>15< ฟื้นความทรงจำ บุญข้าวสาก


บุญข้าวสากนี้จะทำกันในวันเพ็ญเดือนสิบ จึงเรียกชื่ออีกอย่างว่า "บุญเดือนสิบ"

บุญข้าวสากบ้านเฮา

                  

                   วันนี้ได้คุยกับที่บ้านนานมาก   เนื่องจากว่าย้อนนึกถึงอดีตทบทวนความจำกับแม่สมัยเด็ก ๆ  กัน  วันนี้ที่บ้านหลาน    แย่งกันเพื่อไปเยี่ยมบ้านญาติ    ทั้งที่อยู่ใกล้ไกล  เนื่องจากเป็นเทศกาลบุญข้าวสาก  (คนอีสานเขาเรียกกัน)   ทำให้นึกถึงสมัยเด็ก ๆ เคยแย่งกันกับน้องเพื่อนำข้าวสารไปบ้านญาติผู้ใหญ่   จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะให้ศีลให้พร    และที่สำคัญเด็ก ๆ  ชอบ  คือได้เงินด้วย   

                      

                     ส่วนในตอนเช้าของอีกวัน  (วันเพ็ญเดือนสิบ)  ทุกคนจะนำอาหารไปถวายพระที่วัด     สิ่งที่นำไปทำบุญข้าวสาก       คือ      ห่อข้าวน้อย      ห่อข้าวใหญ่     ข้าวสาก  และอาหารอื่น ๆ บางแห่งอาจจัดของที่จะถวายเป็นกัณฑ์เทศน์ไปด้วย

                       หลายคน  หรือหลาย ๆ ภาคอาจจะทำแตกต่าง  หรือเรียกแตกต่างกันไป    บางที่เรียกข้าวสลากเพราะว่า     เป็นการทำบุญที่ให้พระเณรทั้งวัด   จับสลากเพื่อจะรับปัจจัยไทยทาน ตลอดจนสำรับกับข้าว ที่ญาติโยมนำมาถวาย     โดยการเขียนชื่อผู้ที่จะถวายสำรับไว้   แล้วให้พระภิกษุแต่ละรูปจับสลากชื่อของชาวบ้านที่ต้องการถวายสำรับพระภิกษุรูปใดจับสลากได้ชื่อใคร ผู้นั้นก็นำสำรับกับข้าวของตนไปถวายพระภิกษุรูปนั้น   (บางแห่งชาวบ้านเป็นผู้จับสลากชื่อพระ)

และบุญนี้จะทำกันในวันเพ็ญเดือนสิบ     จึงเรียกชื่ออีกอย่างว่า "บุญเดือนสิบ"         

                   สำหรับข้าวสากที่จะนำไปแจกกันเหมือนกระยาสารทของคนไทยภาคกลางนั้นวิธีห่อผิดกับทางภาคกลาง เพราะห่อด้วยใบตองกลัดด้วยไม้กลัด   นี่เลยค่ะ

หัวท้ายมีรูปลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด   แต่ตรงปลายทั้งสองข้าง
ที่เรียกว่าสันตองไม่ต้องพับเข้ามา   ของที่ใส่ในห่อ  มีข้าวต้ม (ข้าว
เหมือนแบบข้าวต้มผัด) ข้าวสาก   แกงเนื้อ  แกงปลา  หมาก   พลู  บุหรี่ห่อแล้วเย็บติดกันเป็นคู่ ๆ เอาไว้
      

  

                            กิจกรรมนี้ผู้เขียนชอบมากเลยค่ะ    คือจะมีการแขวนห่อข้าวน้อย   ห่อข้าวใหญ่ไว้ตามต้นไม้      กำแพงวัด   หรือที่ต่าง   ในบริเวณวัด   เมื่อแขวนไว้แล้วก็จะตีกลอง     เป็นสัญญาณให้เปรตมาเอาไปและปล่อยทิ้งไว้   กะเวลาที่เปรตได้มารับเอาอาหารที่แขวนไว้นั้นไปแล้ว       จะให้สัญญาณชาวบ้านก็แย่งกันชุลมุน        ใครแย่งเก่งก็ได้มากกว่าคนอื่น      เรียกว่า      แย่งเปรต   
                   

                       ของที่แย่งเปรตไปได้นี้   ชาวบ้านจะเอาไปไว้ตามไร่นา    เพื่อเลี้ยงตาแฮก   (เทพารักษ์   รักษาไร่นาซึ่งเคยเลี้ยงมาเมื่อตอนเริ่มทำนาในเดือน  ๖   มาครั้งหนึ่งแล้ว)   นอกจากเลี้ยงตาแฮกแล้วก็เอาไปให้เด็กรับประทาน   เพราะถือว่าเด็กที่รับประทานแล้วจะอ้วนท้วนสมบูรณ์ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p>     </p><p>                        ผู้เขียนเคยนำไปโยนใส่ในนาข้าว    เพราะแม่บอกว่าทำให้ข้าวในนาที่ปักดำไปนั้นงอกงาม และได้ผลบริบูรณ์ และเป็นการอุทิศส่วนกุศลถึงญาติผู้ล่วงลับ ไปแล้วด้วย     </p><p></p><p></p><p>                         เป็นความทรงจำที่อาจจะบรรยายไม่หมด    หรือข้ามไปบ้าง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้นะคะแต่ละที่อาจเชื่อและทำไม่เหมือนกัน    อยากรู้ว่าที่อื่นเขาเรียกและทำบุญเดือนสิบนี้อย่างไรบ้าง  </p><h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></h2><h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"> ขอบคุณค่ะ</h2><p></p>

คำสำคัญ (Tags): #บุญข้าวสาก#15
หมายเลขบันทึก: 131671เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีครับครูP

  • ที่บ้านผมไม่ห่อแบบที่ครูบรรยายแต่จะทำข้าวตอกแตก ผสมน้ำตาลไปถวายพระ ไม่มีจับฉลาก ถวายพระทุกองค์ ตอนตักบาตรยามเช้าที่ศาลาการเปรียญ ข้าวตอกแตกและข้าวเหนียวเหลือเป็นเล่มเกวียน ก็บ้านผมมี สองร้อยหลังคาเรือนตอนที่เป็นเด็กหน้าตาเหมือนในภาพครับ บ้นหลังไหนมีกี่คนก้ไปทั้งนั้นเหลือไว้คนที่ไปไม่ได้จริงๆ (วัวควายวันนั้นต้องออกคอกหลังจากตักบาตรเสร็จราว 08.30 น.) ของเหลือจากพระคนจนจะได้รับก่อนดังนั้นไม่แปลกที่เด้กชายผู้ฮ้ายคนนี้จะมีสิทธิ์ ดังนั้นพระฉันเสร็จพระบอกว่า "เสสัง มังคะลัง ยาจามิ" ว่าตามจบก็เอาของมาขนไปกินบ้าน  ...จากนั้นเมื่อกลับบ้านก็จะไปปล่อยควยไปหากินหญ้าพ่อกับแม่ก็ไปนาเอาข้าวตอกแตกไปวางไว้ตามทุ่งนา คราวนี้ห่อแต่ห่อแบบถ้วยใบตองครับ แล้วเอิ้นผีตาแฮกผีไอ่ผีนามากินและบอกให้ผีเบิ่งแยงไอ่นาซ่อย ขอให้ข้าวปลานาน้ำงาม อุดมสมบูรณ์ เมื่อญายข้าวตอกแตกแล้วกะมาเถียงนาหาแนวกินแซบๆสู่กันกิน ต้มสัมกบแต่ ตำบักหุ่งแด่ เว้ามาหิวเข้า(ข้าว)แล้ว ...
  • ปีนี้ไม่รู้จะได้กินข้าวตอกแตกไหมก้ไม่รู้ เพราะไม่ได้กลับบ้าน แง้ๆๆ...แม่ก็ไม่มาหาอีกต่างหากเพราะน้องเขยมัวแต่หาเสียง อบต. กะว่าวันหยุดต้องกลับไปกินข้าวตอกแตกฝีมืออีแม่ที่แซบที่ซู๊ดให้ได้
  • นี่แหละคนบ่มีเมียเว้ามาคึดฮอดแม่ ตอนนี้แม่คือคนที่ดีที่สุด แต่ว่าถ้าได้เมียต้องยกให้เมียเป็นแม่ทูนหัว จักไผซิดีก่อนไผบาดนี้ เพราะมีคนพุดว่าแม่นะออกเราครั้งเดียวเมียนะออกทุกมื้อทุกวัน ว่าซั้นเด้

ขอบคุณครับครูที่เล่า

  • สวัสดีค่ะP อาจารย์ โกศล คงสมปราชญ์
  • ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนค่ะ
  • บรรยายจนเห็นภาพเลยนะ
  • รีบรีบไปค่ะกลับพรุ่งนี้ยังทันนะเช้า ๆ  หน่อย 
  • แล้วอย่าลืมกินเผื่อด้วยนะคะ
  • มีโอกาสก็ถ่ายมาโชว์กันหน่อยข้าวตอกแตกแถวนั้นหน้าตาเป็นยังไง
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะครูรักษ์

  • มาเรียนรู้ บุญข้าวสาก ค่ะ  เพิ่งเคยได้ยินจริงๆค่ะ   แถวบ้านมีจับสลาก แต่เป็นอย่างอื่น ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเหมือนบุญข้าวสากหรือเปล่า
  •  มีเรื่องดีๆ มาเล่าบ่อยๆอย่างนี้ต้องตามมาอ่านอีกค่ะ 
  • ขอบคุณค่ะครูรักษ์ .....
  • ขอบคุณค่ะP
  • สวนทางกับครูยิ้มยิ้มให้ครูเห็นมั๊ยคะ...
  • ที่หล่มไม่มีเหรอคะบุญเดือนสิบ  ว้า  ...งั้นก็อดฟังครูเล่าหนะสิ 
  • วันนี้เด็กสอบเสร็จแล้วค่ะแต่ยังไม่หยุด
  • มาเถอะค่ะบันทึกนี้แล้วจะเจอคนใจดี   กับคนที่ดีใจ  อิอิ

สวัสดีค่ะ

 รู้สึกทางนี้จะเรียก สลากภัต ทำลักษณคล้ายกัน มีจับสลาก แต่ไม่มี แย่งเปรตค่ะ น่าสนุก ได้ความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ

  • คุณP
  • สลากภัต จังหวัดชลบุรีใช่ไหมคะ
  • เคยได้ยินมาบ้างเหมือนกันค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่ร่วมแลกเปลี่ยน

 

  • เหมือนภาคใต้จะเรียกว่าชิงเปรตนะ
  • ที่บ้านผมเหมือนจะมีกระยาสาทร
  • ชอบกินอร่อยมาก
  • ไปทำบุญที่วัด
  • มีความสุขดี
  • แล้วได้กลับบ้านหรือยังครับผม
  • สวัสดีค่ะ  ครูรักษ์นะ..

รูปใหม่ดูไฉไลนะคะ  อิอิ  ต้อมไม่ได้เข้ามาทักทายนานเลย  มัวแต่นั่งชิงช้าเพลินไปหน่อย  555

อืมมม  เพิ่งเคยได้ยิน " เทศกาลบุญข้าวสาก " ค่ะ   ไม่รู้ว่าจะคล้าย ๆ กับ ตานก๋วยสลาก แถวบ้านต้อมไหม?

 

คิดถึงค่ะ  ^_^

  • ขอบคุณPมากค่ะ
  • ยังไม่หยุดค่ะ
  • ขอบคุณPน้องต้อมด้วย
  • สอบถามคนภาคเหนือให้แล้วนะ
  • เขาบอกว่าคล้าย ๆ  กัน

สวัสดีครับ

มาร่วมรำลึกด้วยคน แต่ของผมคงต้องใช้เวลาย้อนไปนานหน่อย

ที่บ้านผมที่เชียงใหม่ ตอนที่ยังเด็ก ในวันก่อนวันพระใหญ่เช่น วันเข้าพรรษา ออกพรรษา วิสาขะ ฯลฯ พวกเราเด็กๆจะถูกพ่อแม่ใช้ให้ไป "ทานขันข้าว"

แม่จะจัดสำรับกับข้าว ประกอบด้วยอาหารคาวหวานที่เตรียมไปทำบุญนั่นแหละครับ แต่แบ่งมา

พวกเราเด็กๆ มีหน้าที่นำไปให้ญาติผู้ใหญ่ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือผู้ที่เคารพนับถือ ท่านก็จะให้พรเสียยืดยาว แถมเงินด้วยเหมือนกัน ส่วนอาหารที่เราเอาไปให้ท่านก็จะเก็บไว้เอาไปทำบุญที่วัดครับ

  • แปลกดีเนอะ...ทั้งรูปแบบและการเรียกชื่อ ไม่เคยรู้จักเลยอ่ะ...
  • ขอบคุณนะคะที่ทำให้ได้เห็นประเพณีพื้นถิ่นที่แตกต่างน่ะ...
  • ส่วนของพี่แหววแบบภาคกลางก็รู้ๆ กันอยู่เนอะ

 

  • ขอบคุณคุณPนะคะ
  • ที่เล่าสู่กันฟัง 
  • ประเพณีในแต่ละภาคล้วนแต่ดีงามและสอดคล้องกับการดำรงชีวิตในแต่ละท้องถิ่นค่ะ
  • Pพี่แหววจ๋า
  • ชื่อและวิธีอาจแตกต่างกัน  แต่รักษ์ว่าจุดประสงค์คงไม่ต่างกันเท่าไหร่หรอกค่ะ
  • ทำไมช่วงนี้เห็นพี่สาว งานยุ่งจังคะ  พักผ่อนบ้างน๊า  มีอะไรให้ช่วยม๊า  เดือนนี้จะเป็นไทแล้ว    เมื่อก่อนเป็นลาว...อิอิ  คงพอมีเวลาว่างบ้างเพราะเป็นช่วงที่เด็กปิดเรียน  
  • ขอบคุณนะคะพี่สาวที่แวะมา  แล้วจะแวะไปหาบ่อย ๆ นะคะ    บ๊ายบายค่ะ

สวัสดีครับคุณรักษ์

  • ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับ 
  • หายไปซะนาน คิดถึงอยู่นะครับ
  • เสียดายบุญข้าวสากไม่ได้กลับบ้าน เรียกว่าลืมไปเลย  นี่ถ้าคุณรักษ์ไม่เอามาเขียน  คงยังนึกไม่เจอ
  • เป็นวัฒนธรรมที่ดีมากๆเลยครับ  นึกถึงตอนเด็กๆครับ  แม่จะใช้เอาสลากไปห้อยที่นาทุกปี
  • อ้อ... เด็กๆปลุกต้นไม้ที่โคกเพชร  แก้ไขให้มีภาพประกอบเป็นหลีกฐานว่าเรา(บ้า)ปลูกจริงๆเหมือนดาบ(หมวด)วิชัยน่ะครับ
  • ลองเข้าดูใหม่อีกทีนะครับ
  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณPครูวุฒิมากค่ะ
  • ประเพณีบ้านเราแฝงแง่คิดคติสอนใจและปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้กับลูกหลานเสมอค่ะ
  • แวะไปเยี่ยมโคกเพชรมาแล้วค่ะครูชื่นชมมาก ๆ
  • ขอบคุณอีครั้งนะคะ  ดีใจค่ะที่ได้คุยกับครู

สวัสดีค่ะ

  • มาที่นี่เหมือนได้เที่ยวงานบุญครบทุกภาคค่ะ
  • สาระของงานออกจะคล้ายๆ กันนะคะ...>>เลี้ยงวิญญาณบรรพบุรุษ>>เลี้ยงวิญญาณเร่ร่อน>>เลี้ยงเจ้าที่>>เลี้ยง ฯลฯ แต่ชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภูมิภาค
  • ที่เหนือกว่านั้น...ลูกหลานได้พบปะบุพการีและญาติมิตร..ที่ยังอยู่...อบอุ่นใจค่ะ

ขอบคุณค่ะที่นำมาเล่าให้ได้ฟื้นความจำ

  • ขอบคุณคุณครูPมากค่ะ
  • ดีใจที่รู้จักและเข้ามาทักทายค่ะ
  • แอบไปชื่นชมผลผลิตของคุณครูมาแล้วค่ะ
  • สวัสดีครับคุณครูรักษ์นะ
  • ดีจังเลยครับ ได้เรียนรู้ว่าแต่ละภูมิภาคเรียกชื่องานต่างๆกันไป แต่ก็มีความหมายในสิ่งเดียวกัน
  • ขอบคุณครูรักษ์นะ ที่นำสิ่งดีๆมาแบ่งปันครับ
  • สวัสดีค่ะPคุณบัวชูฝัก
  • ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาเยี่ยมชมประเพณีที่ดีงาม

ทำ pop corn ให้ลูกชายรับประทาน ทำให้คิดถึงสมัยตอนเป็นเด็กแม่กับเพื่อนบ้านจะคั่วข้าวตอกแตก เพื่อนำไปทำบุญที่วัด ส่วนที่เหลือก็เก็บไว้รับประทานกันที่บ้าน และแบ่งเพื่อนบ้านด้วย เด็กๆก็จะห่อไปรับประทานที่โรงเรียน ตอนนั้นบ้านเราอยู่ในหมู่บ้านเกษตรกรที่อุดรธานี  เราก็เรียกบุญข้าวสาก เหมือนกัน

คนไทยเราเคยมีประเพณีต่างๆที่งดงามมากมาย แต่เสียดายตอนนี้คนรุ่นใหม่ๆอาจจะไม่ค่อยได้สัมผัส แล้ว ยิ่งตอนนี้ต้องอยู่ไกลบ้านยิ่งทำให้คิดถึงเมืองไทย คิดถึงวิถีชีวิตที่งดงามของคนไทยสมัยก่อน ดีใจค่ะที่ยังมีคนไทยหลายๆคนเห็นคุณค่าและรักประเพณีไทย

  • ขอบคุณคุณ  ขนมค่ะ
  • น่าเสียดายถ้าเราจะปล่อยให้สิ่งที่ดีงามของไทยค่อยลบเลือนไป
  • อะไรที่ดีดีต้องนำกลับมาเล่าเพื่อมิให้ลืมเลือนค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท