ชีวิตศิษย์การบิน ภาค 5 (ครูการบินและชีวิตศิษย์การบิน)


ครูการบิน
ถ้าพูดถึงชีวิตการเป็นนักบินเนี่ย ครูการบินถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อชีวิตการบินอย่างมาก จากคนที่ไม่รู้เรื่องการบิน ไม่รู้ว่าอะไรคืออะไร เหมือนกับเราเข้าเรียนชั้นอนุบาลยังเขียนหนังสือไม่เป็น ครูการบินก็เหมือนกับคนที่คอยสอนเราให้เราเขียนหนังสือเป็น แต่ต่างกันที่ครูการบินต้องสอนกันด้วยชีวิตครับ
สงสัยไหมครับว่าสอนด้วยชีวิตเป็นอย่างไร เริ่มวันแรกที่มีการบินเกิดขึ้นถือว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมไม่อาจจะลืมได้เลย เพราะว่าเป็นครั้งแรกที่เราได้เป็นคนขับเครื่องจริงๆ เริ่มภารกิจตั้งแต่เช้า ครูการบิน ท่านชื่อครูสมเกียรติ พวกเราจะเรียกท่านว่าครูเกียรติ ครับ เป็นครูที่เข้ามาสอนพวกเราในทุกเช้าครับ โดยชีวิตของศิษย์การบินจะเริ่มต้นตั้งแต่ตีห้ากว่าๆ ตื่นนอนมาอาบน้ำอาบท่า เพื่อเข้ารับฟังการบรรยายสรุปข่าวอากากาศประจำวันทุกวันในตอนหกโมงเช้า ว่าวันนี้สภาพอากาศเป็นอย่างไร ลมเป็นอย่างไรบ้าง ทัศนวิสัยดีหรือไม่ครับ จากนั้นก็จะแยกย้ายไปตามหน้าที่ของตนเอง ไปตามครูการบินของแต่ละคน สำหรับนักบินเฮลิคอปเตอร์ต้องเข้าไปฟังบรรยายสรุปครับ
ครูเกียรติจะมาที่ห้องบรรยายสรุปประมาณหกโมงห้านาที หอบเอาเอกสารแผ่นใสเข้ามาเพื่อบรรยายเกี่ยวกับแผนการบินประจำวัน ท่าทางการบิน รวมถึงเรื่องของการบินวันที่ผ่านมาว่าผิดพลาดอะไร แล้วต้องแก้ไขอย่างไร บรรยายไปซักถามข้อสงสัยไป จนกระทั่งประมาณหกโมงสี่สิบห้า ก็จะเลิกเรียนแล้วเดินไปกินข้าวเช้า ห่างจากห้องเรียนประมาณ 10 เมตร ครับ โดยอาหารที่นี่เค้าเลี้ยงเราดีมากเลยครับ เป็นแบบตักกินเองหรือเค้าเรียกว่าบุปเฟ่ต์ ทานได้เท่าไรทานได้เลยครับ ไม่เสียตังค์ เพราะว่าอยู่ในทุนครับ (1.8 ล้านบาทครับ) จะทานอาหารกันไม่เกินเจ็ดโมงเช้าครับ
จากนั้นหน้าที่ของศิษย์ก็ต้องไปที่โรงเก็บ เตรียมเครื่องออกจากโรงเก็บครับ วันนี้เป็นวันแรกของการบิน ครูจึงทำการสาธิตการนำเครื่องออกจากโรง การตรวจตราเครื่องก่อนทำการบิน มันเป็นหน้าที่ของนักบินครับ ถึงแม้ช่างเค้าจะตรวจสอบประจำวันแก่อนทำการเอาเครื่องออกแล้ว นักบินเองก็ต้องตรวจอีกครั้งครับ เพื่อความปลอดภัย เพราะว่าช่างที่ทำการตรวจเครื่องเค้าก็ไม่ได้บินไปกับเรา ถ้าเครื่องมีปัญหา คนที่ตายคือเราครับไม่ใช่ช่างนะครับ ดังนั้นจึงต้องละเอียดลออกับการตรวจเครื่องหน่อยครับ โดยเริ่มตั้งแต่การดูหน้าเครื่อง เสาอากาศ สายพาน น้ำมัน(อันนี้สำคัญครับ..หมดกลางอากาศยุ่งครับ เพราะว่าไม่เหมือนรถยนต์แวะจอดข้างทางได้) น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ต่างๆ ว่าอยู่ตามปริมาณที่กำหนด ที่สำคัญเช็คจำนวนชั่วโมงบินที่เครื่องสามารถทำการบินได้ครับ เพราะว่าไม่งั้นเครื่องครบกำหนดแล้วเรายังฝ่าฝืนเอาทำการบินก็หมายความว่าเราฝ่าฝืนกฎครับ เป็นเรื่องสำคัญมากครับ เรื่องความปลอดภัย ถ้ามีไรที่ชอบมาพากลก็ไม่ขึ้นบินครับ ดีกว่าไปตายไงครับท่าน
เมื่อตรวจเครื่องเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของศิษย์การบินขึ้นเครื่องครับ ครูก็จะขึ้นไปนั่งในตำแหน่งตัวเอง ผมได้ขึ้นเป็นฝั่งขวาซึ่งหมายถึงกัปตันครับ ส่วนครูนั่งซ้ายเป็นนักบินผู้ช่วย เออ....หลายท่านอาจจะงง เพราะว่าเครื่องบินโดยสารนักบินนั่งซ้ายครับ แต่นักบินผู้ช่วยนั่งขวา แต่เฮลิคอปเตอร์นักบินนั่งขวา นักบินผู้ช่วยนั่งซ้ายนะครับ) จากนั้นรัดเข็มขัด รอช่างประจำตำแหน่งแล้วจึงเริ่มขั้นตอนของการสตาร์เครื่องยนต์ครับ ทำไมต้องมีช่าง เพราะว่าในขั้นตอนการติดเครื่องยนต์อาจจะมีการเกิดการลุกไหม้ของเครื่องได้มากที่สุดครับ เลยต้องถือถังดับเพลิงป้องกันเอาไว้ครับ.....เดี๋ยวครั้งหน้าเรามาดูกันว่าขั้นตอนการติดเครื่องยนต์มันเหมือนในหนังไหมครับที่พระเอก(ไม่รู้ว่าเก่งมาจากไหน) ขึ้นเครื่องได้ปุ๊บบินได้ปั๊บหรือเปล่าครับ

หมายเลขบันทึก: 127864เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2007 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • หายไปนาน
  • นึกว่าเป็นแบบ one to go เสียแล้ว
  • อิอิอิๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท