การสัมมนาแนวทางการปฎิบัติงานส่งเสริมการเกษตรปี 2551(ต่อ)


เราจะทำงานนิดเดียว แต่จะเกิดประโยชน์มาก

ขอเล่าเรื่องที่ไปสัมมนาแนวทางการปฎิบัติงานส่งเสริมการเกษตรปี 2551(ต่อ) นะคะ

ท่านอธิบดีได้กล่าวเพิ่มเติมถึงจุดพลิกผัน(คานดีด-คานงัด)หรือเรียกว่า leverage factor ในงานส่งเสริมการเกษตรซึ่งท่านได้เล่าถึงจุดพลิกผันของการคุมกำเหนิดในประเทศไทยว่าการลดจำนวนบุตร จุดคานงัดอยู่ที่ผู้หญิงให้มีความรู้ความเข้าใจการมีบุตรมากจะทำให้กระดูกพรุน การเลี้ยงดูและ..........ทำให้การรณรงค์เรื่องนี้สำเร็จได้ด้วยดี

จุดพลิกผันในงานส่งเสริมการเกษตร มี 2 จุดคือ

จุดแรก ศูนย์ข้าวชุมชน  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรมีที่ดินปลูกข้าวผืนเดียวกัน 200 ไร่(พื้นที่ไข่แดง) มีจุดระบายน้ำออกและระบายน้ำเข้า ศูนย์นี้ทำหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ 200 ไร่ ขยายไปเป็น 8,000 ไร่(ภายใน 3 ปี)ทำให้พันธุ์ดีขยายไปโดยไม่กลายพันธุ์ หากสามารถจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนทำหน้าที่ผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี กระจายไปทั่วประเทศ โดยศูนย์นี้อาจผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอื่น ๆ เช่นถั่วเขียว ถั่วเหลือง และทำงานแบบครบวงจรเช่นการบริการรถไถ โรงสีชุมชน ผลพลอยได้คือแกลบ เผาขายขี้เถ้าต่อได้ เป็นต้น

จุดที่สอง ศูนย์คัดแยกไม้ผลระยะยาว  เราได้บทเรียนจาก 3 จังหวัดภาคใต้ มีผลผลิตเหลือมากเพราะไม่มีพ่อค้าไปรับซื้อที่สวน จึงต้องขนมาไว้ที่ ศูนย์คัดแยกเหล่านี้จะทำหน้าที่การคัดแยกผลผลิตโดยดูคุณภาพจาก farm สู่ศูนย์ฯเป็นฝั่ง supply site  ส่วนด้านตลาดเราคุมด้วย GAP  เป็นฝั่ง demand site    หากเรารู้ GAP ของแต่ละประเทศเราก็สามารถจัดการได้ถูก  ขณะนี้เราได้คุยกับ กรมวิชาการเกษตรและมกอช. ในการบริหารผลไม้ของประเทศ โดยมี stake holder ทั้งพ่อค้า เกษตรกรและอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย  ในรูปคณะกรรมการมี รมต.เป็นประธาน อธส.เป็นเลขานุการ

จุดพลิกผันทั้งสอง หากเราบริหารจัดการได้ดี เราจะทำงานนิดเดียว แต่จะเกิดประโยชน์มาก โดยท่านอธิบดีได้กล่าวว่าจะให้งบประมาณเกษตรตำบลในการทำงานเดือนละ 2,000 บาทต่อคนต่อเดือนรวม 9 เดือน

นอกจากนี้ท่านได้กล่าวเพิ่มเติมว่ากรมฯต้องการนักปรัชญาเพิ่ม ทำหน้าที่ประยุกต์และสร้างเพิ่มคุณค่าให้แก่ตัวข้าราชการเอง และต่อเกษตรกรด้วย เราต้องการ 2,000 คน(คิดเป็น ร้อยละ 20 ของข้าราชการในกรมฯ) เราต้องการให้ทุกคนทำงานแบบมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  ไม่ใช่แบบลูกน้องกับนาย(แบบเดิม)  โดยในช่วงที่ผ่านมาเราได้อบรม ไปแล้ว ประมาณ 500 คนใน 3 หลักสูตรคือ

  • คลื่นลูกใหม่         2         รุ่น
  • เกษตรอำเภอ       3         รุ่น
  • เกษตรจังหวัด      1-2      รุ่น

ท่านได้กล่าวถึงอีกงานหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นงานหลักของกรมฯคือการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในหลายเรื่องเช่นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การที่จะดูว่า พอเพียง เป็นอย่างไรให้ดูที่การพึ่งพาตนเองได้ เป็นตัวชี้วัดหลัก ดูง่าย ๆ ว่าถ้าไม่มีรถพุ่มพวงเข้ามาในหมู่บ้านแสดงว่าพึ่งพาตนเองได้

เศรษฐกิจพอเพียงเน้นการพึ่งพาตนเอง มีงานมาเกี่ยวข้องอยู่ 4 เรื่องคือ

1.ความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้เริ่มที่คนเป็นศูนย์กลาง นำหลักปรัชญาฯมาใช้ในเรื่องของการมีความรู้ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี

2.การมีส่วนร่วม การนำ km เป็นเครื่องมีอในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.การทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้

4.ต้องมีการปลูกฝังทัศนคติและอุดมการณ์ที่ดีให้เกษตรกร โดยเจ้าหน้าที่ต้องมีสิ่งนี้ก่อน ซึ่งเรื่องนี้เป็นบทบาทสำคัญของเกษตรตำบลที่ระบุไว้ในระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยบทบาทหน้าที่เกษตรตำบลตั้งแต่ปี 2526

สิ่งต่าง ๆเหล่านี้หากมีการนำ km เป็นเครื่องมือ มีการบันทึกความรู้/ภูมิปัญญาต่าง ๆ ทำให้เรามีข้อมูลที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม แล้วติดตามหรือวิจัยดู สามารถคาดคะเนผล และบริหารความเสี่ยงของกรมฯได้

สิ่งสุดท้ายที่ท่านอธิบดีฝากไว้คือการประชุม/สัมมนาปีหน้าที่โรงแรมจะให้มีการดำเนินการน้อยที่สุด เราจะใช้ศูนย์ปฎิบัติการที่เรามีอยู่ให้เกิดประโยชน์และเพื่อความประหยัด ทั้งนี้จะให้มีการบูรณาการแผนการฝึกอบรมโดยทุกกองทำแผนล่วงหน้า รวมถึงงานพิมพ์ต่าง ๆที่มีมากมายในแต่ละปี  ให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าต่อไป

อ่านแล้วมีข้อคิดเห็นและเสนอแนะกรมฯอย่างไรบ้าง ลอง ลปรร.กันดูนะคะ

ธูวนันท์  พานิชโยทัย

25  กันยายน 2550

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 131663เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อ่านดูแล้วเห็นท่านพูดถึงแต่เรื่องงาน ไม่เห็นพูดถึงเรื่องขวัญและกำลังใจเจ้าหน้าที่เลยค่ะ

  • แวะมาสวัสดีและรับทราบนโยบายปี51 ต่ะ
  • สวัสดีครับ ผอ.ธุวนันท์ 
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • เก็บข้อมูลมาได้ละเอียด เยี่ยมมากค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ตามมาอ่านต่อครับพี่ธุวนันท์
  • เห็นทิศทางของกรมฯ ชัดเจนขึ้นครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน

เรียนคุณไม่แสดงตน

  • ท่านพูดถึงเรื่องเงินที่เพิ่มให้เกษตรตำบลแต่เรื่องขวัญและกำลังใจท่านอยู่ในใจแต่ยังไม่ได้พูดออกมา

เรียนป้าตุ้ย

สวัสดีคะ พี่รู้จักหรือเปล่านะ

เรียนคุณสิงห์ป่าสัก

สวัสดีคะ ช่วงนี้ไม่ได้ไปเยี่ยมบล็อกเลยคะ

เรียนคุณจื้

  • ขอบคุณมากเลยคะ
  • อย่าลืมเขียนที่พี่สวัสดิ์ถ่ายทอดด้วยนะคะ

เรียนคุณวิศรุต

  • เห็นด้วยคะ แต่ว่าผลจะเป็นอย่างไรต้องมีการแปลงนโยบายไปสู่การปฎิบัติ
สวัสดีครับอ.ธุวนันท์  ตั้งใจมาแวะเยี่ยมครับ ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันความรู้ที่ดีฯ  และมีประโยชน์ครับ

คุณเขียวมรกต

เสียดายที่ไม่มีเวลาคุยกันเลยนะวันนั้น แต่เจอกันในบล็อกก็โอ...เค..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท