ความล้มเหลวของ OTOP เมืองไทย


   

มีชาวบ้านนั่งร้องไห้ในบูธ OTOP ที่เมืองทองธานี พี่ชัชวาลย์ จากบ้านเมืองปอน แม่ฮ่องสอน เล่าให้ผมฟังระหว่างที่ผมนั่งรถไปนครปฐมเพื่อเข้าร่วมการประชุมเครือข่ายการท่องเที่ยวประเทศไทย ผมได้พูดคุยกับคุณชัชวาล เกี่ยวกับ ความคิดเห็นในเรื่อง OTOP ว่าคิดยังไง?

สาเหตุที่ร้องไห้ เพราะขายสินค้าไม่ได้ และราคาสินค้าที่ชาวบ้านตั้งก็ตัดราคากันเอง เมื่อยามที่สินค้าหลากหลายของชุมชนมารวมกัน ณ สถานที่ตรงนั้น...ศักดิ์ศรี วิถีชุมชนถูกทำให้อ่อนแรงไปทุกที เพราะ OTOP

ผมประทับเมื่อครั้งไปที่ คอยรุ๊ตตั๊กวา หนองจอก กรุงเทพฯ อาจารย์สมาน ผ็นำทางความคิดชุมชนนี้ บอกว่า ที่นี่ไม่ให้ความสำคัญกับ OTOP เราทำเพื่อให้เป็นสิ่งของฝากที่ระลึกสำหรับการท่องเที่ยวเท่านั้น ความสุขของคนที่นี่ ไม่ได้ขึ้นกับมูลค่าเงินจากการขายของเหล่านี้ และผมก็เห็นประจักษ์ว่าชุมชนที่นี่มีคุณภาพชีวิตที่อิสระ เข้มแข็งจริงๆ

OTOP จึงเป็นวาทกรรมการพัฒนาที่ผิดพลาดพลาดที่นำลงไปสู่ชุมชน การเปลี่ยนมือระหว่างกรม กอง ที่ดูแลผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ก็มีแนวคิดที่แตกต่างกัน ชาวบ้านก็ตั้งหน้า ตั้งตาผลิตเป็นล่ำเป็นสัน สุดท้ายไม่ตลาดให้ ...ได้ทั้งต้นทุนและกำไร

ที่นครปฐมผมเป็นวิทยากรชวนคุยเรื่อง ผลิตภัณฑ์ชุมชนในหมู่บ้านที่จัดการท่องเที่ยว บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงคุย ได้เปิดอิสระให้ทุกคนให้ความเห็นในประเด็นนี้ได้อย่างเสรี

และกลุ่มเป้าหมายที่นั่งพูดคุย ล้วนแล้วแต่เป็นผู้รู้ กรำงานชุมชนเป็นชาวบ้านตัวจริงทั้งสิ้น เนื้อหาที่ได้จึงเป็นวิธีคิดที่มาจากชุมชนจริง รายละเอียดการพูดคุยสรุปให้เห็นคร่าวๆดังนี้ครับ

O ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีขึ้นเพื่อ

  • -           เกิดกระบวนการเรียนรู้ จากการสัมผัสจริง
  • -           สื่อของดีชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้
  • -           แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต
  • -           เพิ่มความสนใจให้เกิดการท่องเที่ยวในชุมชน
  • -           หนุนเสริมการท่องเที่ยว
  • -           กระจายรายได้ให้กลุ่มอื่นๆในชุมชน
  • -           เพิ่มงานให้กับคนในชุมชน
  • -           เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางการท่องเที่ยว

O ปัญหา

  • -           ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เอื้อต่อวิถีชุมชน
  • -           การส่งเสริมของรัฐขาดความต่อเนื่อง
  • -           มุ่งรายได้ ทำลายทรัพยากร
  • -           ความขัดแย้งในเรื่องของแนวคิดการพัฒนาว่าจะพัฒนาเพื่ออะไรระหว่างอุตสาหกรรม, พาณิชย์, ชุมชน หรือการเกษตร
  • -           ความไม่มั่นใจในผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค
  • -           การจดทะเบียนลิขสิทธิ์มีค่าใช้จ่ายสูง
  • -           การลอกเลียนแบบ
  • -           การผิดพลาดทางนโยบาย

  O การแก้ปัญหา

  •      -    ศึกษาผลกระทบ
  •      -    บริหารจัดการอย่างมีแบบแผน ครบวงจรทั้งการผลิต และการทำการตลาด
  •      -    สร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ, แลกเปลี่ยนสินค้า และคำแนะนำ
  •      -    ศึกษาศักยภาพชุมชน ว่าสามารถจะเป็นชุมชนที่ขายวัตถุดิบ หรือชุมชนที่ผลิต
  •      -    จัดตั้งเป็นองค์กรชุมชน
  •      -    บูรณาการงานพัฒนา
  •      -    จัดตั้งเป็นสหกรณ์

 O สิ่งที่ควรส่งเสริม

  • - ใช้อย่างระมัดระวัง ไม่สร้างความเสียหายแก่ทรัพยากร
  • - สร้างความสมดุล ระหว่างคุณค่า มูลค่า และผลิตภัณฑ์ชุมชนว่ามีเพื่ออะไร

O พัฒนาอย่างไร

  •      - ควรมีการพัฒนาให้เกิดความ หลากหลาย มีมาตรฐาน ร่วมสมัย มีคุณภาพ
  •      - พัฒนาองค์ความรู้ โดยการสร้าง นำไปใช้ละเก็บไว้เป็นภูมิปัญญา และพัฒนาต่อๆไป
  •      - มีความรู้ว่าตนเองมีอะไร และจะสร้างคุณค่าได้อย่างไร มีวิธีคิดและตระหนักถึงความพอเพียง ถึงความยั่งยืน และความสุขในชุมชน ว่าผลิตภัณฑ์นั้นทำเพื่อใช้ เพื่อจำหน่ายหรือทั้งเพื่อใช้และจำหน่าย จุดที่สมดุลและพอเพียงอยู่ที่ไหน
  •      - มีเรื่องราวของผลิตภัณฑ์
  •      - รูปแบบของผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับความต้องการว่าเพื่อจำหน่าย หรือเพื่อใช้ มีการสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ และพัฒนาให้หลากหลาย รวมถึงมีคุณภาพและมาตรฐาน ท้ายที่สุดแล้วควรมีการจดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
  •      - สร้างเครือข่ายทั้งจากภายใน และภายนอกประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทางการตลาด สินค้า และวัตถุดิบ
  •      - มีหลักสูตรท้องถิ่น ที่ถ่ายทอดจากปราชญ์ท้องถิ่น, ภูมิปัญญาชุมชน และพัฒนาให้มีวิทยากรท้องถิ่น
  •      - พัฒนาวัตถุดิบ เพื่อพัฒนาคุณภาพ และทราบจุดสมดุลในการผลิตต่อไป

O หัวใจของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

 

      ตระหนักรู้คุณค่า พัฒนาเป็นเอกลักษณ์ ยึดหลักพอเพียง หล่อเลี้ยงชุมชน

คำถามสุดท้ายที่โยนเข้าไปในวงคุย ว่าควรจะมีการพัฒนา OTOP ต่อไปหรือไม่ ก็ได้คำตอบว่าควรมี แต่ควรทบทวนแนวคิด และกระบวนการให้ชัดเจน คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย....

คิดว่ามุมมองในเวทีคงฉุกใจได้คิดสำหรับคนทำงานไม่มากก็น้อย

 

หมายเลขบันทึก: 128705เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
  • สวัสดีค่ะ อ.เอก
  • ป้าแดง ก็เห็น ร้านค้าแถวบ้านไปออกบูธแล้วบ่นกันค่ะ ว่าเดี๋ยวนี้ ทำกันเยอะมาก จนไม่มีตลาดรองรับ จึงต้องกลับมาเปิดร้านเหมือนเดิม

 

สวัสดีครับ  

P

เป็นความเห็นผิด ของนักพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่งครับ ที่สักแต่ทำตามนโยบาย แบบไม่ลืมหูลืมตา นี่ก็เป็นผลงานของการศึกษาอีกอย่างครับ ที่ทำให้คนของเราไม่ค่อยคิด  และใช้ปัญญาในการทำงาน วางยุทธศาสตร์ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็คอยจะแก้ไข ได้บาดแผลเจ็บปวดกันถ้วนหน้า

สงสารก็แต่ชาวบ้านหละครับ เพราะเป็นจำเลยไปหมดทุกเรื่อง

เขียนเรื่องนี้ก็ทำให้เขียนพาดพิงไปหมด  ขออภัยด้วยครับ ช่วงนี้เลือดลมกระฉูดครับป้าแดง เหมือนกำลังขึ้นสังเวียน หาคู่ชกครับ

ที่ เฮาศาสตร์ ได้ข่าวว่าป้าแดงจะได้ไปด้วย จะได้เจอหน้า พูดคุยกันนะครับ

  • ใจเย็นค่ะ อ.เอก
  • อย่าให้ถึงกับองค์ลงนะคะ อันตรายค่ะ อิอิอิ
  • ....................
  • ดงหลวง มีอะไรหลายอย่างที่ป้าแดงอยากรู้อยากเห็น เลยอยากจะไปค่ะ
  • แต่เสียดายที่คนข้างกายข้างใจอาจจะไปด้วยไม่ได้ เลยอดมีคนทำกับข้าวให้ทาน
  • ดีใจที่จะได้เจอค่ะ

สวัสดีครับเอก

  • เป็นบทความที่ดีครับ และขอบคุณมากๆ ครับที่นำมาเสนอนะครับ
  • ผมว่า มีโอทอป หลายที่ล้มเหลว และก็น่าจะมีหลายที่ที่เค้าไปได้
  • ที่เค้าไปได้เพราะเค้ามีรากฐานที่ดี และเค้าเป็นอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว โดยที่โครงการนี้ลงไป ไม่ได้ทำให้เค้าต้องปรับตัวมากนักครับ เพราะรากเดิมหยั่งลึกอยู่แล้วมีความสามารถ องค์รู้ที่ครบอยู่แล้ว
  • แต่ที่ล้มเหลว หลายๆ ที่เพราะรากฐานมีปัญหา หรือไม่ก็คิดทำในสิ่งที่ไม่ใช่รากเหง้าของตัวเอง
  • อย่างเช่นหลายๆ ที่ทำเกี่ยวกับไวน์ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า ไวน์นั้น เป็นรากของคนไทยหรือเปล่า ทำเอาสนุกได้นะครับ แต่หากจะทำเป็นการค้า มันไม่ใช่แค่ทำเป็น แล้วจะอยู่ได้ แต่ต้องเพิ่มกระบวนการอื่นเข้าไปด้วย คิดเป็น ทำเป็น ส่งออกเป็น หาตลาดเป็น
  • แต่หากเราจะทำเพื่อแจกจ่าย ก็เปลี่ยนจากการหาตลาดเป็น ให้เป็น แจกจ่ายเป็น
  • อย่างหมู่บ้านที่ผมอยู่ที่บ้านพ่อแม่ เค้าคิดจะทำ ผ้าบาติก แต่ผมทำนายได้ว่าไปไม่ถึงไหน เพราะว่าไม่ใช่รากที่แท้จริงของชุมชน หากค้นหารากไม่ได้ ก็ไม่ยั่งยืนแน่นอน
  • และผมเชื่อว่า รากที่แตกแขนงเองได้เท่านั้นที่จะพัฒนาได้
  • ขอบคุณมากครับผม เป็นกำลังใจในการทำงานกับชุมชนนะครับ
  • ทุกชุมชนมีรากเหง้าเสมอนะครับ ไม่ว่าจะทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่อาหารการกินครับ
  • ขอบคุณครับ 

มาต่ออีกรอบครับเอก

  • สำหรับชุมชนใดที่ไม่เหลือรากแล้ว ก็สามารถฟื้นฟู หรือส่งเสริมหารากใหม่ก็ได้นะครับ หากมีการฝึกและอบรมนำไปสู่การคิด ทำ ใช้ และพัฒนา ก็ไปได้เช่นกันครับ แต่ต้องทำต่อเนื่อง จนกว่าความต่อเนื่องนั้นจะเป็นรากที่แท้จริงครับ
  • จริงๆ หากเราไม่ประยุกต์หรือบังคับให้ทำกันทุกหมู่บ้าน แต่เน้นการส่งเสริมให้เค้าเป็น ให้ชุมชนคิดและทำออกมานะครับ จะดีเอง
  • หากมีแต่แม่ค้า แล้วใครจะเป็นลูกค้าหล่ะครับ ผมหมายถึงว่าผลิตอย่างเดียวกันในชุมชน
  • ผมยังมองถึงความหลากหลายในชุมชนด้วยนะครับ ผมว่า ไม่ว่าจะสเกลระดับใด ยังมีความจำเป็นเรื่องของความหลากหลายนะครับ
  • หากในชุมชนมีแต่คนขายขนมจีน หรือปลูกแต่มันสำปะหลังอย่างเดียว หากจะให้คนในหมู่บ้านกินกันเองซื้อกันเอง ก็คงไม่น่าจะเป้าหมายที่ใช่
  • นั่นเป็นที่มาของการทำไร่นาสวนผสม ให้มีหลายๆ อย่าง อยู่ร่วมกัน เพราะเราเองก็ต้องการความหลากหลายเองแม้แต่ว่าจะกินอาหารก็เช่นกัน เรากินแกงซ้ำๆ กันได้ไหมครับ อิๆๆ แต่ผมกินแกงไตปลา หรือหนมจีนได้ทุกมื้อเลยครับ อิๆ หรือน้ำพริกก็ได้ครับอิๆๆ อันนี้ข้อยกเว้น แต่อาจจะไม่ดีกับสุขภาพนะครับ ต้องทำให้ครบถ้วนเช่นกันครับ
  • ขอบคุณมากครับ ก่อนจะพาออกนอกเรื่องครับ 
หวัดดีอ้ายเอก ทำงานอย่างเรามันต้องเข้าถึงวิถีชุมชนเป็นธรรมดา เป็นกำลังใจค่ะ อ้อ.......ถือโอกาศฝากความคิดถึงเสน่ห์เพื่อนlove ด้วยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะที่นำมาแบ่งปัน และช่วยแตะเบรคให้ดิฉันได้คิดทบทวนอีกครั้งกับการเริ่มงานที่ดิฉันก็รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจว่าเดินมาถูกทางรึเปล่า

งานนี้คงไม่ค่อยง่ายอย่างที่คิด แต่ที่ยากสุดๆ ดิฉันว่าน่าจะเป็นเรื่อง "บริหารจัดการอย่างมีแบบแผน ครบวงจรทั้งการผลิต และการทำการตลาด"

ยังไงก็ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

http://gotoknow.org/blog/pilgrim/126825

สวัสดีครับป้าแดง

ดีใจครับ ที่จะได้เจอที่ดงหลวง ป้าแดงเขียนบันทึกได้เป็นธรรมชาติและจริงใจดีครับ ผมชอบสำนวนและวิธีคิดที่ตรงไปตรงมา ...คือ น่ารัก มากครับ

สวัสดีครับ เพื่อนเม้ง

P

ความคิดเห็นของเม้งเป็นความคิดเห็นที่ดีมากครับ เป็นมุมมองคนทำงานชุมชนเลยทีเดียว

ผมอยากให้คนทำงานเกี่ยวข้องระดับพื้นที่ คิดแบบนี้จังครับ เท่าที่เจอไม่มีใครคิดแถมยังทำตามนโยบายให้เสร็จๆไป...

โอทอปมีส่วนดีก็มีครับ แต่ด้วยการส่งเสริมที่ผิดพลาดจากคนทำงานเมื่อเปลี่ยนมือก็กลายเป็นปัญหากลับเข้ามายังชุมชนทันที เรื่อง ผลประโยชน์เรื่องเงิน ก็ทำให้ร้าวฉานกันเลยก็มี

ผมคุยกับพี่ชัชวาลย์แล้วได้มุมคิดหลายมุม ผมมองว่าสิ่งที่เป็นธรรมชาติที่สอดคล้องกับความเป็นวิถีชุมชนเป็นวิถีที่ยั่งยืน เรื่องเดียวกันโอทอปเองก็ต้องคิดจากจุดนี้...ส่วนใหญ่ที่เห็นก็คือคิดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ชุมชนไม่คุ้นเคย อีกยังใช้วัตถุดิบจากที่อื่นอีก

แต่หากมองอีกมุมก็ดี หากชุมชนได้แลกเปลี่ยนวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าเป็นโอทอป เรามองต่อไปยังทรัพยากรที่ต้องถูกใช้ให้หมดไป...ก็น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกัน

"หากค้นหารากไม่ได้ ก็ไม่ยั่งยืนแน่นอน

และผมเชื่อว่า รากที่แตกแขนงเองได้เท่านั้นที่จะพัฒนาได้"

เป็นประโยคเด็ดเลยครับเม้งครับ

คนหนือเรียกว่า การ ฮู้คิง  หรือ การรู้ตนเอง ว่าตนเองมีศักยภาพอะไร ทุนแบบไหน จะต่อยอดได้อย่างไร ตั้งโจทย์ให้ชาวบ้านร่วมกันคิด แชร์ไอเดีย ไม่เอาความคิดข้างนอกมาครอบงำ

แบบนี้เริ่มต้นดี และเกิดความเป็นเจ้าของและรับผิดชอบร่วมกัน

"........

  • สำหรับชุมชนใดที่ไม่เหลือรากแล้ว ก็สามารถฟื้นฟู หรือส่งเสริมหารากใหม่ก็ได้นะครับ หากมีการฝึกและอบรมนำไปสู่การคิด ทำ ใช้ และพัฒนา ก็ไปได้เช่นกันครับ แต่ต้องทำต่อเนื่อง จนกว่าความต่อเนื่องนั้นจะเป็นรากที่แท้จริงครับ
  • จริงๆ หากเราไม่ประยุกต์หรือบังคับให้ทำกันทุกหมู่บ้าน แต่เน้นการส่งเสริมให้เค้าเป็น ให้ชุมชนคิดและทำออกมานะครับ จะดีเอง
  • หากมีแต่แม่ค้า แล้วใครจะเป็นลูกค้าหล่ะครับ ผมหมายถึงว่าผลิตอย่างเดียวกันในชุมชน
  • ผมยังมองถึงความหลากหลายในชุมชนด้วยนะครับ ผมว่า ไม่ว่าจะสเกลระดับใด ยังมีความจำเป็นเรื่องของความหลากหลายนะครับ
  • หากในชุมชนมีแต่คนขายขนมจีน หรือปลูกแต่มันสำปะหลังอย่างเดียว หากจะให้คนในหมู่บ้านกินกันเองซื้อกันเอง ก็คงไม่น่าจะเป้าหมายที่ใช่
  • นั่นเป็นที่มาของการทำไร่นาสวนผสม ให้มีหลายๆ อย่าง อยู่ร่วมกัน เพราะเราเองก็ต้องการความหลากหลายเองแม้แต่ว่าจะกินอาหารก็เช่นกัน เรากินแกงซ้ำๆ กันได้ไหมครับ อิๆๆ แต่ผมกินแกงไตปลา หรือหนมจีนได้ทุกมื้อเลยครับ อิๆ หรือน้ำพริกก็ได้ครับอิๆๆ อันนี้ข้อยกเว้น แต่อาจจะไม่ดีกับสุขภาพนะครับ ต้องทำให้ครบถ้วนเช่นกันครับ
  • ........"

    เป็นการเพิ่มเติมบันทึกของผมได้ดีมากเลยครับ

    ขอบคุณอีกครั้ง

    สวัสดีครับ น้องพยาบาล คนงามP

    ตกใจที่จู่ๆก็โผล่มาที่นี่

    น้องติ๊กสบายดีนะครับ....ก็ขอเป็นกำลังใจให้พี่น้อง รพ.ปาย เขียนบันทึกกันเยอะๆนะครับ

    จะฝากความคิดถึงให้เสน่ห์ครับ

    สวัสดีครับP

    ยินดีมากครับที่ได้แลกเปลี่ยนกับคุณ ผมคิดว่าเราเองก็อยู่ไม่ไกลกัน และทำงานในรูปแบบคล้ายๆกัน

    ขอจับมือเป็นพันธมิตรทางความคิดด้วยคนนะครับ ผมชอบบันทึกแนวที่คุณเขียนมากครับ ร่วมกันคิด ร่วมกันเติม บำรุงสมองมาก

    ผมตามไปให้ข้อคิดเห็นในบันทึกนั้นแล้วครับ เป็นความพยายามพัฒนาที่เป็นมิตรมากครับ ผมให้กำลังใจมากครับ

    ผมให้มุมคิด สองทางเรื่อง

    กลุ่ม จัดตั้ง และ กลุ่ม สนใจ นะครับ ลองคิดประเด็นนี้ดู

    หากหน่วยงานของคุณไม่เร่งรัด ผมมองว่า ใช้เวลานานไปอีกหน่อย ครับที่สำคัญคือตั้งโจทย์ให้ชาวบ้านร่วมคิดตั้งแต่ต้น

    ให้กำลังใจนะครับผม
    ...เป็นเรื่องที่ดีมากๆครับ

    สวัสดีค่ะอ้ายเอกคนเก่ง แหมดีใจอุตสาห์จำเราได้ด้วย

    แต่ว่าติ๊กไม่ได้อยู่ที่โรงพยาบาลปายแล้วนะค่ะ

    ย้ายมาอยู่ที่ศรีราชาเกือบครบสองปีแล้วค่ะ

    แวะมาเยี่ยม เยียนกันบ้างนะค่ะถ้าแวะมาทางนี้

    อ้อฺblogger รพ.ปายเหลือไม่กี่คนแล้วละค่ะ อ้ายเอกลองถามหมอสุพัฒน์ดู เห็นว่าเกือบโดนหางเลขเหมือนกัน เพราะมีการใช้ผิดวัตถุประสงค์ จะตื้นลึกหนาบางยังงัยก็มีแต่คนในเท่านั้นละค่ะที่ทราบ

    ติ๊กก็ได้รู้มาแบบพาดหัวข่าวแค่นี้แหละ ค่ะ

    สวัสดีครับ น้องติ๊ก P

    ย้ายไปเสียไกลเลย

    กำลังงงเหมือนกันครับ ไปอยู่ศรีราชาเสียแล้ว จากภูเขาไปทะเลเลยนะครับ

    ลองไปแวะเวียนBlogger สถานที่ทำงานเก่าก็ดีครับ

    จริงๆแล้วบริบทมีมาก อาจมากเกินที่น้องติ๊กเข้าใจนะครับ ผมเห็นใจและเข้าใจผู้ที่เขียน blog ว่าเป็นผู้ที่สนใจ ตั้งใจในการพัฒนาตนเองจริงๆ

    การเขียนบันทึกเพื่อการเรียนรู้ อาจมีการบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึกได้ด้วย ก็ไม่แปลกนะครับ เท่าที่พี่อ่านดูแล้ว บันทึกพี่ๆเหล่านั้นเขียนได้ดี และสื่อถึงความตั้งใจในการทำงานเพื่อคุณภาพโรงพยาบาลมากเลยครับ

     อาจมีการมองแบบอคติบ้างจากผู้ที่ความเห็นไม่ลงรอยกัน ยังไงก็ให้กำลังใจนะครับทั้งน้องติ๊กและพี่ๆพยาบาล

    หมอสุพัฒน์ท่านก็เป็น"คุณเอื้อ" ที่น่ารักมาก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่สูง หมอแบบนี้ต้องให้อยู่เมืองปายนานเท่านาน - - -ซึ่งเราพบน้อย ว่ามั้ยละครับ

     

    สวัสดีค่ะน้องเอก....จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

    • ชื่อเรื่องน่าสนใจ  และเนื้อหาก็ดีมากเหมาะสมที่จะนำไปเป็นข้อมูล...เพื่อนของครูอ้อยกำลังทำดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้น่ะค่ะ..จะได้บอกเพื่อนให้มาอ่าน  แต่ตอนนี้ครูอ้อย..copy ไปแล้วค่ะ

    ขอบคุณค่ะ..คิดถึงค่ะ

    สวัสดีครับ

    P

     

    ยินดีมากครับ บันทึกจะได้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบ้านเราได้บ้าง

    ความคิดเห็นที่ลงในบันทึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพูดคุยที่ นครปฐม เมื่อต้นเดือนนี้ครับ

    ผมมองว่าความพยายามพัฒนาของรัฐใดๆก็ตาม หากได้ศึกษาและสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำของคนท้องถิ่น การพัฒนานั้นจะเป็นมิตรมากครับ

    ยินดีครับ หากเพื่อนของครูอ้อยจะเข้ามาแลกเปลี่ยนประเด้นนี้อีกก็ยินดีครับ

    สวัสดีค่ะคุณเอก

    บันทึกนี้ เป็นบันทึกที่ดีมากๆค่ะ เป็นข้อมูลเพื่อการไปปรับปรุงพัฒนาได้เป็นอย่างดี

    ในฐานะผู้บริโภค มักมองเห็นสินค้าโอท็อปบางรายการว่า อาจมีปัญหาด้านคุณภาพ ความไม่หลากหลายในผลิตภัณฑ์   ผู้จะซื้อไม่มั่นใจในผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค มองไม่เห็นคุณค่า ของผลิตภัณฑ์เท่าที่ควร และสินค้าอย่างเดียวกัน ก็มีมากมายซ้ำๆกัน จนดูเป็นธรรมดาไปหมด และที่สำคัญอีกอย่าง คือยังขาดการบริหารจัดการที่ดี

    การผลิตสินค้าโอท็อป มักเกิดจากการผลิต ยามว่าง ทำเหมือนงานอดิเรก ดังนั้น ความตั้งใจ ความประณีตอาจยังไม่พอ และขาดแผนการตลาดที่ดี

    จึงมีปรากฏการณ์ของ สินค้าที่เหมือนๆกันมากมาย รูปแบบหีบห่อก็คล้ายๆกันไปหมด คนซื้อลานตาไปหมด จนตัดสินใจไม่ถูกว่า จะซื้อเจ้าไหนดี   

    จึงควรเป็นอย่างคุณเอกให้ความเห็นว่า.....

     ควรมีการพัฒนาให้เกิดความ หลากหลาย มีมาตรฐาน ร่วมสมัย มีคุณภาพ

     

    กะว่าจะมาอ่านเฉยๆ ..ไม่อยากออกความเห็นเรื่องนี้ครับ เพราะผมว่ามันเป็นเรื่อง...ธรรมดา

    เข้าใจว่า OTOP ก็มีเจตนา และ วัตถุประสงค์อย่างที่คุณเอกว่าแหล่ะครับ ซึ่งถ้าใช้ตัววัดจากที่รายได้ของประชาชนในท้องถิ่น ก่อนที่จะมี OTOP กับ หลังมี OTOP ก็น่าจะต่างกันในทางที่ดีขึ้นนะครับ ทั้งคนที่เคยต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง ก็อาจจะช่วยกันทำ OTOP ในท้องถิ่นตัวเองมากขึ้น

    ดูจากตรงนี้คงจะดีขึ้น

    การประชาสัมพันธ์ และ การสนองนโยบาย กันอย่างเต็มที่ อาจทำให้ มี Supply มากกว่า Demand ในบางกลุ่มสินค้า

    ก็คงเป็นเรื่องปกติที่ ของเหมือนๆกันออกมาขาย ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน ก็ต้องแบ่ง Cake กันเอง คนคงไม่ได้ซื้อน้อยลงหรอกครับ แต่ ต้องแบ่งShare กัน

    คงเป็นเรื่องที่ต้องให้เวลา และ คุณภาพของงาน เป็นการคัด "ของจริง" ให้เหลืออยู่ในตลาด ตามกลไกของมันครับ

    OTOP ก็คล้ายๆ สินค้าใหม่ที่ต้องพัฒนาขึ้นมาให้เหมาะกับ Competency ของแต่ละท้องถิ่นแหล่ะครับ ถ้าทำมาเกร่อเกินไป ก็คงหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้ยาก

    สรุปว่าดีแล้วนะครับ แต่ ไม่จำเป้นต้องทำทุกตำบลหรอก ตำบลไหนมี ศักยภาพ ก็เอาออกมาใช้ รัฐบาลส่งเสริม สนับสนุนให้ไปได้ไกล ขายได้ระดับ world class เลยก็ได้ครับ จะมี แค่จังหวัด ละ product ก็ไม่แปลกหรอกครับ ถ้าของเค้าดี

    ผมว่างั้นนะ

    สวัสดีครับคุณP  

    ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ สุดท้าย OTOP จะเป็นแบบที่คุณ   Pong+Roofman เสนอมาครับ

    ผลิต

    ขาย

    คัดเลือก

    อิ่มตัว

    พัฒนา

    สินค้าที่ดี มีคุณภาพ

     

    จะเป็นวัฎจักรแบบนี้ครับ

    บทความนี้ถือว่าเป็นบทความที่ดีมากเลยค่ะ เป็นเหมือนการเปิดมุมมองของตัวเองให้กว้างขึ้น คนไทยชอบหยิบเอาวิธีการ หลักการ หรือทฤษฎีต่างๆ ของต่างชาติที่คิดว่าดีมาใช้กับประเทศโดยไม่ได้คำนึงถึงว่าควรนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเอง รู้จักรากเหง้าของตนเอง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมาเช่นเดียวกับปัญหา OTOP นี่แหละค่ะ ตอนแรกคิดว่าจะเป็นผู้อ่านอย่างเดียว แต่ในที่สุดก็อดแสดงความคิดเห็นไม่ได้ จากที่อ่านบทความต่างๆ ของคุณอยากชมว่าคุณเป็นคนที่ใช้ภาษาได้ดีมาก บทความที่เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไปก็ใช้ภาษาได้สวยงาม น่าอ่าน เหมือนหนังสือที่อ่านแล้ววางไม่ลงเลย ในส่วนของบทความทางวิชาการหรือกึ่งวิชาการก็เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ชัดเจนตรงประเด็น มีเหตุมีผล เหมือนได้อ่านบทความจากผู้รู้ที่มีประสบการณ์จริง บทความเกี่ยวกับศาสนาก็ลึกซึ้ง บ่งบอกถึงคนที่เข้าใจโลกได้เป็นอย่างดี รู้เท่าทันจิตของตนเอง และรู้จักนำเอาหลักของพระพุทธศาสนามาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เพื่อยกระดับและกล่อมเกลาตนเองให้สูงขึ้น สุดท้ายก็ขอให้คุณนำเอาบทความที่ดีๆ อย่างนี้มาให้อ่านอีกอีกเรื่อยๆ นะคะ ขอบคุณค่ะ

    ขอต่ออีกนิดนะคะ เมื่อได้อ่านบทความของคุณแล้วรู้สึกเหมือนกับว่าได้อ่านบทความของคนที่มีความคิดเห็นหรือมุมมองในเรื่องต่างๆ ที่คล้ายๆ กันค่ะ

    ขอบคุณ และ ยินดีต้อนรับคุณวชิราภรณ์ ครับ

    ผมเขียนบันทึกนี้มานานพอสมควรครับ  ปัญหาการพัฒนาของรัฐ โดยวิธีคิดแบบรัฐ ที่ยังสวนทางกับความต้องการของชุมชน ไม่ว่าจะเกิดด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม เราก็ยังพบเห็นอยู่ตลอด

    ระบบการศึกษาเราสร้างคนรู้ไว้มาก สร้างคนเข้าใจน้อย

    การพัฒนาจึงผิดพลาดและส่งผลกระทบมากมายกับคนรากหญ้า ...

    OTOP ที่ผมเขียนก็เป็น วาทกรรม การพัฒนาที่เราประสบได้เนืองๆครับ

    ขอบคุณที่ติดตามอ่านบันทึกของผมในหลายๆบันทึกด้วยครับ การเขียนเป็นการพัฒนาทักษะ หลายเรื่อง ทักษะการสรุปความ ทักษะการนำเสนอ ทักษะการวิเคราะห์สังเคราะห์  ทุกอย่างต้องประสานสอดคล้องกัน  ผมเองก็พัฒนาตัวเองเรื่อยๆครับ อยากถ่ายทอดมุมคิดของผมออกมาให้ทุกคนได้อ่าน หากผู้อ่านที่ได้อ่านแล้วรู้สึกว่าดี มีประโยชน์ก็รู้สึกภูมิใจครับ

    บล็อกธรรมะ...ผมก็เป็นการถอดบทเรียนตัวเอง ผ่านประสบการณ์ที่พบในแต่ละวัน อาจจะต้องเดินทางอีกยาวไกลครับผม :)

    OTOP ทำไงก็เจริญไม่ง่ายหรอก ถ้าไม่สามัคคีกัน ไว้ใจกัน ร่วมมือกัน ในกลุ่มของผู้ผลิตเองและชาวบ้าน อย่าไปมัวแต่รอความช่วยเหลือจากรัฐบาลครับ พลังนั้นสร้างเอง จากถ้ามากคน-ก็จะมากพลังและหนทางเดิน แต่สำคัญสุดที่ต้อง ไว้ใจกัน-Prove It :จับมือกัน-Do It.......

    สรวีย์กาญจน์ พลภักดี

    โอทอปที่แท้จริง นะ ตอ้งไปดูคนที่ ทำจริงๆ แล้วอีกอย่างที่ไปไม่รอดคือเส้นสาย  คนบางคนทำสินค้าฮ่วยแตกแต่ได้ 5ดาว  อุตสาห์มี หลักเกณฑ์ดีๆๆตั้งไว้เยอะแยะ แต่ไม่เคยเอามาใช้ ทุกวันนี้  5 ดาว ต้องดูอีกว่าสินค้าไหน  เพราะบางอย่าง  สินค้า 5 ดาวไม่มีคุณภาพ มาได้ไงคะ ต้องถามว่า ออกมาได้ไง ในเมื่อสมัยก่อนออกไม่ได้ แล้วคนที่ดาวร่วง

    ไม่มี แม้สินค้า จะไม่มีการพัฒนา ก็ได้ แล้วเรื่องสมุนไพร แค่มี อย ก็ได้ 5 ดาวแล้ว นี่หรือคือสิ่งที่เกิดขึ้น  แล้วเจ้าหน้าที่ที่ ทำงาน ไม่กระตือรืนร้น  ทำผู้ประกอบการเสียโอกาศ  แล้วก็อ้าวว่า คนส่งคัดสรรเยอะ ณ ตอนนี้ ยังมีคน ดาวไม่ออกอยุ่มากมาย  ไม่ทราบเพราะไร จึงไม่ออกไม่มีคำตอบ แม้จะไปถามอธิบดี ก็ไม่ได้รับคำตอบ  ถามกี่ครั้งก็ไม่มีคำตอบเลย แล้วจะเปิดทำไมนะ ไม่เข้าใจ เปิดให้ถาม แต่ไม่ตอบ 

    iOTOP แอพค้นหาสินค้าโอทอปทั่วประเทศไทย
    http://software.thaiware.com/download.php?id=11770

    ฟรีสำหรับช่วยนักท่องเที่ยวที่ต้องการซื้อของฝากแบบถึงแหล่งผลิตกันเลยครับ และท่านยังไม่มีโอกาสพบปะกับผู้ผลิตกันตัวเป็นๆ ด้วย

    ท่านสามารถแวะชมเว็บไซต์ของเราได้ที่
    http://www.phetchotop.com

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท