พายุ
นาง สุภาภรณ์ บุตรดีวงษ์ มีเงิน

แนวคิดหลักสนับสนุนการดำเนินงาน ตอนที่ 2 (ตอนจบ)


ในขณะที่เพิ่มความรู้ความสามารถด้านต่าง ๆ จะต้องรักษา สมดุลในตัวเอง แต่ละคนผู้เรียน ไม่ให้เสียสุขภาพจิต สุขภาพกาย ต้องมีเพื่อนทั้งที่เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม คอยช่วยประคับประคอง

วิธีการ

         วิธีการพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นคนที่มีทั้ง คุณภาพและคุณธรรมนั้น ก็คือการนำเอาหลักการพัฒนา คนที่กล่าวมาข้างต้นมาลงมือทำ จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว อาจได้ดังนี้

๑. การให้การศึกษา (education) คือ การเพิ่มพูน ความรู้และทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ ให้กับผู้ที่เราจะพัฒนาให้การ ศึกษาทุกเรื่องที่อยู่ในกระบวนการ ให้ผู้รับการ พัฒนามีความรู้ความเข้าใจและทำได้ในเรื่องที่เรียน

๒. การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ของผู้รับการศึกษา แล้วจึงเพิ่มเติมจากที่มีให้มากขึ้น

๓. ให้นำเอาการพัฒนาทางวัตถุ เช่น การสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ หรือการนำเอาเทคโนโลยี มาใช้สร้าง ความเจริญ ทางวัตถุมาเป็นสื่อในการพัฒนาคน ในบางโอกาสไม่ใช่ให้การศึกษาแต่เรื่องที่เป็นนามธรรม เช่น เรื่องการ เมือง เรื่องอนามัย เรื่องศีลธรรมเท่านั้น

๔. การเรียนก็ดี การทำงานเพื่อการพัฒนาก็ดี จะต้องทำเป็นกลุ่ม เพื่อให้ชาวบ้านได้ช่วยกันคิด ช่วยกันเรียน สอนกันเอง เรียนกันเอง จะได้ทั้งความรู้ความเข้าใจ และช่วยกันจดจำไว้ใช้ในอนาคต

๕. นำเอา BAN มาเป็นแนวทางการพัฒนา คือ ในขณะที่เพิ่มความรู้ความสามารถด้านต่าง ๆ จะต้องรักษา สมดุลในตัวเอง แต่ละคนผู้เรียน ไม่ให้เสียสุขภาพจิต สุขภาพกาย ต้องมีเพื่อนทั้งที่เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม คอยช่วยประคับประคอง

๖. นำเอา PAR มาเป็นแนวทางการพัฒนา คือ ครู (จะเป็นนักพัฒนา นักวิชาการด้านต่าง ๆ พระ หรือใครที่ ทำหน้าที่สอน) และลูกศิษย์ (คือชาวบ้าน) จะต้องร่วมมือกันเรียน ร่วมกันสอน งานที่ทำและเรียน มีทั้งงานพัฒนา และงานวัดผลประเมินผลการทำงาน ครูนักเรียนต้องทำร่วมกัน

๗. การพัฒนาคนจำเป็นต้องค่อยทำค่อยไป ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สิ่งใหม่หรือความล้าสมัยของสิ่งเก่า การฝึก ความชำนาญในการคิดและทำสิ่งใหม่ ตลอดจนการฝังเอาสิ่งใหม่เข้าไว้ในวัฒนธรรมหรือนิสัยของตนจะต้อง ใช้เวลา มากต้องพยายามต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าทั้งครูและลูกศิษย์หรือคนภายนอกมีความพอใจในผลงาน จึงจะหยุด งานนั้น แต่งานใหม่ก็จะมีมาอีก การเรียนและการพัฒนาจึงไม่มีวันจบสิ้น เป็นกระบวนการตลอดชีวิต (education is a life long process)

            คนที่พัฒนาแล้วควรมีลักษณะอย่างไร เป็นคนที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรม หรือเป็นคนดี และเป็น คนเก่ง เท่านั้นเพียงพอหรือไม่จากประสบการณ์พัฒนาที่ส่งผลให้เกิดความเจริญด้านวัตถุควบคู่กับการเกิด ปัญหา สังคม อันมากมาย รวมทั้งการเกิดความทุกข์ใจของคนสมัยหลังแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ตั้ง เป้าไว้ว่านอกจากจะทำให้คนดีและเก่งแล้ว คนที่พัฒนาแล้วจะต้องมีความสุข และใส่ใจในธรรมชาติสิ่งแวด ล้อมด้วย ซึ่งจะ ว่าไปแล้วคุณลักษณะของคนพัฒนาอีกสองข้อ ที่เพิ่มขึ้นมานั้นก็รวมอยู่ในสองลักษณะเดิมนั่นเอง เพียงแต่แยก ออกมาระบุให้ชัดเจนขึ้น

สรุปว่า คนที่พัฒนาแล้วควรมีลักษณะเด่นสี่ประการคือ

๑) เป็นคนมีคุณภาพ
๒) เป็นคนมีคุณธรรม
๓) เป็นคนมีความสุข
๔) เป็นคนที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

         สำหรับลักษณะคุณภาพและคุณธรรม ได้กล่าวไว้ แล้วในตอนที่พูดถึงเป้าหมายการพัฒนาคน จึงจะ ไม่กล่าวอีก ส่วนลักษณะที่สามคนมีความสุข และลักษณะ ที่สี่ คนเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมก็ได้กล่าวไว้แล้วโดยสังเขป เมื่อกล่าวถึงครอบครัว/ชุมชนพัฒนา จึงไม่จำเป็นต้อง กล่าวซ้ำอีกเช่นเดียวกัน แต่เพื่อให้เห็นภาพแยกต่างหาก จากหัวข้ออื่น จะขอแสดงลักษณะของคนพัฒนาไว้ดังนี้

๑) คนพัฒนาจะต้องเป็นคนมีความสุข คือ ความสะดวกสบายกาย ปลอดโปร่งโล่งใจในการดำเนินชีวิต ความสุขกาย สบายใจนี้จะต้องเป็นผลมาจาก

๒) คนพัฒนาเป็นคนมีสุขภาพ นั่นคือ เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในศาสตร์สามสาขา มนุษย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์ ในระดับเพียงพอแก่การดำรงชีวิต

๓) คนพัฒนาเป็นคนมีคุณธรรม คือการเป็นคนดี ทำดี พูดดี และคิดดี เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น คนดี เป็นคนที่ประกอบอาชีพสุจริต ขยันขันแข็ง ประหยัด รู้จักพอ ซื่อสัตย์และใช้ปัญญาในการประกอบอาชีพและ ดำรงชีวิต

๔) คนพัฒนาเป็นคนใส่ใจสิ่งแวดล้อม หมายความว่า รู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมธรรมชาติทรัพยากร ธรรม ชาติ ดิน น้ำ ป่า เขา สัตว์ โดยรักษาสมดุลของระบบนิเวศไว้ (ecological system) คงความหลากหลาย ทางชีวภาพเอาไว้ตลอดไป (bio diversity) จึงเห็นได้ว่า ลักษณะคนพัฒนาทั้งสี่ ประการเกี่ยวเนื่องผูกพันกันอยู่ นอกจากนั้นลักษณะเหล่านี้ยังผูกพัน ไปถึงครอบครัวและชุมชนพัฒนาอีกด้วย

 

มนุษย์ ๔ มิติกับ ๓ ศาสตร์

          ในเชิงวิชาการคนพัฒนาที่มีลักษณะสี่ประการดังกล่าวแล้ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ศาสตร์สาม สาขาอยู่มาก กล่าวได้โดยรวมว่า ลักษณะสี่ประการของคนพัฒนารวมอยู่ในสามศาสตร์ – มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์นั่นเอง ดังจะกล่าวโดยสังเขป


ก. ความสุขกับ ๓ ศาสตร์ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความสุขของมนุษย์คือ มนุษยศาสตร์ สาขาเฉพาะใน มนุษยศาสตร์ คือ ศาสนา ซึ่งเป็นสาขาวิชาว่าด้วยศาสนาโดยทั่วไป คำอธิบายเรื่องความสุข ที่ใช้ในหนังสือนี้มาจาก พุทธศาสนา ลักษณะคนมีความสุขจึง

ข. คุณธรรมกับ ๓ ศาสตร์ ในทำนองเดียวกัน ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความมีคุณธรรมของมนุษย์ก็คือ มนุษย์ศาสตร์ โดยเฉพาะศาสนา และทำนองเดียวกับความสุขที่กล่าวมา คุณธรรมยังเกี่ยวข้องกับสาขาอื่นใน มนุษยศาสตร์ด้วย เช่น ปรัชญาศิลปะภาษา อารยธรรม เป็นต้น แต่ศาสนาจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณธรรม คุณธรรม ที่เพ่งเล็ง อยู่ในหนังสือนี้มาจากคำสอนของพุทธศาสนา เนื่องจากผู้เขียนมีความรู้และปฏิบัติศาสนานี้ และก็เชื่อว่า ศาสนาอื่น ก็สอนคุณธรรมด้วยแน่นอน

ค. คุณภาพกับ ๓ ศาสตร์ เรื่อง ของคุณภาพเป็นเรื่องของวิชาชีพเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงสัมพันธ์กับทั้ง ๓ ศาสตร์ คือ มนุษยศาสตร์ เช่น ความรู้ความชำนาญในวิชาปรัชญา ศาสนา ภาษาศาสตร์ (นักเขียน นักประพันธ์ ครู ภาษา....) ศิลปะ (ศิลปินสาขาต่าง ๆ) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ อาทิ นักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ (เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ แพทย์ วิศวกร เภสัชกร พยาบาล นักสาธารณสุข) และสังคมศาสตร์ อาทิ นักรัฐศาสตร์ นักปกครอง นักบริหารด้านต่าง ๆ นักเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ นักจิตวิทยา ครูแนะแนว จิตแพทย์ นักมานุษยวิทยา และสังคมวิทยา รวมทั้ง นักภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ด้วยวิชาที่อาจจัดเข้ากลุ่มพวก เช่น คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ นักสิ่งแวดล้อมก็สามารถ รวมอยู่ใน ๓ ศาสตร์นี้

ง. สิ่งแวดล้อมกับ ๓ ศาสตร์ ดังได้กล่าวพาดพิงถึงมาแล้ว เรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องเกี่ยวข้อง โดยตรงกับวิทยา ศาสตร์ธรรมชาติ แต่อาจเป็นนักวิทยาศาสตร์หลายสาขา เช่น เป็นนักชีววิทยา เป็นวิศวกร เป็น นักเคมี หรือแม้แต่นักฟิสิกส์ แพทย์ เป็นต้น แต่บางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการค้นคว้าโดยตรงก็มี บุคคลเหล่านี้อาจมี พื้นทางภูมิศาสตร์ และสังคมศาสตร์สาขาอื่นด้วยก็ได้

        ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ต้องการเน้นย้ำว่า ลักษณะคนพัฒนาเกี่ยวกับศาสตร์สามสาขาและ ๓ ศาสตร์ นี่เองเป็น รากฐานที่มาของลักษณะสี่ประการนั้น ความรู้ ๓ ศาสตร์จึงเป็นสิ่งจำ เป็นของนักพัฒนาและคน พัฒนา เขาจะต้อง ได้รับการศึกษา ๓ ศาสตร์นั้นอย่างเหมาะสม จะมีความรู้แต่เพียงด้านใดด้าน หนึ่งเท่านั้นหา เพียงพอไม่ ทุกคนควร มีความรู้ ๓ ศาสตร์อย่างสมดุล สังคมจึงจะพัฒนาและใช้ปัญญาหรือมีปัญหาน้อยลง

 

 

สรุป

     การพัฒนาคนเป็นเป้าหมายหนึ่งในห้าของการพัฒนาสังคมแต่จะต้องถือว่าเป็นส่วนสำคัญ หรือ หัวใจของการพัฒนาสังคมทีเดียว เพราะหากพัฒนาคนล้มเหลว เป้าหมายอื่นก็ ไม่อาจสำเร็จได้ การพัฒนาคนมี เป้าหมายให้ คนมีความสุขจากการมีคุณภาพ คุณธรรมและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้มอง ในแง่วิชาการอยู่ใน ๓ ศาสตร์ นักพัฒนาจึงต้องมีความรู้ความชำนาญในศาสตร์เหล่านี้พอประมาณ แล้วถ่ายทอดหรือร่วมกันกับประชาชน และ ผู้อื่นในกระบวนการพัฒนาก่อให้เกิดลักษณะคนพัฒนาขึ้น ทำเช่นนี้จึง จะถือได้ว่าบรรลุเป้าหมายของการ พัฒนาคนที่สมบูรณ์


ที่มา : http://oppn.opp.go.th/kondee2/info_02002.php

 

หมายเลขบันทึก: 129821เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เห็นด้วยว่า การพัฒนาคนเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาสังคม
  • เมื่อก่อน ผมเคยเป็นผู้บริหารโรงเรียน(ประถม) งานของโรงเรียนมีอยู่ 6 งานคือ งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน งานบุคลากร งานธุรการการเงินพัสดุ งานอาคารสถานที่ และงานชุมชนสัมพันธ์
  • ผมเคยให้ข้อคิดต่อผู้บริหารด้วยกันว่า
  • งาน"หลัก"คืองานวิชาการ (งานหลักของการจัดการศึกษา)
  • งาน"แรก"คืองานบุคลากร (ถ้าได้ใจครูก่อน จะได้อะไรทั้งหมด)
  • งาน"เร่ง"คืองานกิจการนักเรียน (งานที่ต้องเร่งทำให้เท่าทันกับวัยหรือพัฒนาการของเด็ก)
  • งาน"รื่น"คืองานธุรการการเงินและพัสดุ (งานที่ถ้าทำให้ถูกและดี จะทำให้งานอื่นราบรื่น)
  • งาน"ร่ม"คืองานอาคารสถานที่ (งานที่ต้องสร้างให้ร่มรื่น น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน)
  • งาน"ร่วม"คืองานชุมชนสัมพันธ์ (งานที่ต้องหมั่นแสวงหาความร่วมมือและให้ชุมชนมีส่วนร่วม)
  • ถึงปัจจุบันก็ยังใช้ได้ครับ

ขอบคุณ อ.ทนันคะ
เห็นด้วยตามที่ อาจารย์บอกมาคะ ซึ่งงานต่าง ๆ ที่ อ. บอกมาก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ ได้เหมือนกันนะคะ เพราะดูแล้วส่วนประกอบของการทำงานก็มีมาอย่างที่ อ. บอกแหละคะ

ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท