พม่าศึกษา : รู้จักเพื่อนบ้าน รู้จักเพื่อการอยู่ร่วมกันในภูมิภาค


การเรียนรู้โลกของกลุ่มชนชาติพันธุ์ใดๆ ย่อมให้ประโยชน์ที่จะเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะรู้เขา รู้เรา ย่อมเข้าใจกัน นี่เป็นความต้องการของมนุษยโลกมิใช่หรือ?

 

 

พม่าศึกษา  : รู้จักเพื่อนบ้าน รู้จักเพื่อการอยู่ร่วมกันในภูมิภาค

ศูนย์พม่าศึกษา วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

..............................................................................................................

 

                 การเรียนรู้โลกของกลุ่มชนชาติพันธุ์ใดๆ ย่อมให้ประโยชน์ที่จะเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ   เพราะรู้เขา รู้เรา  ย่อมเข้าใจกัน  นี่เป็นความต้องการของมนุษยโลกมิใช่หรือ?

 

                พม่าศึกษา (Burmese Studies)  ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านร่วมอาเซียนและมีรั้วบ้านติดกันก็ควรจะศึกษาเรียนรู้เขาอย่างจริงจัง และต้องเรียนรู้ทุกๆ ด้านเพื่อสานไมตรีความร่วมมือในเรื่องที่สามารถทำได้  ทำแล้วก็เพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย  และในที่สุดก็เกิดสันติภาพในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ชิด จนที่สุดก็ขยายไปในวงสังคมโลก

              พม่า ค่อนข้างระแวงประเทศไทยมาแต่ครั้งยุค "โยตะยา" หรือ "โยเดีย" แม้ปัจจุบันพม่าก็ยังแสดงให้เห็นถึงความระแวงนั้นเสมอๆ

 (อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.myanmar.nu.ac.th/  )

ดังนั้นการทำความเข้าใจพม่าโดยการศึกษาเขาอย่างจริงจังน่าจะเป็นหนทางแห่งการลดความระแวงได้ในระดับหนึ่ง

              หากจะกล่าวถึงสถาบันที่ศึกษาพม่าอย่างจริงจังก็เห็นจะมีที่มหาวิทยาลัยนเรศวร (http://www.myanmar.nu.ac.th/ )และอีกสถาบันหนึ่งที่มีข้อมูลองค์ความรู้พม่าศึกษาไว้มากพอสมควรแต่ยังไม่ได้ตั้งเป็นศูนย์พม่าศึกษา ก็คือ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

 

 

 การก่อตั้ง สถาบันพม่าศึกษา วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

ความเหมาะสมที่สุดในด้านภูมิศาสตร์และความเป็นท้องถิ่นเชื่อมโยง

  

            ในวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2550  คือวันสำคัญได้ฤกษ์เปิด  "สถาบันพม่าศึกษา" (Institute of Burmese Studies)   ณ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่อย่างพ่อเมืองแม่ฮ่องสอน  อธิการบดี ผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง ร.อ.นิติภูมิ  นวรัตน์  แขกผู้มีเกียรติอีกมากมายมาร่วมงานเปิดสถาบันอย่างเป็นทางการ   จุดประสงค์สำคัญของการก่อตั้งสถาบันก็คือ 

            "เพื่อทำวิจัยและเปิดหลักสูตรระยะสั้น  หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(พม่าศึกษา) โดยเปิดสอนที่วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และที่กรุงเทพฯ  เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้เรื่องพม่าและภาษาพม่าอย่างเป็นระบบ"

(เปิดฟ้าส่องโลก  ร.อ.นิติภูมิ  นวรัตน์  ไทยรัฐ 4 ต.ค. 50)

             การเปิดสถาบันพม่าศึกษา  ขึ้นที่ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอนนั้นมีความเหมาะสมมาก เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับพม่า  กลุ่มชนทั้งในเขตแม่ฮ่องสอนและชายแดนมีการค้าขายสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน ข้ามเขตชายแดนไปในพม่าก็คือรัฐฉานหรือรัฐไทใหญ่ มีพื้นที่กว่า 155,800 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เกือบเท่าภาคเหนือของไทย มีพลเมืองประมาณ 4.7 ล้านคน แต่ไม่มีใครเข้าไปศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจัง   การเปิดสถาบันพม่าศึกษาจะช่วยให้ผู้คน เยาวชนในพื้นที่ได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้และเป็นการรองรับความสัมพันธ์ทางการค้า วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง และการศึกษาที่ย่อมส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เชียงใหม่  และประเทศไทยโดยรวม  นี่จึงเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่ง  แต่ที่สำคัญยังมีทรัพยากรบุคคล นักวิชาการ นักวิจัย ในพื้นที่ค่อนข้างมาก การดำเนินงานย่อมเป็นไปได้ง่าย และได้ข้อมูลลึกซึ้ง

              จากการพูดคุยกับ อาจารย์วินัย ไชยวงศ์ญาติ คณบดีวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน  ผศ.ชูสิทธิ์  ชูชาติ  และอาจารย์วิทยาลัยแม่ฮ่องสอนอีกหลายท่าน เชื่อมั่นว่าการดำเนินงานของสถาบันพม่าศึกษาแห่งนี้จะก้าวหน้าไปได้รวดเร็วและเป็นประโยชน์ในฐานะ สถาบันที่มีชีวิต มีวิญญาณ ดำเนินกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์แก่สังคมในพื้นที่แม่ฮ่องสอนอย่างมาก หากท่านที่สนใจก็ขอเชิญมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ที่วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

             ความจริงแล้วเยาวชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เข้ามาเรียนในวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนคือกลุ่มเยาวชนจากชนชาติพันธุ์ หลากเผ่าพันธุ์ ได้แก่ มูเซอ  กะเหรี่ยง  ม้ง ลัวะ  ลีซอ ไทยใหญ่ ไทยยวน ซึ่งเหมาะสมที่จะมีการจัดตั้งสถาบันกลุ่มชาติพันธุ์ศึกษาต่อไปอีกด้วย

               ผมพูดถึงการก่อตั้งสถาบันพม่าศึกษาด้วยความเบิกบานใจครับ เพราะนี่เป็นก้าวสำคัญที่จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลแก่ชาวแม่ฮ่องสอน และคนไทยทั่วไป ที่จะได้เข้าใจ "พม่า"  เพื่อนบ้านที่ใกล้บ้านเราอีกประเทศหนึ่ง  โดยหวังลึกๆ ว่า จะสามารถนำไปสู่การสร้างสันติภาพในภูมิภาคนี้ได้

หมายเลขบันทึก: 134785เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอขอบคุณอาจารย์กรเพชร...

  • ขอแสดงความชื่นชมที่พวกเราหันมาสนใจศึกษาเรื่องราวของเพื่อนบ้าน... สาธุ สาธุ สาธุ

ชื่อ 'Burmese study' นี่ ไม่แน่ใจว่า ถ้าใช้ 'Myanmar study' จะเหมาะกว่าหรือเปล่า

  1. ไทยเราเรียก "พม่า" > ออกเสียงแบบบาลี > "บะมา" > คล้าย 'Burma'
  2. ชื่อ 'Burmese' ใกล้กับ 'Burma' > คนกลุ่มใหญ่พม่ามีแนวโน้มจะเรียกตัวเองว่า เป็น "บะมา"
  3. คนกลุ่มน้อยไม่ค่อยเรียกตัวเองว่าเป็น "บะมา" > มีแนวโน้มจะเรียกอย่างอื่น เช่น ฉาน(สะกดแบบพม่า "สยาม" ออกเสียง "ชาน") แต่พอจะยอมรับ "เมียนมาร์ (Myanmar)" ในฐานะสหภาพได้มากกว่า

เรียนปรึกษาท่านผู้รู้ด้วยครับ...

สวัสดีครับคุณหมอP

       ขอบคุณครับที่แนะนำมา  เรื่อง ชื่อภาษาอังกฤษนั้นผมได้มาจาก ข้อเขียนของ ร.อ.นิติภูมิ  นวรัตน์  ตอนแรกก็คิดเช่นเดียวกับคุณหมอ เพราะที่ม.นเรศวรใช้ Myanmar  เอาไว้วันเปิดสถาบันจะไถ่ถามอีกครั้งครับ ขอบคุณครับ

อาจารย์ค่ะ ถ้าการเปิดสถาบันพม่าศึกษาขึ้นมาในแผ่นดินไทยแล้ว จะเป็นการเชื่อมสัมพันธภาพกันทั้งในหลายๆด้าน ก็น่าจะเป็นเรื่องดีนะค่ะ พึ่งอ่านข้อมูลเรื่องนี้ครั้งแรกตามลิงค์ที่อาจารย์ให้ไว้ ขอบคุณอาจารย์นะค่ะ เหมือนอาจารย์มาบรรยายให้ฟังที่นี่เลย

คุณP

           ใช่ครับ มีการเรียนอย่างจริงจังด้วยนะครับ ถึงขั้นปริญญาโท ก็ลองติดตามความเคลื่อนไหวต่อไปนะครับ

น่าสนใจมากครับ

แต่ตอนนี้ที่ภูเก็ตพม่าล้นเมืองแล้วครับ

สวัสดีครับคุณP

            ปัญหาแรงงานพม่าเข้ามาในประเทศไทยก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย  การศึกษาเขาก็จะช่วยให้เราเข้าใจในขนบธรรมเนียมและลักษณะวิถีชีวิตของเขาเพื่อการจัดระเบียบและการอาศัยประโยชน์ซึ่งกันและกัน  เป็นปัญหาใหญ่ครับ ที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี และเลยไปถึงกรุงเทพฯ ไม่เห็นใครจะเข้าไปจัดการควบคุมอะไรนักหนา  คนที่รับผิดชอบก็ปล่อยปละละเลย และอาจไม่เคยมีข้อมูลเกี่ยวกับคนเหล่านี้มาใช้ในการแก้ไข  เจ้าหน้าที่ของรัฐบางกลุ่มก็เอาแต่ประโยชน์ลักลอบขนเข้ามาเสียเอง  ตอนนี้พม่าระส่ำระสาย เกิดปัญหาภายในก็เท่ากับผลักคนเข้ามาอีกมากมาย  หากไทยไม่ตั้งรับคอยจัดการควบคุม เห็นทีอาจจะต้องเสียดินแดนแก่พม่าอย่างภาวะจำยอมอีกครั้ง

อาจารย์สมเกียรติ เอ่าจี่มิด

ทางวิทยาลัยชุมชนระนองจะเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารและธุรกิจ(ภาษาพม่า) รายละเอียดดังนี้

สถานที่เปิดสอน ณ วิทยาลัยชุมชนระนอง

หลักสูตร หลักสูตรระยะสั้น 60 ชั่วโมง สนทนา

ระยะเวลา 9 มิ.ย. 2551 ถึง 4 ก.ค. 2551

(วันจันทร์ถึงวันศุกร์)

เวลาเรียน 17.00น ถึง 20.00น

ค่าลงทะเบียน 70 บาท (ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ)

ผู้สอน อาจารย์สมเกียรติ เอ่าจี่มิค

086 686 9766

[email protected]

*หมายเหตุ ต้องลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนเรียนและสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ วิทยาลัยชุมชนระนอง โทร. 077 823326

ถือว่าเป็นการดีมากๆ ครับ ที่ทางสถาบันได้เปิดศูนย์พม่าศึกษาขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้คนไทยเรา รวมถึงคนนอกด้วย ได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริง ไม่ใช่มั่วๆ เดาถูกเดาผิดไป

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา (ฟรี!) เรื่อง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเมียนม่าร์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (บรรยายเป็นภาษาไทย) วันที่ 28 สิงหาคม 2551 เวลา 13.00-16.00 น. ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ชั้น 7 ตึกไอบีเอ็ม (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าอารีย์) ถนนพหลโยธิน กทม.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่

โทรศัพท์ 0-2619-0512-3

อีเมล [email protected],[email protected],[email protected]

 

เห็นว่าศูนย์พม่าของสถาบันจะเปิดหลักสูตรพม่าศึกษาที่กทม. ไม่ทราบว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้างครับ สนใจอยากศึกษาครับ

เห็นว่าศูนย์พม่าของสถาบันจะเปิดหลักสูตรพม่าศึกษาที่กทม. ไม่ทราบว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้างครับ สนใจอยากศึกษาครับ เปิดระดับอะไรบ้างครับ

อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนต่อหลักสูตรป.โท ของสาขาพม่าศึกษาค่ะ เปิดสอนเมื่อไหร่คะ เปิดที่ไหนบ้างคะ ถ้ามีรายละเอียดรบกวนส่งทางอีเมลล์ได้ไหมคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท