การบริหารงานศูนย์ข้าวชุมชนของชัยนาท


ข้าวชุมชน

     

    การดำเนินงานในลักษณะกลุ่ม เป็นเรื่องที่ท้าทายความรู้ ความสามารถของผู้นำ และผู้ตามยิ่งนัก ดังคำที่หลวงพ่อพุทธทาสฯ

       เอาความดี     เป็นแกนกลาง   ทางชีวิต

       เอาความคิด   เป็นแกนกลาง   อำนวยชัย

       เอาแรงงาน    เป็นกลไก           ภายในตน

       นี่คือคน         มีคุณค่า             ราคางาม

เป็นช่วงเวลาดี ที่ผมจะได้ฉกฉวยโอกาสคัดความรู้ในการบริหารจัดการของศูนย์ข้าวชุมชนของชัยนาท ที่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้จะไม่ใช้ทั้งหมดในกลุ่มเดียวกัน แต่จะเลือกในแต่ละประเด็นเท่านั้นที่จะมาแลกเปลี่ยนกัน นั้นคือเวทีรับฟังความก้าวหน้าการจัดทำแปลงพันธุ์ข้าว และการจัดการกองทุนธนาคารพันธุ์ข้าวพระราชทาน ซึ่งดำเนินงานในแปลงข้าวของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน  โดยในวันที่ 27 กันยายน 2550 ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท ผู้แทนจากศูนย์ข้าวฯ ทั้ง 23 ศูนย์ฯ มารวมกัน  เวลา 9.00 น นางเพ็ญศรี  อัมมระนันทน์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต เป็นประธานเปิดเวทีเสวนา หลังจากพี่เอนก  สุธา ผู้ดำเนินงานรับฟังความก้าวหน้าเสร็จ เหลือเวลาอีก  ชั่วโมงครึ่งก็เป็นโอกาสของผมที่จะได้ยึดเวที สกัดความรู้ 4 ประเด็นออกมา

            1. การบริหารเงินทุน ระดมทุนจากสมาชิก โดยเรียกเก็บเงินทุนจากพันธุ์ข้าวที่ได้รับจัดสรรจากทางราชการ และระดมหุ้น มีบางส่วนขอรับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล วิธีการเรียกเงินสนับสนุนจาก อบต. ต้องเดินตามขั้นตอน คือ จัดทำประชาคมพลักดันให้เข้าแผนพัฒนาให้ได้  ให้เจ้าหน้าที่ของเราช่วยจัดทำโครงการเพื่อขอรับการนับสนุน  แต่อย่าลืมว่าต้องพยายามสร้างกลุ่มให้เข้มแข็ง เป็นที่น่าเชื่อถือ และ พยายามดึงสมาชิก อบต. เข้ามาเป็นกรรมการศูนย์ข้าวด้วย เด้อ

         2. การบริหารกองทุน ประชุมสมาชิก อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนความรู้ ถ้าเจอปัญหามากชวนกันลงนาไปพิสูจน์ และ ต้องทำบัญชีให้โปรงใสด้วยนะ การป้องกันสมาชิกไม่เข้าร่วมมีหลายวิธีคือ เก็บเงินถ้าขาดครั้งละ 50 บาท ถ้าขาดประชุมมาก ก็ช่วยเหลือด้านปัจจัยน้อย ในส่วนของปัญชีบางศูนย์บอกว่าทำฟรีด้วยจิตอาสา ส่วนใหญ่เมื่อปันผลจะให้ตามกิจกรรมที่ทำถ้าช่วยงานมากก็ได้มาก การปันผลจะตามรอบของการปลูกข้าวประมาณ 4 เดือน/ครั้ง เรียกเก็บถังละ 70-130 บาท กลุ่มจะเรียกกันเองตามที่ประชุม และที่ประชุมจะต้องทำเงื่อนไขของการรับซื้อเมล็ดพันธุ์จากสมาชิกด้วยนะครับ ว่าถ้าทำดีเป็นที่น่าเชื่อถือเกวียนละเท่าใด ของชัยนาท บอกว่า แพงกว่าท้องตลาด 500 บาท

       3. แปลงพันธุ์ข้าว  กรรมการติดตามทุกระยะ ผู้ปลูกก็จะตัดพันะปนทุกระยะเช่นกัน ถ้าทำไม่ได้มาตรฐานก็ต้องส่งโรงสีแน่นอน ถ้าดีก็ได้เป็นพันธุ์ ส่วนใหญ่จะขนไปจ้างลานเอกชนตาก ค่าจ้างเกวียนละ 170-200 บาท มีอยู่ศูนย์หนึ่งบอกว่า จากครบกระบวนการจนหอบกระสอบข้าวเข้าเก็บ เกวียนละ 500 บาท น่าสนใจเหมือนกันนะครับ

      4.  ด้านตลาด  ส่วนใหญ่จะไปอยู่ในมือของพ่อค้าถุงขาวด้วยปัญหาขาดอุปกรณ์ ที่เก็บ และลานตาก แต่ก็ใช่จะสิ้นการบริหารจัดการเลย มีบางส่วนที่ให้เพื่อนเกษตรกรด้วยกันซื้อไปตากเองจะได้ราคาถูกหน่อย และอีกส่วนที่ดำเนินงานกันเอง และมี 3 ศูนย์ที่น่าพอใจมากเลยที่บริหารพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ใช้จำหน่ายให้กับสมาชิกและเพื่อนเกษตรกรกันเอง  สำหรับการประชาสัมพันธ์ พี่ๆ ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลเป็นผู้กระจายข่าวได้ดีโดยไปประชุมเกษตรกร หรืองานราชการที่ไหนก็บอกต่อด้วยนะครับ

         เกษตรกรสมาชิกศูนย์ข้าวฯ บอกว่า ต้องช่วยตัวเองก่อนที่จะขอรับการสนับสนุนจากที่อื่น เมื่อเราเข้มแข็งและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนเงินสนับสนุนจะหลั่งไหลเข้ามาเอง แต่มีหลายศูนย์ฯ ที่บอกว่า อบต. จะสร้างลานตาก ฉาง และอื่นๆ อีกหลายอย่าง แต่ขาดพื้นที่สร้างนี่ซิ น่าเจ็บใจยิ่งนัก ใครมีแนวทางดี ๆ ช่วยแนะนำบ้างนะครับ เพื่อนสมาชิกข้าวรอคำตอบ ครับผม

หมายเลขบันทึก: 132330เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2007 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณchudchainat

ดิฉันแวะมาแนะนำ ชวนกันใส่หมวดหมู่ และคำสำคัญ  ค่ะ

เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านนะค่ะ รบกวนลองใส่หมวดหมู่ที่สอดคล้องกับเนื้อหาของบันทึกนี้ดูนะค่ะ

จะไปลองทำบ้าง กับศูนย์ข้าวชาวใต้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท