ถอดองค์ความรู้แผนแม่บทชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชน


วิสาหกิจชุมชน ตำบลบึงแก

ถอดองค์ความรู้แผนแม่บทชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชน

 

การวิเคราะห์ วิจัยวิสาหกิจชุมชน ( ตำบลบึงแก)

ชุมชนส่วนใหญ่ของตำบลบึงแก นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเกษตรกร มีการทำขั้นตอนที่ไม่เหมือนกัน ผลผลิตในแต่ละปีก็ไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้เท่าที่ควร สำหรับเกษตรกรที่มีที่นาอยู่ที่เนินสูง ก็จะไม่ได้ผลนัก เพราะข้าวที่ทำการหว่านเอาไว้ซึ่งไม่มีน้ำพอที่จะทำให้ต้นข้าวสมบูรณ์เจริญเติบโต จึงทำให้เกษตรกรคิดทำอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง และครอบครัว ประกอบกับทุกวันนี้ ฟ้าฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ซึ่งทำให้เกษตรกร ต้องหันหาอาชีพที่จะสร้างรายได้ ซึ่งอาชีพของเกษตรกรก็มีรายละเอียดดังนี้เช่น

  1. การทอผ้า
  2. การรับจ้างทั่วไป เช่น ต้องเข้าเมือง เพื่อหารับจ้างงานก่อสร้าง เช่นปัจจุบัน เกษตรกร ต้องไปขายแรงงานที่ ในตัวจังหวัด เช่น ยโสธร,อุบลราชธานี หรือไม่ก็ กรุงเทพมหานคร หรืองบางคนก็ถึงกับเดินทางไปทำงานต่างประเทศ
  3. อาชีพเสริมจากการทำบั้งไฟขาย ซึ่งการทำบั้งไฟขายนี้ อาจจะทำเป็นกลุ่ม ๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า ค่าย เช่นค่ายบั้งไฟ ป.พาณิชย์ เป็นต้น

         4 อาชีพเสริมจากการเลี้ยงสัตว์ เช่นเลี้ยงไก่ อาจจะเป็นไก่ชน หรือเลี้ยงวัวขุน หรืออาจจะเลี้ยงเป็ด , เลี้ยงกบ เป็นต้น

        อาชีพเสริมจากการปลูกพืช ผักส่วนครหลักการที่จะนำมาใช้ในการก้าวเข้าสู่วิสาหกิจชุมชน คือ

    1. มีทุน
    2. มีวัตถุดิบ
    3. มีความสนใจในการผลิตแปรรูป
    4. ต้นทุนจะต้องต่ำ
    5. ผลิตได้ทุกฤดูการ
    6. มีความสามัคคีในกลุ่ม
    7. มีความขยันหมั่นเพียร
    8. มีความตั้งใจจริง
    9. มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มเฉพาะผลิตภัณฑ์
    10. มีการจัดหาทุน
    11. มีการจัดสรรวัตถุดิบ
    12. มีการปลูกวัตถุดิบทดแทน
  1. องค์ประกอบที่นำมาใช้เพื่อก้าวเข้าสุ่วิสาหกิจชุมชน
  1. ชุมชนเป็นเจ้าของและดำเนินการ
  2. ผลผลิตจากกระบวนการในชุมชน
  3. ความริเริ่มสร้างสรรค์ โดยชุมชนทำให้เกิดวัฒนธรรม
  4. ฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
  5. ดำเนินการแบบบูรณาการ
  6. เชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆให้เป็นระบบ
  7. การเรียนรู้ ความเข้าใจ ในทุกขั้นตอน
  8. การพึ่งตนเอง เป็นเป้าหมายสำคัญของวิสาหกิจชุมชน
  9. มีความพอเพียง
  10. ใช้จ่ายอย่างประหยัด
  11. ตลาดส่งสินค้า
  12. เห็นความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  13. วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นได้หลายวิธี แต่ต้องมิใช่การจัดตั้งจากทั้งภายนอกและภายใน ต้องเกิดจากการสะสมการเรียนรู้ร่วมกัน วิจัยเรื่องราวในชุมชนร่วมกันทดลองร่วมกัน ขยายขนาดกิจกรรมร่วมกัน ตัดสินใจร่วมกัน เพราะมันเป็นทางออกทางเลือกที่เหมาะสมกับชุมชนเราอย่างแท้จริง ชุมชนจึงเป็นตัวตั้งของวิธีคิด วิสาหกิจจึงเป็นผลิตผลของความเป็นชุมชน มีความมั่นคง ในระดับชีวิตพื้นฐานมีเพียงพอ มีกลไกกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และรู้จักแสวงหาการเรียนรู้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมยกระดับผลิตภัณฑ์ เพื่อการผลิตส่งการตลาด ให้สินค้ามีคุณภาพ คน และปัจจัยต่าง ๆ ให้สัมพันธ์ แบบเกื้อกูล วิสาหกิจชุมชนจึงเป็นอะไรมากกว่าเพียงการทำกิจกรรม หรือธุรกิจหลาย ๆอย่าง ในชุมชน เปรียบแล้ว ก็เหมือนเกษตรกร ที่ทำหลาย ๆ อย่าง อย่างเชื่อมประสาน และเสริมกัน
  14. การจัดการระบวนการแบบเศรษฐกิจพอเพียง
    1. ในด้านความพอดี คือการดำรงชีวิต ในรูปแบบเรียบง่ายเน้นการไม่ฟุ่มเฟือย รู้คุณค่าของการประหยัดและประมาณตนอยู่เสมอ
    2. ในด้านความพอประมาณ คือการพออยู่พอกิน การหาอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้เสริม จากอาชีพหลักที่เคยทำอยู่เสมอ
    3. ในด้านความมีเหตุผล คือ การพอเพียงจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุโดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบครอบ
    4. ในด้านมีความภูมิคุ้มกันที่ดี คือการเตรียมตัวให้พร้อม รับกับผลกระทบที่จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเสมอ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในอนาคตทั้งไกลและใก้ล
    5. ในด้านการเพิ่มรายได้ คือการพัฒนาอาชีพเสริมให้มีประสิทธิภาพ ใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ โดยการทำอาชีพเสริม
    6. ในการลดรายจ่าย คือการใช้วัตถุดิบ ในท้องถิ่นที่พอจะหาได้ ในการผลิตสินค้า มีการนำวัสดุที่ใช้งานแล้วมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ใหม่ ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รักษาสิ่งต่าง ๆ ให้คงอยู่ใช้งานในสภาพใช้การได้นาน ๆ

การออม

 

    1. การออมมีการวางแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อให้มีการเก็บออม
    2. มีกิจกรรมการออม เช่น เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสัจจะ กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น

 

 

 

การดำรงชีวิต

สมาชิกครัวเรือน สืบทอดประเพณี วัฒธรรม และภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการลงทุนประกอบอาชีพ ตามกำลังทรัพย์ และศักยภาพของทุน ไม่ก่อหนี้ โดยไม่จำเป็น และเกินกำลัง

ารเอื้ออาทร

 

    1. ได้รับการสนับสนุนดูแลจากกลุ่ม เศรษฐกิจชุมชน
    2. ใด้รับการสนับสนุนดูแลจากครัวเรือนที่ประสพความสำเร็จในการนำแนวคิด เครษฐกิจพอเพียงปฏิบัติ
    3. ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน
          ทำอย่างไรจึงจะมีความยั่งยืน

 

    1. มีความขยันหมั่นเพียร
    2. มีความมุ่งมานะ
    3. มีความอดทน ขยัน และประหยัด
    4. งดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
    5. มีการลดต้นทุน
    6. ปลูกพืชตามแนวรั้วที่กินได้
    7. รณรงค์ในการรักษาป่า และทรัพย์กรธรรมชาติ
    8. การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรกรรม
    9. นำวัถุดิบมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

       

สิ่งที่จะมากระตุ้นการทำชุมชน ให้เป็นวิสาหกิจชุมชนคือ

 

    1. มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
    2. มีการปรับปรุงโดยไม่หยุดนิ่ง
    3. มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และภูมิปัญญาชาวบ้าน
    4. มีการกระตุ้นให้เอาเงินกองกลาง มาออมทรัพย์เพื่อสมาชิกที่เดือดร้อน ได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
    5. มีสวัสดิการแก่ชุมชน ที่ดี
    6. มีคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยเหลือ เพื่อที่จะพัฒนาชุมชนให้ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเสมอ
    7. มีการประสานงาน และให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน
    8. มีความสามัคคีในกลุ่มชุมชน และซื่อสัตย์ สุจริต

 

หมายเลขบันทึก: 132349เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2007 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

บันทึกนี้มีประโยชน์มากๆ ค่ะ ดิฉันเลยอยากแนะนำให้ใส่หมวดหมู่ให้กับบันทึกนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้ตามอ่านกันง่ายขึ้นค่ะ อ่านรายละเอียดได้จากบันทึก ชวนกันใส่หมวดหมู่ และคำสำคัญ นี้นะค่ะ

ขอบคุณครับ เป็นเนื้อหาประกอบการเรียนของผมได้ดีเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท