การประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการปฏิบัติงาน


ประเมิน 360 องศา

                  ปัจจุบันระบบข้าราชการมีการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน  ปีละ  2  ครั้ง  คือ   เมษายน  และตุลาคม   แต่ละหน่วยงานต่างก็หาวิธีการประเมินที่คิดว่าเป็นธรรม  โปร่งใส  ตรวจสอบได้มาใช้  แต่ไม่ว่าวิธีไหน ก็ไม่พ้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์    เคยได้ฟังความคิดเห็นของผู้มีประสบการณ์ท่านหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า  ถ้าใช้การประเมินแบบ  360  องศาจะดีมาก   เช่น  การประเมินผลการปฏิบัติงานของครู   นอกจาก  ผู้บริหาร  หัวหน้างาน  หัวหน้าฝ่ายแล้ว  ก็ให้เพื่อนร่วมงาน  นักเรียนและผู้ปกครองร่วมประเมินด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้าน    สัดส่วนของคะแนนอาจแบ่งเป็น

                           ผู้บริหาร            15   %

                           หัวหน้างาน       15    %

                           หัวหน้าฝ่าย       15    %

                           เพื่อนร่วมงาน   15    %

                           นักเรียน            30    %

                           ผู้ปกครอง        10    %

นักเรียนเป็นผู้รับบริการโดยตรง  จึงน่าจะมีส่วนในการประเมินมากที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #เลื่อนขั้น
หมายเลขบันทึก: 128594เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 00:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หากจะประเมินตามเกณฑ์ที่เขียนในบันทึกนี้  จะดีมากค่ะ

แต่..ส่วนใหญ่  อยู่ที่ปลายปากกาของคนบางคน  เสียมากกว่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อยากให้เป็นอย่างครูสุนันท์เสนอ

................

แต่ก่อน..ชอบสำนวนกุ่ยกระโทกในเว็บบอร์ด สพฐ.

วันนี้ได้รู้จักตัวจริง เสียงจริง...

คุณครู ยังต้องถูกได้รับการประเมิน เพื่อจัดลำดับประสิทธิภาพในการสอน..... เพียงแต่ เกณฑ์ที่นำมาใช้ประเมินนั้น ยังไม่ได้รับการร่วมคิด  ร่วมตัดออก(ในสิ่งที่ไม่ใช่ การประเมินตามสภาพจริง ตามงานในหน้าที่ของครู) ในสิ่งที่ไม่ใช่งานสอน  ซึ่งยังไม่ได้รับการยินยอม หรือยอมรับเลย พอเหตุการณ์ผ่านมาอีกรอบ ก่อน ตุลาคม ๕๐ ก็ยังพยายาม ใช้เกณฑ์เดิม ๆ ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้โดนประเมินอีกแล้ว .......เลยไม่น่าเป็น ผลการประเมินที่มีประสิทธิภาพ(ไม้บรรทัดวัดได้ไม่เที่ยงตรง ---- เพราะเสกลวัด ไม่ชัดเจน เลอะเลือนในบางที )  เฉกเช่นนี้....ผู้ถูกประเมิน ก็อาจไม่ยอมรับ ก็ได้....     ....................และในทำนองเดียวกัน.......ผู้รับบริการจากโรงเรียน ( ตัวผู้เรียน นักเรียน ฯลฯ ) ก็ถูก คุณครู แต่ละรายวิชา ทำการ วัดและประเมินตามสภาพที่แท้จริง โดยที่ ผู้เรียน ยังไม่ได้รับรู้ ในเกณฑ์การวัดผลประเมินผล (ยอมรับ)เลยเช่นกัน......ดังนั้น  หากผู้เรียนถูกประเมินผลการเรียนออกมาแล้ว น่าจะถูกจัดลำดับคุณภาพของการพัฒนาผู้เรียนได้ไม่เที่ยงตรง เช่นกัน ( ไม้บรรทัดไม่มีเสกล).....จึงอยากขอ วิงวอนคุณครูในเวลาในช่วงปิดเทอม เตรียม สเกลวัดผู้เรียน เตรียมจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง  เตรียมวัดผลประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง  เพื่อให้ได้ ผลที่ได้จาก การวัดผลประเมิน ที่ยอมรับได้จากผู้เรียน นะครับ......อ้อ...แล้วอย่า ลืม ขอทบทวนเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพครู ไปตัดออกในส่วนที่รับไม่ได้ ไม่ยอมรับ ไม่ยินยอม ออกไปด้วยนะครับ  มิฉะนั้น ก่อนเมษายน ๕๑ ก็จะเป็นเฉกเช่นเดิม....

 

               เห็นด้วยกับครูโจ้ที่ว่าควรปรับปรุงเกณฑ์ในบางรายการ  และเห็นด้วยที่ว่าในการเรียนการสอนครูควรแจ้งให้นักเรียนทราบว่านักเรียนควรจะทำอะไรได้บ้างเมื่อเรียนเนื้อหานั้น ๆ แล้ว  เพื่อให้การประเมินมีความชัดเจนทั้งผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท