ลำแพน...จากไม้ป่าชายเลนสู่ไม้ประดับทำเงิน


มาปลูกลำแพนกันเถอะ

ลำแพนเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 4- 12 เมตร กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปราะ รากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 15- 30 ซม. เหนือผิวดิน

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กว้าง ถึงรูปเกือบกลม ขนาด 3-8 ชนิดหนึ่ง 4-9 ซม. ปลายใบกลม กว้าง ฐานใบกลมสีเขียว เข้ม ก้านใบยาว 0.3-1.5 ซม. ลำต้นที่มีอายุมาก ใบมักจะบิดเบี้ยวไม่สมมาตร
 

ดอก ออกดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุก ช่อละ 3 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1-2 ซม. บางครั้งไม่มีก้านดอกย่อย เมื่อเป็นตาดอกวงกลีบเลี้ยง รูปไข่กว้าง ยาว 2-3 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงรูปถ้วย สีสันเด่นชัด กลีบเลี้ยงมักมี 6 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ยาวกว่าหลอดเล็กน้อย ด้านบนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ สีเหลืองอมเขียว และสีชมพูเรื่อ ๆ ที่โคนกลีบด้านใน กลีบดอกไม่ปรากฏ

การเจริญเติบโต  ขึ้นในพื้นที่ที่มีความเค็มไม่มากนัก และดินค่อนข้างเหนียว น้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว

จังหวัดตราดมีการปลูกลำแพนเป็นไม้ดับการอย่างแพร่หลาย เนื่องจากปลูกง่าย และลักษณะของใบที่เงามัน ทรงพุ่มที่ค่อนข้างได้ส่วน และรากอากาศที่ขึ้นรอบๆโคน ทำให้จากไม้ป่าชายเลนกลายเป็นไม้ที่มีราคาขึ้นมาในทันที ต้นขนาดใหญ่ๆอายุ 6-7 ปี หากต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงจะราคาถึง 3,000 -4,000 บาท ในขณะที่ต้นอายุประมาณ 1 ปี สูงประมาณ 1 เมตร อาจมีราคาประมาณ 100 - 200 บาท และเมื่อปีสองปีที่ผ่านมา งานวันระกำหวานผลไม้และของดีเมืองตราดได้มีการจัดประกวดลำแพนขึ้น ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากพี่น้องเกษตรกรในระดับหนึ่ง มีลำแพนสวยๆที่เจ้าของหวงแหน ออกมาโชว์สายตาประชาชนเป็นจำนวนมาก มีเกษตรกรหลายหลายมีอาชีพเสริมจากการขายต้นลำแพน แม้ในปัจจุบันตลาดลำแพนในจังหวัดตราดจะซบเซาลงไปบ้าง แต่ลำแพนที่สวยๆก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่

หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า การหาลำแพนนั้นต้องเข้าไปขุดออกมาจากป่า แต่อันที่จริงแล้ว ลำแพนสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด และอีกปัญหาหนึ่งที่ท่านอาจจะกลัวกันคือเรื่องการดูแลรักษา ซึ่งการดูแลรักษาต้นลำแพนนั้นทำได้ไม่ยาก เหมือนการปลูกไม้กระถางขนาดใหญ่ทั่วไป เพียงแต่ลำแพนจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อมีน้ำขังในภาชนะปลูก ซึ่งน้ำนั้นก็เป็นน้ำจืดธรรมดาก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ลำแพนก็สามารถเจริญเติบโตได้

ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าลำแพนจะเป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้ เพราะจะเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อาจจะสร้างรายได้ให้แก่พี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล

หมายเลขบันทึก: 131291เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2007 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทาย
  • เก็บเกี่ยวข้อมูลดีๆ
  • ตามมาอ่านครับ
  • ขอบพระคุณมากครับสำหรับ สิ่งดีดี ที่มีประโยชน์ ที่นำมาแบ่งปัน

 

  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมชม

 

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาเยียมเยียนและอ่านบันทึกครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดี...ขอข้ามกระทรวงหน่อยนะเพื่อน

ดีใจจังที่กระทรวงอื่นก็ทำ KM เหมือนกัน

เพื่อนร่วมชะตากรรม...

  • ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆ ที่นำมา ลปรร.กัน
  • อาทิตย์หน้ามีโปรแกรมไปตราด  หวังว่าคงได้เจอน้อง x นะคะ
  • สวัสดีค่ะ..
  • ขอบคุณที่นำเรื่องดีๆ..มาฝาก
  • อยากอ่านอีก..(อิ อิ)

ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆที่ให้มา ถ้ามีโอกาสจะไปเที่ยวชมเพราะชอบภูมิปัญญาของชาวบ้านมาก  เราควรอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลาน

อยากรู้วิธีขยายพันธ์ต้นลำแพนเองที่บ้าน

ต้นลำแพนใบเหลือง ทำอย่างไรครับ

เข้ามาหาความรู้. มีอยู่แค่ไม่กี่ร้อยต้น

เข้ามาหาความรู้. มีอยู่แค่ไม่กี่ร้อยต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท