"KM DM เมืองเลย(๒)" วันที่๒


เราได้คลังความรู้อะไร ที่เป็นประโยชน์จากที่ ตำบลนาอ้อ

            วันที่สอง เราเริ่มกิจกรรมกันที่ 9.00 น. (แต่ผู้ป่วยเบาหวานมาตั้งแต่ยังไม่แปดโมงเช้าแล้วครับ) ผมเริ่มต้นด้วยการแบ่งบทบาทของ จนท.ที่มาร่วมประชุมทั้งหมดประมาณ 30 กว่าคน (นัดเอาไว้แล้วตั้งแต่วันแรก คลิกอ่าน)ให้รู้ว่าวันนี้เราจะทำอะไร ใครเป็นคุณอำนวย คุณลิขิต และผู้สังเกตการณ์

            เราตั้งหัวปลาไว้ที่ "การดูแลตนเอง ของผู้เป็นเบาหวาน" เพื่อค้นหาเรื่องๆดีๆและประสบการณ์ที่สำเร็จ ในการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวาน จากต.นาอ้อ ทั้งหมด 136 คน จาก 11 หมู่บ้าน โดยจะเริ่มกระบวนการกลุ่มตั้งแต่ 9.30 - 11.00 น. หลังจากนั้น ทุกคนจะมาประชุมกันอีกครั้งเพื่อร่วมกันสกัดขุมความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมกลุ่ม จนถึงเที่ยง (ช่วงนี้ ผู้เป็นเบาหวานจะได้เรียนรู้เรื่องการดูแลเท้า ด้วยบัญญัติ 10 ประการ จากคุณอุทัยวรรณ และคุณพเยาว์)

             พอถึงเวลาบ่ายโมง(หลังอาหารกลางวัน) เราทั้งหมดก็ได้มารวมกันที่ห้องโถงใหญ่อีกครั้ง เพื่อสรุปสิ่งที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในช่วงเช้า พร้อมๆกับเปิดโอกาสให้ผู้เป็นเบาหวานได้แลกเปลี่ยนซักถามกันในห้องประชุมใหญ่ ก่อนจะแยกย้ายกันกลับที่เวลาประมาณบ่ายสองกว่าๆครับ (เพราะผมต้องรีบทำหน้าที่คนขับรถต่อ อีกประมาณ 5 ชม.ครับ)

 

เริ่มแนะนำกระบวนการกลุ่มกันก่อนครับ

เรามีกติกาไว้ว่า วันนี้เราจะเป็นผู้ฟังที่ดี มากกว่าผู้สอน(แบบที่เคย)

เพราะสิ่งที่เราทำวันนี้เป็นการดึงความรู้ปฏิบัติจากคนเป็นเบาหวาน ที่ต.นาอ้อ

เพราะฉนั้นเราจะไม่ตัดสินใจ ถูกผิด แทนความเชื่อทัศนคติ หรือความรู้ของชาวบ้าน เพราะจะทำให้รบกวนการเล่าเรื่อง และขาดการเปิดใจเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

บทบาท จนท.วันนี้จึงเป็นผู้ฟัง แล้ววิเคราะเพื่อช่วยสกัดขุมความรู้ให้ได้มากที่สุด 

 ภาพ คุณพเยาว์ ปิยะไพร นักกายภาพ ที่ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย ประจำกลุ่ม  
 แบบฟอร์ดที่ใช้ในการบันทึก ของคุณ ลิขิต เพื่อเพิ่มความสะดวกในการจด มากขึ้นครับ
 กลุ่มกระจายไปทั่วบริเวณเทศบาล ตำบลนาอ้อครับ ไม่เว้นที่กลางสนามของศูนย์เด็กเล็ก ที่อยู่ใกล้ๆกัน เพื่อให้เสียงของแต่ละกลุ่มไม่รบกวนกันครับ (สุดท้ายพอแดดออกแรงๆ เราก็จำเป็นต้องย้ายกลุ่มนี้เหมือนกันครับ)  
   ช่วงที่สกัดขุมความรู้จากเรื่องเล่า เนื่องจากเราได้เรื่องเล่าที่หลากหลาย ทั้งส่วนที่เราคิดว่าเป็นความรู้ เราก็เลยใช้สัญลักษณ์ตัว K วางไว้หน้าข้อนั้น  ส่วนบางหัวข้อเราคิดว่าเป็นความเชื่อที่ผิดหรือสุดโต่งมากๆ เราก็จะใช้สัญลักษณ์ P ไว้ข้างหน้า

 พอช่วงบ่าย ประเด็นที่เรารวบรวมได้ ก็นำมาสรุปเล่าให้ผู้เข้าประชุมทั้งหมด รวมทั้งผู้เป็นเบาหวาน ว่าเราได้เรียนรู้อะไรร่วมกัน

เราได้คลังความรู้อะไร ที่เป็นประโยชน์จากที่ ตำบลนาอ้อ

และสุดท้ายเราไม่ลืมที่จะ แก้ไขข้อคิดหรือความเชื่อที่สุดโต่งต่างๆ ที่เป็นคำถามระหว่างการทำกลุ่ม มา ลปรร.ร่วมกัน

 

 บรรยากาศการแนนนำวิธีการดูแลเท้าเบาหวาน โดยทีมคลินิกสุขภาพเท้าเบาหวาน จากธาตุพนม

ในระหว่างที่กลุ่ม จนท.ร่วมกันสกัดขุมความรู้ร่วมกันในห้องเล็กๆด้านหลังโถงประชุม

   
   
   
หมายเลขบันทึก: 128841เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณครับกับกำลังใจ จาก อ.วัลลา และคุณหมอจิ้น

ผมนึกถึงไปว่า ถ้ามีคนถามว่า "แล้วตกลงไอ้คลังความรู้ที่ ต.นาอ้อ จังหวัดเลย มีอะไรมั่ง"  ก็กลัวเล่าได้ไม่หมดครับ เพราะผมไม่ได้สรุปรวบไว้เลยครับ ผู้ที่รวบรวมเก็บไว้เป็นทีมงานที่นาอ้อเอง

และวันนั้นก็ไม่ได้พิมพ์เอาไว้ด้วย ใช้การส่งต่อข้อมูล สรุปการบันทึก ผ่าน flip chart อย่างเดียว

ส่วนความคืบหน้าคงมีให้เห็นจากการส่งข่าวจากทีมนาอ้อเอง ไม่รู้ผลอย่างไรเหมือนกันครับ

สวัสดีค่ะ! เหนื่อยมั้ยคะ สุดยอดจริงๆค่ะ พี่โต้งนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท