุกท่านช่วยเขียนว่า  ก่อนเข้ามา  คือ  หนึ่ง  ท่านมีเป้าหมายอะไรในการมาร่วมประชุมครั้งนี้  สอง  ส่วนใดที่ท่านบรรลุเป้าหมายเพราะเหตุใด  สาม  ส่วนใดที่ท่านไม่บรรลุเป้าหมายเพราะเหตุใด  และข้อสี่ท่านคิดว่าจะวางแผนทำอะไรต่อไป  หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 

ผู้ร่วมประชุม :
ในหน่วยงานถ้าทำ5 ส.ได้อย่างมีสิทธิภาพต่อเนื่องยั่งยืน  สืบค้นง่ายสามารถถือได้มั้ยว่าเราได้ทำ  KM ในหน่วยงานสำเร็จแล้ว

ดร.บุญดี  บุญญากิจ : 
ดิฉันคิดว่าพูดได้ในระดับหนึ่ง แต่เราต้องนึกอยู่เสมอว่าส่วนที่เป็น 5 ส.นั้นเป็น   explicit  knowledge  ซึ่งถือว่าเป็นส่วนน้อย  เพราะฉะนั้นความรู้ที่อยู่ในตัวคนยังมีอีกเยอะ  ที่จะต้องอาศัยระบบการบริหารการจัดการอีกรูปแบบหนึ่ง 

ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด :
ตรงนี้ดีมากครับเพราะถือว่าเข้าทางของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม  เราเพราะเราถือว่า explicit  knowledge    เป็นส่วนน้อย  เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่ทำ 5 ส ถือว่าส่วนนั้นโอเคแล้ว หรือใครก็ตามที่ทำ  knowledge  center ก็ดีแต่ถือว่าเป็น explicit  knowledge ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนของความรู้ในตัวคน

นพ. อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล  : 
ถ้าต่ออีกสักนิดนึงว่าไปวิเคราะห์ว่าที่เราทำ 5 ส. มานั้น  ในช่วงแรกเรามีปัญหากับอะไรบ้าง  จัดการกับปัญหานั้นอย่างไร  จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่สามารถทำ 5 ส. นั้นได้  จนทุกคนรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องปกติธรรมดา  ไม่ต้องมีใครมาบังคับมาตรวจสอบอันนั้นแหละคือ  KM  ซึ่งเป็นการที่จะประยุกต์ใช้ explicit  knowledge 

ผู้ร่วมประชุม : 
ในเรื่องของชุมชน  กรุณายกตัวอย่างชุมชนที่มีการวัดผลการทำ  KM  แล้วว่าใช้ตัวชี้วัดและมาตรฐานอะไร (ที่ สคส. เคยไปเยี่ยมชมงาน)


ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด :
ก็คงจะบอกว่าไม่ใช่เยี่ยมชมหรอกครับ  ชุมชนที่เอา KM  ไปใช้อย่างที่เราดูทางกรณีของจังหวัดพิจิตร  ก็แน่นอนครับเราสิบคนเราไม่ได้ทำเอง  แต่เราไปบอก แล้วเราบังเอิญได้คนที่ขยันและเข้าใจ  ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราช อาจารย์ภีม และคุณสุรเดชที่จังหวัดพิจิตรนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าตัวชี้วัดมาตรฐานอะไร  ก็คือเขาได้เอาเครื่องมือหรือกระบวนการของเราอย่างที่เรียกว่าธารปัญญา  อย่างที่เรียกว่าตารางอิสรภาพที่มีการประเมินห้าระดับ  ก็กลายเป็นว่ามันเป็นการวัดประเมินตรงนั้นไปเลยว่าอยู่ระดับไหน  ตรงนั้นมันก็ค่อยๆ เป็นมาตรฐานไปเอง เช่น  ในชุมชนระดับห้าก็จะเคร่งครัดหรือดีกว่าระดับสาม ตอนแรกๆ อาจจะอยู่ถึงระดับสาม  มาตรฐานอาจอยู่ตรงกลางๆ ตอนหลังก็จะค่อยๆ สูงขึ้น  เรากลายเป็นว่าเอาเรื่องตัวชี้วัดก็ดี  มาตรฐาน  การประเมิน  รวมเป็นเรื่องเดียวกันเลยครับ ให้ชาวบ้านเขาทำอย่างกลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติ   ที่ตรงนี้ผมไม่ตอบเพราะว่าจะเป็นคนละบริบทของภาคราชการหรือหน่วยงาน     ซึ่งจะต้องการตัวชี้วัดที่ชัดๆ  แต่ถ้าภาคชุมชนเขาจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นเขาก็ใช้ของเขา เครื่องมือตัวนั้นก็พูดและเล่นเรื่องมาตรฐานตัวชี้วัดไปได้เลย  แต่ภาคราชการเราใช้เครื่องมือชุดธารปัญญา ตารางอิสรภาพ  บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เราใช้เป็นเครื่องมือปูไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นตัวปลา  เพราะฉะนั้นของท่านจะสลับซับซ้อนกว่า   ท่านจะต้องตอบโจทย์คนที่มาประเมินได้  แต่ชุมชนเขาไม่ได้สนใจว่าเขาต้องโจทย์ผู้ประเมิน  เพราะฉะนั้นอันนี้ที่ผมไม่อยากให้ท่านสับสนก็เลยขอเลื่อนมาตอบสุดท้ายนะครับ  หมดเวลาพอดีนะครับ  ผมต้องขอขอบคุณท่านวิทยากรทั้ง  3 ท่านมาก  และก็รวมทั้งคุณหมออภิชาติ  คุณหมอสุธรรมที่ได้กรุณาตอบมาจากฟลอร์  ทำให้เราได้เห็นแง่มุมที่สำคัญ  ส่วนคำถามที่เหลือเราอาจหาทางตอบในบล็อก ในอะไรต่างๆ  นะครับ  ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านและผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านครับ  สวัสดีครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13491เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2006 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท