เที่ยวแบบขนนก ที่อัมพวา (ที่เดียวสามวันสองคืน) ๒๘-๓๐ พ.ค. ๕๐


เชิญชวนให้เที่ยวแบบนี้ครับ ที่เดียวหลายวัน จะได้อะไรกว่าที่คิดครับ

ไม่ได้เขียน Blog ท่องเที่ยวเสียนาน คงเพราะสร้างบ้าน ปิดเทอมนี้เลยงดท่องเที่ยว บ้านเสร็จแล้ว ปิดเทอมหน้าคงได้เที่ยวกันใหม่

ทริปนี้มากับที่ทำงาน แบบว่ามาอบรมหัดทำ Project ให้ชุมชนแถวอัมพวา ไม่รู้จะได้เรื่องหรือเปล่า

ทริปนี้ต้องบอกว่าเที่ยวแบบขนนกครับ (นี่คำ พี่จิก-ประภาส ชลศรานนท์ เขานะ อยู่ในเล่ม กบเหลาดินสอ บท เที่ยวละไม ครับ) คือ พักที่เดียวสามวัน ค้นหาตัวตนของชาวบ้าน,ชุมชน เรียนรู้การใช้ชีวิต และซึมซับแนวคิดของพวกเขา มาประยุกต์ใช้กับตัวเรา และลองเอามาประสานกับสิ่งที่เรารู้แล้วลองทำ Project ที่ได้รับมอบหมาย

สรรพคุณของอัมพวาเป็นแหล่งโฮมสเตย์ มีหิ่งห้อยให้ดูมากมาย เล็งไว้นานแล้วว่าจะไป แต่เพิ่งได้ไปครั้งแรกก็ครั้งนี้แหละ พักฐณิชาฌ์รีสอร์ท เขาว่าเป็นบูติก รีสอร์ทแห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดสมุทรสงคราม ลองเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.thanicha.com

ขับรถไปเองด้วยเลยต้องศึกษาเส้นทาง ก็งงๆ จนเจอคนอัมพวาชื่อคุณอาร์ท เป็นข้าราชการที่มาดูงานเมื่อวันศุกร์ แบบไม่ได้คาดหวัง จึงพอเบาใจเมื่อเขาอธิบายเส้นทาง

เขาว่ากันว่าที่อัมพวามีร้านโปสการ์ดสองร้านเด่นๆ คือ ร้านพี่ไกรฤกษ์ (ร้านนี้รายได้ช่วยสุนัขจรจัด) และ ร้านคุณโจ (จำชื่อร้านไม่ได้) แต่เขาเปิดศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เลยใช้ความสัมพันธ์ของคุณอาร์ท อาจจะได้ชมในร้านคุณโจ เผื่อได้การ์ดมาสะสมบ้าง หรือส่งให้ใครๆ บ้าง
กลางคืนคุณโจโทรมายกเลิกเลยอดไปร้านเขาเลย

จริงๆ ไปถึงอัมพวาแต่เช้า แต่ยังหาแหล่งอาหารเช้าไม่ได้เลย คุณอาร์ทแนะนำแต่ข้าวมันไก่ เห็นว่ามีสองร้านอร่อย นึกถึงติ่มซำ อาหารเช้าที่หาดใหญ่และสุราษฎร์ฯ จัง

๒๘ พ.ค. ๕๐
เช้าขับจากกรุงเทพฯ รับเพื่อนที่พระราม ๒ ซอย ๓๗ แล้วขับต่อไป แวะทานอาหารเช้าที่ A&W ในปั๊ม JET
แล้วขับมุ่งสู่อัมพวา
ไปร้านศรีอัมพวา พบเฮียเล้ง ประธานชมรมท่องเที่ยวอัมพวา เป็นร้่านขายหนังสือ มีโปสการ์ดฝีมือลูกแกขายด้วย ซื้อซะจำนวนหนึ่งเพราะสวยดี ได้สีสันปก เพชร โอสถานุเคราะห์ ที่นี่ด้วย
จากนั้นไปรับ ดร.วรภัทร์ ที่ฐณิชาฌ์รีสอร์ท เขาให้ Check in หลังเที่ยง แต่เปิดห้องให้เอาของเก็บ ๑ ห้องก่อน บรรยากาศดีครับที่ฐณิชาฌ์นี่ มีจักรยานให้ปั่นตามริมน้ำได้ด้วย

ขับรถไปจอดร้านศรีอัมพวาในตลาดอีกครั้ง เพื่อไปร่วมทีมไปเยี่ยมชมร้่านปิ่นสุวรรณ เบญจรงค์
ที่นี่ใช้ Royal bowl china เป็นวัตถุดิบ
ต้นทุนของการผลิต สัดส่วน วัตถุดิบ:การลงสี เป็น ๙๐:๑๐
ขั้นตอนการทำคือ ขึ้นลาย ลงสี เผา

จากนั้นไปดู เตาตาล เอาน้ำตาลจากต้นมะพร้าวมาเพิ่มมูลค่า

ไปวัดบางกะพร้อม นมัสการหลวงพ่อคง ชมรอยพระพุทธบาท

เยี่ยมชมหัตถกรรมบ้านทรงไทย อัมพวา ซื้อแบบต่อบ้านทรงไทยมา ๑ กล่อง ให้ลูกหัดต่อ หากซื้อของให้ลูก อย่าซื้อสำเร็จรูปนะครับ ให้ได้ต่อ ได้พยายาม ได้อ่านคู่มือ จะช่วยพัฒนาลูกได้มากกว่า

โจทย์ที่ได้รับในการทำ Project ครั้งนี้
ทำงัยให้อัมพวายั่งยืน?
New products?
New process?
วิธีการคือ
คุยกับชาวบ้าน
ทำไมชาวอัมพวาไม่ทิ้งถิ่นฐาน
ทำไมชาวบ้านมีความสุข
ทำไมชาวบ้านอายุยืน
ใช้ Sensing ให้มากๆ

เอาวงจร KID (Knowledge  Information  Data) มาใช้
ก่อนทำ Project ไปเที่ยวกันก่อน
บ่ายสอง ล่องเรือไปวัดจุฬามณี หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท ร่างไม่เปื่อยไม่เน่า มรณภาพตั้งแต่ ๒๗ พ.ย. ๒๕๓๐ อายุ ๗๘ ปี

วัดบางแคน้อย
โบสถ์สวยที่สุด ไม้ ๗ แผ่น (หน้ากว้าง)
มีทศชาติในโบสถ์
หลวงพ่อแพร อายุ ๘๒ ปี ยังดูหนุ่มอยู่เลย

วัดบางกุ้ง เคยเป็นค่ายทหารเก่าสมัย ร.๑
โบสถ์ในต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไกร ต้นกราก
ขลังเรื่องการงานราบรื่น
มุมเหมือนในหนังประวัติศาสตร์เลย

สองทุ่มล่องเรือดูหิ่งห้อย ประทับใจสมคำร่ำลือ

๒๙ พ.ค. ๕๐
ตื่นเช้ามาตักบาตร มีทั้งทางบกและทางน้ำเลย

ตักบาตรเสร็จเดินไปจนสุดตลาด
จดที่พักที่อื่นมาด้วย
รสสุคนธ์ โฮมสเตย์ 0813737390
ภูษิตโฮมสเตย์ 0897456238
บ้านคลองอัมพวาเกสต์เฮ้าส์ แอนด์ แกลอรี 0812074733

เฮียเล้ง มาคุยให้ฟัง ตอนสายๆ
ต้นรัตนโกสินทร์ เคยมีตลาด
เกิดใหม่ ๔ ปี
เป็นตลาดเย็น หลบดำเนินสะดวก
ห้ามสร้างตึก
ต้องกันร้านค้าใหญ่ๆ เช่น 7-Eleven
ลูกหลานกลับมาทำงานบ้านได้ ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์

กลุ่มเราก็เริ่มเดิน ร้านที่ทุกคนต้องแวะคือ ร้านกาแฟสมานการค้า โกโก้เย็นที่นี่อร่อยมาก เพราะผมไม่ทานกาแฟ
เดินไปจนเที่ยง ทานข้าวมันไก่สูตรไหหลำ สอบถามชีวิต ก็พบว่าเคยเป็นร้านตีเหล็กมาก่อน แล้วปรับตัวเพราะกิจการตีเหล็กไม่รุ่ง ทำไก่ไปศาลเจ้าอยู่แล้ว เลยทำข้าวมันไก่สูตรไหหลำเสียเลย

มีอีกร้านที่น่าแวะคือ ร้านขายของที่ระลึกที่ทำจากกะลามะพร้าว ผมได้ที่ใส่เหรียญมาสองใบ สวยดี

สุดท้ายทางทีมก็นำเสนอเรื่องสร้างแหล่งข้อมูลชุมชนชาวจีนที่อัมพวา

๓๐ พ.ค. ๕๐
พี่ๆ Share ศูนย์ศิลปาชีพที่ญี่ปุ่น

ความเจริญทางด้านวัตถุ และความเจริญทางด้านจิตใจควบคู่กันไป

Project based learning
เก็บการเรียนรู้จากชาวบ้าน ธรรมชาติ
การเรียนรู้ ประกอบด้วย ๓ ส่วน
๑. สร้างพลังศรัทธา
๒. การเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้
๓. โลกนี้อยู่ภายใต้ความซับซ้อน
นำไปสู่วินัย ๕ ประการของ Peter Senge

เรียนรู้อะไรเยอะดีครับ อยากอายุยืนต้องอยู่ที่อากาศดี อารมณ์จะดีด้วย
ไม่ทิ้งถิ่นฐานครับ พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ต้องต้านเรื่องวัตถุนิยมด้วยนะครับ ไม่รู้จะได้ซักกี่น้ำ

เชิญชวนให้เที่ยวแบบนี้ครับ ที่เดียวหลายวัน จะได้อะไรกว่าที่คิดครับ

หมายเลขบันทึก: 132125เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2007 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ได้ตามดูเรื่อง Project based learning กับคนดอยแล้ว
  • ชอบมากๆๆ
  • เป็นวิธีการเรื่องที่ดี
  • ที่บอกแบบนี้เพราะทำปริญญาเอกภาษาอังกฤษเรื่อง Project Baesd Learning
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท