การวิจัยเชิงปฏิบัติการ


การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  (Action  Research)ประวัติความเป็นมาของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ          การวิจัยเชิงปฏิบัติการเริ่มต้นในปี ค.ศ.1940 เป็นต้นมาและนำไปใช้อย่างหลากหลายทั้งในวงการศึกษา  การพัฒนาสังคม  องค์กรธุรกิจ  จุดกำเนิดที่สำคัญของงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ  คือ  ความพยายามในการแสวงหาความรู้ในการแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่แต่เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาสังคมให้การยอมรับในระดับสูงต่อการวิจัยที่ผลิตองค์ความรู้ที่ชัดแจ้งโดยนักวิจัยวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญแต่ก็พบจุดอ่อนของการวิจัยแบบดั้งเดิมที่ความรู้ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในบริบทของพื้นที่ที่มีความหลากหลายและพลวัตซึ่งนำมาสู่กระบวนการสร้างความรู้และใช้ความรู้โดยผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  ถ้าอำนาจคือความรู้  ความรู้คืออำนาจ  องค์กร  ผู้เชี่ยวชาญ  นักวิชาการก็เป็นผู้มีอำนาจในขณะที่ประชาชนรากหญ้าไร้อำนาจ  ไร้ความรู้  การวิจัยเชิงปฏิบัติการจะช่วยเติมช่องว่าง  ช่วยเสริมอำนาจของผู้ด้อยกว่าโดยผ่านกระบวนการผลิตความรู้   ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ          การวิจัยเชิงปฏิบัติการตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่า  ความรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นร่วมที่จะปฏิบัติการและสร้างความเข้าใจร่วมกัน  การวิจัยไม่จำเป็นต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอกเท่านั้น  ดังนั้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการจึงเสมือนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน          การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  หมายถึง  การนำความคิดไปสู่การปฏิบัติหรือการทดสอบทฤษฎีเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงสภาพสังคมและเพิ่มพูนองค์ความรู้  การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในบริบทที่เป็นจริง  การศึกษาสถานการณ์ทางสังคมโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นเพื่อการปรับปรุงการกระทำของตนเองและเพิ่มคุณภาพความเข้าใจในปรากฏการณ์  และเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องระหว่างการสืบสวนค้นคว้า  (Inquiry)  และการกระทำ  (Action)  ระหว่างการปฏิบัติ  (Practice)  และการคิดเชิงนวัตกรรม  (Innovative  Thinking)  หมุนเป็นวงเกลียวของการตัดสินใจปฏิบัติ  (Practical  Decision  Making)  และการประเมินผลสะท้อนกลับ  (Evaluation  Reflection)            การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  คือ  กระบวนการค้นหาความรู้อย่างลุ่มลึกเป็นระบบร่วมกันของทีมงาน  มีจิตใจใฝ่รู้เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อการสร้างความรู้ให้กับชุมชน  พร้อมทั้งการประเมินการทำงานของตนเองและเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมอันจะนำไปสู่การพัฒนาความเป็นมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง          ภายใต้นิยามความหมายที่หลากหลายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการพบว่ามีประเด็นร่วมที่เป็นแนวคิดหลักของการวิจัยเชิงปฏิบัติการดังนี้1.      การมีส่วนร่วม  (Participation)2.      ความร่วมมือ  (Collaboration)  โดยเสมอภาค  3.      กระบวนการสืบสวนค้นคว้า  (Inquiry  Process)4.      การเสริมพลังทวีคูณ  (Empowerment)5.      การสะท้อนกลับอย่างลุ่มลึก  (Critical  Reflection)6.      การสร้างความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  (Knowledge  on  Social  Change)ทั้งหมดที่กล่าวมาจะต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเป็นเป็นทีมในการดำเนินการตัดสินใจร่วมกันของสมาชิกในกลุ่มเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการควบคุมทางสังคมในเชิงบวก  ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการนั้นเพื่อการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น  ความรู้ที่ผลิตจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการจะต้องเป็นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติและเกิดประโยชน์ต่อวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนและชุมชน  หากการวิจัยเชิงปฏิบัติการขาดการสะท้อนกลับและเรียนรู้ทำความเข้าใจจะเปรียบเสมือนคนตาบอดเฉกเช่นเดียวกับทฤษฎีหากปราศจากการกระทำจริงทฤษฎีก็ไม่มีความหมายและการวิจัยเชิงปฏิบัติการมิได้เป็นเพียงการสร้างความรู้ที่นำไปใช้ได้จริงเท่านั้นแต่จะเป็นการสร้างความสามารถใหม่ในการผลิตความรู้ด้วย  ฐานความคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการØ   หลักการกระจายอำนาจ  (Decentralization)  หากไม่รู้ไม่เข้าใจบริบทพื้นที่  (Local  Content)  ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่หลากหลายของพื้นที่ได้  การวิจัยเชิงปฏิบัติการเชื่อในความรู้ที่แตกต่างหลากหลายของพื้นที่ว่ามิใช่มีชุดความรู้เพียงชุดเดียวØ   หลักการไม่ยึดติดระเบียบวิธีวิจัย  (Deregulation)  แบบดั้งเดิมที่ต้องสามารถสร้างข้อสรุปทั่วไป  (Generalization)  ได้ข้อสรุปของพื้นที่หนึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกับอีกพื้นที่หนึ่งØ   หลักการประสานความร่วมมือ  (Cooperation)  ในกระบวนการสืบสวนค้นคว้า  (Inquiry  Process)  มิใช่มาจากนักวิจัยภายนอก  แต่มาจากผู้ที่เกี่ยวข้อง  (Stakeholders)  หรือสมาชิกในชุมชน  (Local  Member)  ที่มีวัฒนธรรมของการสืบสวนค้นคว้า  (Culture  of  Inquiry)  ร่วมกันØ   แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแบบดั้งเดิม  โดยเน้นที่กระบวนการสะท้อนกลับระหว่างการปฏิบัติ  (Reflective  Practice)   คุณลักษณะที่สำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  มีดังนี้1.      มีบริบทที่เชื่อมโยงกับปัญหาในชีวิตจริง2.      เป็นการสืบสวนค้นคว้าที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง3.      ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของประสบการณ์และความสามารถของผู้ปฏิบัติ4.   คุณค่าและความหมายใหม่ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสืบสวนค้นคว้านำไปสู่การปฏิบัติการที่สร้างคุณค่าใหม่ให้แก่สังคม5.   ความเชื่อถือในความเที่ยงตรงของความรู้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  พิจารณาจากความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือเพิ่มอำนาจของผู้ที่เข้าร่วมกระบวนการในการควบคุมปัญหา ขั้นตอนกระบวนการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  มีดังต่อไปนี้1.   การวางแผน  (PLAN)  พัฒนาแผนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  กำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการตรวจสอบและตกลงแนวทางร่วมกันกับผู้ร่วมงาน2.   การปฏิบัติ  (ACT)  ดำเนินการตามแผน  หากเป็นการดำเนินการในวงรอบที่สองจะต้องนำผลการวิจัยในรอบที่หนึ่งมาปรับปรุงการดำเนินงาน3.      การสังเกต  (OBSERVED)  เก็บรวบรวมข้อมูลโดย-          การดำเนินการรวบรวมผ่านการประเมินแบบมีส่วนร่วม-          การสังเกต  (รวบรวมข้อมูล)  จะได้รับการวางแผนล่วงหน้า-          การบันทึกต้องตอบสนองเป้าหมาย-          การรวบรวมข้อมูล  กระบวนการและผลภายใต้บริบทจริง-          ระดับการรวบรวมข้อมูลดำเนินการทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและกลุ่ม4.   การสะท้อนการปฏิบัติ  (REFLECTION)  เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความกระจ่างชัดในความหมายของประสบการณ์  (ปัจจุบันและอดีต)  ความหมายของตนเอง  (Self)  และความหมายที่สัมพันธ์กับภายนอก-          ข้อมูลที่รวบรวม/สังเกตจะนำมาอภิปรายในกลุ่มเพื่อหาทางเลือกในการวางแผนต่อไป-          การสะท้อนกลับรวมถึงการสะท้อนเกี่ยวกับตนเองโดยผู้ร่วมงานเป็นผู้สะท้อนร่วมกัน-    ขั้นใคร่ครวญคิดให้เป็นระบบและชัดเจนสิ่งที่สำคัญ  กล่าวคือ  กระบวนทัศน์ที่ต้องมีแนวคิด  Critical  Theory  (เรียนรู้เชิงวิพากษ์ต่อสรรพสิ่งนำทฤษฎีและการปฏิบัติมาเป็นกระบวนการเชิงวิพากษ์)           
คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย
หมายเลขบันทึก: 132129เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2007 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท