ข้าวโพดฝักอ่อนตามระบบGAPที่ท่ามะกา


การผลิตข้าวโพดฝัดอ่อน
>>>> น่าภูมิใจมากครับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของเรามีความสามารถหลายท่านที่คลุกคลีกับพี่น้องเกษตรกรและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรอยู่ตลอดเวลาพบว่าเกษตรกรของเรามีอะไรดีเยอะมาก วันนี้ขอนำเอาความรู้ที่พี่ประทีป มณีดิษฐ์และคณะของสำนักงานเกษตรอำเภอท่ามะกา จัดเก็บมาเล่าให้อ่านกันนะครับ
>>>>
                 คณะทำงานจัดการองค์ความรู้ของอำเภอท่ามะกาได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ  ทำให้ได้ทราบว่าเกษตรกรแต่ละหลายมีรูปแบบการผลิต ที่แตกต่างกัน และมีเคล็ดลับในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนตามระบบ GAP  ซึ่งสามารถแบ่งออกได้  3  ประเด็น ดังนี้                  
1. การเตรียมดิน การปลูก    และการดูแลรักษา     
สภาพดินอำเภอท่ามะกาเป็นดินร่วนเหนียว  มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชหลายชนิดแต่ปัญหาที่เกษตรกรพบคือดินขาดความอุดมสมบูรณ์  เนื่องจากขาดการปรับปรุงบำรุงดิน         
นายสุวิทย์   เทียนเฮง   บ้านเลขที่  79  หมู่ 1 ตำบลท่ามะกา  อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรี  (หมอดินอาสา)  ได้เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการปรับปรุงบำรุงดิน  ก่อน-หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต  ในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนถ้าจะให้ได้ผลผลิตดี  มีคุณภาพ  เกษตรกรควร ปฎิบัติ ดังนี้               
1. ใส่ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  หลังปลูก 10 วัน จำนวน 400 กิโลกรัม ต่อไร่  พออายุเลย 35 วันให้เลิกใส่               
2. ปลูกถั่วพร้า  หรือถั่วมะแฮะ โดยหว่าน  จำนวน 8 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังปลูกข้าวโพดฝักอ่อน 10-15 วัน  เพราะพืชตระกูลถั่วจะช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศ ทำให้ดินมีความร่วนซุ่ย และยึดระยะเวลาการให้น้ำ               
3. ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ โดยให้ไปพร้อมกับการให้น้ำ และต้องให้เวลาบ่าย  หรือเย็นเพราะจะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพไม่โดนความร้อนจากแสงแดดทำลาย               
4. ก่อนการเตรียมดินปลูกใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 50 ซีซี /น้ำ 50 ซีซี   (1:1) ฉีดฆ่าหญ้าโดยไม่ต้องใช้สารเคมีคุมฆ่าวัชพืช               
5. การใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่ทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 10 วัน อัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่ และอายุ 20 วัน อัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่ และอายุ 45 วัน (ถอดยอด)อัตรา 40 กิโลกรัม/ไร่ และควรใส่โดยวิธีการหว่าน  เพราะจะทำให้พืชแพร่รากในการหาอาหาร มากขึ้น                          
6. การให้น้ำอย่าให้น้ำขังแปลงควรปรับพื้นที่ปลูกสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ข้าวโพดฝักอ่อนมีการเจริญเติบโตแตกต่างกัน            
7. การปลูกควรปลูกเพียง  3  ต้น/หลุม  จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ  
นายประทีป  ลิ้มกุล  บ้านเลขที 103 หมู่ที่ 5 ตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรีเล่าว่า               
1.  เตรียมพื้นที่ปลูกให้มีความสม่ำเสมอ ต้องมีความลาดเท เพื่อไม่ให้น้ำขังในแปลงปลูก
2.  ฉีดยาคุมหญ้า ควรผสมปุ๋ยยูเรีย 3-5 ช้อน                
3.  เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุได้ 1 เดือน ฉีดสาหร่ายทะเล  อัตรา 30 ซีซี / น้ำ  20  ลิตร            
4.  ข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 15-17 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0  อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ และเมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 43 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0  อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่           
นายสมาน  เชาว์เครือ  บ้านเลขที่ 49 หมู่ที่ 7 ตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรีเล่าว่า               
1.  ควรมีการไถเตรียมพื้นที่ปลูก  และตากดินไว้อย่างน้อย  7 วัน 
2.  การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่หลายครั้ง  หลังปลูก 10-11 วัน ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15 -15 -15   จำนวน    40 กิโลกรัม/ไร่ อีก 1 เดือนต่อมาใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 สูตร  46-0-0  จำนวน  40 กิโลกรัม/ไร่ 
2.  การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว               
นายเอก   แซ่ล้อ  บ้านเลขที่ 9/2 หมู่ที่ 2  ตำบลท่ามะกา  อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรี             
เล่าว่า  ผลผลิตที่เก็บจากแปลงควรนำเข้าห้องกรีด  โดยกรีดบนโต๊ะ  ผู้ทำหน้าที่รูดและกรีดเปลือก ต้องสวมหมวก สวมชุด และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์  70 % ดังนี้                
อุปกรณ์ที่ใช้ในการกรีดข้าวโพดฝักอ่อน           
 1. มีดกรีดต้องใหม่  และสะอาดอยู่เสมอ               
2. อุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมดทุกขั้นตอนต้องล้างให้สะอาด  และนำเก็บให้เรียบร้อย               
3. ชุดคลุม  ผ้ากันเปื้อน  หมวก ต้องสะอาด               
4. ถุงมือต้องใหม่และสะอาด  ถ้าไม่สวมถุงมือ ต้องล้างมือด้วยแอลกอฮอล์  70 %               
5. ห้องและสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ต้องดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ  โดยใช้ผ้าชุบน้ำ  ผสมคลอรีน หรือน้ำยาเขียว  เช็ด  ถู  ให้สะอาด                
การรักษาความสะอาดและข้อปฏิบัติ
                       
1.ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณในห้องกรีดข้าวโพดฝักอ่อน ห้องรูดไหม ห้องเย็น และบริเวณที่มี ป้ายห้ามสูบบุหรี่แสดงไว้                            
2.ห้ามรับประทานอาหารใด ๆ ในบริเวณห้องกรีด ห้องรูดไหม ห้องเย็น และที่เก็บอุปกรณ์ หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ                               
3.ต้องล้างมือก่อนเข้าทำงานทุกครั้ง                                   
4.หมั่นดูแลความสะอาดเล็บมือ  โดยห้ามทาเล็บ และอย่าไว้เล็บยาว
5.ต้องดูแลรักษาความสะอาดทั้งภายในและภายนอกบริเวณจุดรวบรวมผลผลิต                               
6.ห้ามสวมเครื่องประดับทุกชนิดขณะปฏิบัติงาน                   
7. หากเกิดการเจ็บป่วย  หรือบาดเจ็บ  ต้องแจ้งให้หัวหน้ากลุ่มทราบ 
การทำความสะอาดโรงกรีดข้าวโพดฝักอ่อน                       
1. เก็บกวาดเศษข้าวโพดฝักอ่อน  ไหม  เปลือก ใส่ถุงขยะให้เรียบร้อย และเศษขยะต่างๆที่เหลือบนโต๊ะ และบริเวณพื้นออกให้สะอาด และทำการเช็ดถูโต๊ะ  เก้าอี้  โดยใช้ผ้าชุบน้ำผสมคลอรีน  หรือน้ำยาเขียว      
2. พื้นห้องให้ใช้ผงซักฟอกผสมน้ำ  หรือใช้น้ำผสมคลอรีน  หรือน้ำยาเขียวลาด  และขัดด้วย แปลง               
3.การใช้คลอรีนและน้ำยาเขียวควรใช้สลับกัน หมุนเวียนไปทุกๆ 7 วัน เพื่อป้องกันเชื้อโรคดื้อยา       
4.ห้องเย็นให้ทำความสะอาดทุกวันใช้ คลอรีน  หรือน้ำยาเขียว  เช็ดถูให้สะอาด        
***  หมายเหตุ                                              
1.  ผงซักฟอก  ใช้อัตรา   1  ช้อน  /  น้ำ  20  ลิตร           
2.  คลอรีน      ใช้อัตรา 10    มิลลิลิตร/  น้ำ 5 ลิตร            
3.  น้ำยาเขียว  ใช้อัตรา 100 มิลลิลิตร/  น้ำ 5 ลิตร   
ขอบขอบคุณ พีประทีป  มณีดืษฐ์  พี่ชรินทร์  พลเล็ก พี่วิโรจน์ อินเกลี้ยง และน้อง ศศิธร วงศ์หล่มแก้ว เป็นอย่างมากครับ
คำสำคัญ (Tags): #ข้าวโพดฝักอ่อน
หมายเลขบันทึก: 129818เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เป็นบันทึกที่มีประโยชน์มากเลยครับ
  • ผมสนใจการใช้นำหมักฉีดเพื่อฆ่าหญ้า การหมักใช้อะไรหมักครับ หรือว่าเป็นน้ำหมักโดยทั่วๆ ไป
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน
  • สวัสดีครับคุณวีรยุทธ
  • ขอเพิ่มเติม น้ำหมักชีวภาพสำหรับการฆ่าหญ้า/คุมหญ้าครับ เป็นน้ำหมักจากปลา /ไส้ปลา/ปลาเป็ด(กก.ละ9 บาท) ผสมกับกากน้ำตาล อัตรา 3:1 และเติมด้วย พด.1 หมัก 7 วันนำไปใช้ได้แล้ว หญ้าไม่ขึ้นเลยครับ และที่สำคัญข้าวโพดให้ผลผลิตสูงสูง
  • ตามมาขอบคุณ
  • วันก่อนคนโทรมาหาผมถามเรื่องข้าวโพดฝักอ่อน
  • ผมเลยให้โทรหาพี่ด้วย
  • ดีใจที่มีบันทึกออกมาเรื่อยๆๆ
  • ไปเมืองกาญจน์จะแวะไปเยี่ยมครับผม

จะพาเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ ไปดูงานบ้างจัง

ของผมมีปัญหากับการใส่รูปมากเลย ช้าจัง

  • ขอบคุณอาจารย์ขจิต และชัดที่แวะเข้ามาอ่าน
  • แล้วจะติดตามท่านไปดูบันทึกของแต่ละท่านด้วย

สวัสดีครับพี่วีระศักดิ์ ขอบคุณมากครับ ที่แบ่งปันความรู้ที่มีประโยชน์

*สวัสดีสิงห์เมืองกาญ

*พูดถึงข้าวโพดฝักอ่อนผมเคยนำมาศึกษาปลูกในร่องปลูกมะพร้าวที่เสื่อมโทรมและร่องปลูกมะพร้าว ก็พบว่าเจริญเติบโตให้ผลผลิตดี

*กาญจนบุรีศักยภาพอำนวยเพราะมีโรงงานก็โชคดีของเกษตรกร.....ยินดีด้วย

สวัสดีค่ะพี่วัรศักดิ์

นู๋ขอแนะนำตัวนะค่ะนุ๋ชื่อเจี๊ยบนะค่ะ อยากรบกวนพี่ช่วยแนะนำการเขียนโครงการวิจัยข้าวโพดฝักอ่อน และงานสัมมนาข้าวโพดฝักอ่อนนะค่ะ พี่พอที่จะให้คำแนะนำนู๋ได้ไหมจ้า เพราะว่าต้องเขียนส่งก่อนสิ้นเดือนนะค่ะ ตอนนี้มืดแปดด้าน

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

นู๋เจี๊ยบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท