KM DM เมืองเลย(๑)


วันแรกเป็นการนำเสนอ best pactice กันที่ห้องประชุม เทศบาลตำบลนาอ้อ มีเรื่องเล่าจาก ร.พ.ขอนแก่น ร.พ.ศรีนครินทร์ และของทีมธาตุพนมเอง

           วันที่ 26-27 สิงหาคม 50 ผมและทีมธาตุพนม คือคุณอุทัยวรรณ ผดุงสิทธิธรรม คุณมณีวัชราภรณ์ ตังควานิช คุณพเยาว์ปิยะไพร ได้ไปกันที่ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย เพื่อร่วมเป็นวิทยากรกันตามโครงการ "การจัดการความรู้(KM) เพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน" ซึ่งจัดโดยศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
              ผมรับผิดชอบ เป็นวิทยากรในการนำกระบวนการ ลปรร. ไปใช้เนื่องจากการประชุมนี้ใช้ชื่อโครงการว่า "การจัดการความรู้(KM) เพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน" ผมก็เลยถูกชักชวนจาก ทางศูนย์บริการวิชาการ นำโดย รศ.ดร.สุทธิลักษณ์ ตั้งกิรติชัย คุณเดือนเพ็ญ ผิวพิมาย และคุณเสาวลักษณ์ ราชำ ให้เอากระบวนการด้านการจัดการความมารู้มาใช้ โดยวันแรกเป็นการนำเสนอ best pactice กันที่ห้องประชุม เทศบาลตำบลนาอ้อ มีเรื่องเล่าจาก ร.พ.ขอนแก่น ร.พ.ศรีนครินทร์ และของทีมธาตุพนมเอง

 

งานนีเราขับรถไปกันเองครับ 

โดยมีโชว์เฟอร์เป็นผมเอง

โดยไปรับพี่อุทัยวรรณก่อนที่บ้านพักริมโขง

ตั้งแต่ เจ็ดโมงเช้าเลยครับ 

 
 

มาเช้าก็เลยได้บรรยากาศแบบนี้ครับ คนเข้าประชุมยังไม่มาเลย

ที่นั่งที่อยากจัดแบบตัว U ก็เลยลืมไปเลย มาคิดกันใหม่ว่าทำอย่างไรจะได้นั่งทุกคนมากกว่าครับ

 
 

 พอผ่าพิธีเปิด โดย สสอ.เมืองเลยเสร็จ

ก็ถ่ายรูปหมู่กันก่อนเลยครับ เพราะกลัวทีมจาก ส่วนท้องถิ่นหายไปก่อน

 

   

           วันแรกทางผู้จัดได้เชิญทีมที่เบาหวาน ในเขตภาคอิสานตอนบน มานำเสนอผลงาน ผู้เข้าฟังเป็นเจ้าหน้าที่ของ PCU เมืองเลยทั้งหมด รวมทั้งผู้ที่สนใจจากโรงพยาบาลในจังหวัดเลย ประมาณ 50 คน โดยเป็นการนำเสนอผลงานเด่นตลอดทั้งวัน ผมเลยขอแทรกนำเสนอในช่วงแรกก่อนเริ่มกิจกรรมประมาณ 20 นาที แนะนำโมเดลปลาทู ของ สคส.โดยมาใช้สไลด์เดิม ของ ดร.วัลลา ตันตโยทัย ที่ใช้ใน "ตลาดนัดความรู้ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดนครพนม" มาใช้แนะนำให้รู้จักกับ KM และ ลปรร. การทำขบวนการกลุ่ม การสกัดขุมความรู้ รวมทั้งแจ้งถึงกิจกรรม ในวันถัดไปที่เราจะต้องใช้ ทั้งคุณอำนวย และคุณลิขิต ประจำกลุ่ม จบด้วยนัดผู้ที่ได้รับกิจกรรมในวันถัดไปที่เก้าโมงเช้า เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการกันอีกครั้ง

   คุณอุทัยวรรณ และคุณพเยาว์ บรรยาย เรื่อง "เท้าเบาหวาน จากโรงพยาบาลสู่ชุมชน"

นอกจากเล่าเรื่องความรู้ปฏิบัติที่เราทำแล้ว ในยี่สิบนาทีสุดท้ายเรายังได้ให้ผู้เข้าประชุมลองประเมินเท้า ด้วยแบบประเมินของธาตุพนม และ ลปรร.กับประสบการณ์แต่ละแห่ง ได้อย่างเข้มข้น สนุกสนานทีเดียว

   

          วันนี้ทีม รพ.ขอนแก่นเล่าเรื่องการทำงานแบบสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์  นำทีมโดย อ.วิรัช มั่นในบุญธรรม และทีมอีก 6 คน ประกอบด้วย พยาบาล นักกายภาพบำบัด เภสัชกร และโภชนากร  ส่วนโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คุณเพชรรัตน์ บุตะเขียว เล่าเรื่องการจัดการในคลินิกเบาหวาน ที่ใช้ชื่อว่า ODOT project(One Stop DM Clinic by One Team) และ คุณสุนิสา ณ หนองคาย จาก PCU สามเหลี่ยม ก็ได้เล่ากิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในสถานีอนามัย ส่วนทีมธาตุพนม คุณอุทัยวรรณ และคุณพเยาว์  เรื่อง "เท้าเบาหวาน จากโรงพยาบาลสู่ชุมชน"

  ภาพกับทีมวิทยากร ถ่ายที่โรงแรม เลยพาเลซ ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 128834เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ อ.เอนก
  • ที่ท่าบ่อ ยังไม่รู้เรื่อง KM เลยค่ะ
  • คลินิกเบาหวาน คนไข้ก็ยังมาใช้บริการเยอะมาก ลดจำนวนลงไม่ได้เลย
  • คนไข้ส่วนหนึ่งก็ยังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โอกาสพัฒนาเยอะเลย
อาจารย์วัลลามาที่อุบล บอกว่า ที่ ธาตุพนม ทีมงานตั้งใจทำงานดีมาก คุณ เอนก ก็พัฒนาขึ้นมาก  ที่เล่ามา ก็แสดงถึง ความงอกงามของกระบวนการเรียนรู้ ที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้น รู้สึกดีจริง ๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท