อยากรู้ว่าคนไทยเข้าใจเรื่อง "การจัดการความรู้อย่างไร" จึงลองเข้าไปค้นหาจากข้อความที่ปรากฏผ่านสื่อต่าง ๆ แค่ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2549 เป็นต้นมา พบว่ามีคำว่า "การจัดการความรู้" ปรากฎอยู่ทั้งในวงการศึกษา ราชการ การเมือง และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งล้วนเป็นการนำไปใช้ตามความเข้าใจที่แตกต่างกัน จึงนำมาเป็นตัวอย่างให้พิจารณากันดังนี้ค่ะ
เริ่มจากคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา เขียนไว้น่าสนใจลองอ่านและวิเคราะห์กันดู ว่า การจัดการความรู้ในแบบการเมือง นายกฯทักษิณ กำลังทำเรื่องจัดการความรู้อยู่หรือเปล่า (อันนี้แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนนะ) โดยบทความนี้เขียนว่า
เมื่อครั้งนายกรัฐมนตรีได้รับความนิยมสุดโต่ง พูดอะไรก็เสียงดังกระหึ่ม ตัดสินใจเฉียบขาดรวดเร็ว นโยบายเดินหน้าเต็มกำลัง คะแนนนิยมพุ่งสูงลิ่ว นายกรัฐมนตรีเปรียบประดุจอัศวินผู้หยิบยื่นชีวิตใหม่ให้
อีกฉากหนึ่งช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง สื่อเงียบ นักวิชาการนักวิจารณ์ขาประจำขาจรเงียบ พลังมวลชนพลังภาคประชาชนเงียบ นักการเมืองฝ่ายค้านเงียบ เพราะ ณ เวลานั้นหากใครพูดอะไรที่สวนทางกับนายกรัฐมนตรีดูเหมือนจะผิดที่ผิดทางขวางหูขวางตาไปหมด ที่สำคัญไม่มีใครได้ยินเพราะมัวสนุกกับของเล่นใหม่
ผ่านมาสู่รัฐบาลสมัยที่ 2 สถานการณ์เริ่มคลายตัว พลังที่ถูกกดทับเริ่มดันเริ่มทะลักออกมา ความอึดอัดไม่พอใจที่อัดแน่นอยู่เริ่มระเบิดออกมา สถานการณ์ของรัฐบาลเริ่มเข้าสู่ขาลง
ประการหนึ่ง รัฐบาลประสบกับปัญหาภายในพรรคเอง นักการเมืองที่มีไม่สามารถประสานผลประโยชน์ร่วมกันได้ เริ่มสาวไส้กันเอง แยกตัวออกเป็นก๊กเป็นก๊วน เพราะแต่ละคนก็มาจากต่างมุ้งกัน เมื่อถูกสะกิดให้เกิดรูรั่วเพียงนิดความกดดันที่อัดแน่นก็ระเบิดออกมา ประชาชนเริ่มรู้เรื่องราวที่ถูกปิดบังไว้มากขึ้น
ประการหนึ่ง คลื่นยักษ์สึนามิ สถานการณ์ความรุนแรงชายแดนภาคใต้ ไข้หวัดนก ราคาน้ำมัน ราคาผลผลิต ทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ
ประการหนึ่ง ประชาชนเริ่มคลางแคลงในนโยบายประชานิยม ที่เปรียบประดุจแสงเจิดจ้าราวจุดพลุ ที่ตื่นตาตื่นใจปลุกเร้าอารมณ์ฝันอันบรรเจิดได้ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว แล้วดับหายไปในอากาศ ปล่อยให้ผู้ชมชนรากหญ้าผู้ใจร้อนฝันค้าง เพราะไม่มาเร็วมาไวดั่งวาจาของท่านผู้นำ
ประการหนึ่ง มีการรวมตัวกันของพลังมวลชนภาคประชาชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นม็อบคัดค้านโรงไฟฟ้า ม็อบไก่ชน ม็อบสนธิ ม็อบจำลอง ม็อบหลวงตามหาบัว ม็อบลำไย ม็อบมติชน ฯลฯ
ประการหนึ่ง พฤติกรรมส่วนตัวของผู้นำ ที่สังคมมักถามถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ) อยู่บ่อยครั้ง
ที่ยืนยันได้แน่นอนที่สุดคือ โพลทุกสำนักระบุชัดเจนว่า ครึ่งปีหลัง 2548 คะแนนนิยมของรัฐบาลดิ่งลงเหวที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ขาลง แบบเอาไม่อยู่
นับตั้งแต่เส้นกราฟความนิยมถึงจุดอิ่มตัวแล้วเริ่มโค้งตกลงมา
ฉากหนึ่งช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง สื่อมีเสียง นักวิชาการนักวิจารณ์มีเสียง พลังมวลชนพลังภาคประชาชนมีเสียง นักการเมืองมีเสียง ไก่ชนมีเสียง ลำไยมีเสียง สนธิมีเสียง มติชนมีเสียง ฯลฯ ทุกสิ่งมีเสียง เพราะทุกคนเริ่มฟังเสียงรอบข้างมากขึ้น เสียงผู้นำแม้ดังแต่ฟังก็ไม่ชัด
เมื่อส่วนอื่นของสังคมเริ่มมีเสียง ทุกคนจึงมีเสียงที่ดังเหมือนกัน ทุกคนจึงมีสิทธิเท่าเทียมกัน มีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ ของประเทศด้วยกัน รวมพลังกันเพื่อนำพาประเทศชาติไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนาร่วมกัน ไม่ใช่ให้ผู้นำประเทศเป็นผู้จัดการแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อคนหมู่มากของประเทศเห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมจะนำมาซึ่งความเสียหายของประเทศชาติ ก็สามารถออกมารวมตัวกันเพื่อยับยั้งสิ่งนั้น พร้อมกับกำหนดสิ่งที่ต้องการร่วมกันให้เกิดขึ้น นี่แหละที่เรียกว่า "ประชาธิปไตย"
ไม่ใช่ปล่อยให้ตัวแทนของประชาชนเสียงข้างมากในสภา ร่วมกันยกมือปกป้องพวกพ้องของตัวเองทั้งที่ขัดต่อมโนสำนึก หรือยกมือออกกฎหมายที่เอื้อให้พรรคพวกญาติพี่น้องกลุ่มนายทุนของตนเอง อาศัยเสียงข้างมากรังแกประชาชน และรุมทึ้งประเทศชาติ
ดังนั้น รัฐบาลขาลงคือเจตนารมณ์หนึ่งของประชาธิปไตยที่สำคัญพอๆ กับกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประเทศชาติยังเป็นของคนไทยทั้งชาติไม่ใช่ของผู้นำประเทศที่มีเสียงข้างมากในสภา ดังนั้นเราจะต้องมาร่วมกันสานเจตนารมณ์ของประชาธิปไตยนี้ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยการรวมพลังกันในหลายประเด็นดังต่อไปนี้
1) รวมพลังกันเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เพราะนับตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ได้เกิดปรากฏการณ์การจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวด้วยเสียงข้างมากในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จนฝ่ายค้านไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวเองในสภาได้ ทำให้ที่ผ่านมาฝ่ายค้านเป็นได้เพียงไม้ประดับสภาเท่านั้น ในขณะที่เสียงข้างมากก็เปิดโอกาสให้ฝ่ายรัฐบาลพรรคเดียวเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มของตัวเองได้ตลอดช่วงที่ดำรงตำแหน่งหรือจนกว่าประชาชนจะเบื่อ ดังนั้นหากยังเป็นอย่างนี้อนาคตการเมืองไทยคงเห็นพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มี ส.ส.ทั้ง 500 คนเป็นแน่
2) สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของพลังภาคประชาชนมากขึ้นในทุกเรื่อง โดยกระตุ้นให้เกิดองค์กรอิสระเพื่อการจัดตั้งพลังภาคประชาชนเป็นการเฉพาะ ซึ่งเน้นการจัดการความรู้เพื่อประชาชนในทุกด้านที่เกี่ยวกับการเมืองและตัวตนญาติพี่น้องของนักการเมืองทั้งหลาย
3) ออกกฎหมายสนับสนุนการทำงานของพรรคฝ่ายค้านเป็นการเฉพาะ เพื่อให้สามารถต่อรองกับฝ่ายรัฐบาลได้ เพราะในขณะที่รัฐบาลเองมีทรัพยากรและโอกาสอย่างเหลือล้น แต้มย่อมเหนือกว่าในทุกด้าน ฝ่ายค้านเองยากยิ่งที่จะก้าวขึ้นมาเป็นจุดคานงัดให้กับประชาชนได้ ดังนั้นเพื่อให้ประชาธิปไตยสมบูรณ์ขึ้นผู้ที่จะทำหน้าที่แทนประชาชนได้ดีที่สุดในการตรวจสอบรัฐบาลคือ พรรคฝ่ายค้าน ดังนั้นการสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านให้มามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น ผู้ได้ประโยชน์ที่สุดคือประชาชนและประเทศชาติ
4) ปฏิเสธการเข้ามามีบทบาทต่อสื่อสารมวลชนทุกแขนง ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพการเมือง โดยพยายามรักษาปรากฏการณ์ ม็อบมติชน ไว้และปลูกฝังให้เป็นค่านิยมของสังคม
5) สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสังคมในทุกด้าน
ดังนั้น ปรากฏการณ์ "ขาลง" ของรัฐบาล จึงถือเป็นโอกาสหนึ่งที่คนทั้งสังคมจะสำรวจตรวจสอบความเป็น "อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต" ของชาติบ้านเมืองร่วมกัน เพื่อสกัดกั้นหรือเบี่ยงเบนอนาคตที่ไม่พึงปรารถนาออกไป เพื่อให้พลั งร่วมนั้นปลุกเร้าสังคมไปสู่เป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน--จบ—
อีกบทความหนึ่งในหนังสือผู้จัดการรายสัปดาห์ประจำวันที่ 16-22 ม.ค.2549นี้ เขียนโดยคุณธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์ ดังนี้
"ถ้าจะพูดว่าศตวรรษที่ 21
เป็นศตวรรษแห่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็เห็นจะไม่ผิดนัก
เพราะโลกศตวรรษที่ 21
เปลี่ยนเร็วเปลี่ยนไวเต็มไปด้วยปัญหาสลับซับซ้อนเชื่อมโยงกันในทุกมิติ
ต้องอาศัยคนที่มีสติปัญญา
ความสามารถใหม่ๆที่แตกต่างไปจากสมัยก่อนเป็นอันมาก
ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยหลักที่ตัดสินความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการปฏิบัติงานในทุกๆเรื่อง
การปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้คนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้แทนการถ่ายทอดความจำหรือทักษะความเชี่ยวชาญด้านเทคนิควิชาการในเชิงลึกแบบตายตัวซึ่งนับว่าเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญเป็นอันดับแรก
คนสมัยใหม่นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้วจะต้องมีความคิดริเริ่ม
( innovative) สร้างสรรค์ (creative)
เพื่อก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าใหม่หรือคุณค่าเพิ่มขึ้นแก่ตนเองและสังคม
สามารถจัดการกับความรู้ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้อยู่ตลอดเวลา
ปัจจุบันประเทศที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกลมักให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เช่นสถาบันวิทยาศาสตร์ของอินเดีย ที่บังกาลอร์
ประเทศจีนในปัจจุบันเพิ่มงบประมาณเพื่อการลงทุนด้านอุดมศึกษาถึง 10
เท่าตัว
สิงคโปร์เพิ่นบ้านของเราให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มานานแล้วเพราะเป็นเกาะเล็กๆไม่มีทรัพยากรอื่นใดนอกจากคน
สิงคโปร์เป็นประเทศที่ติดอันดับ 1
ของโลกทางด้านผลสัมฤิทธิ์ทางด้านการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนในโรงเรียนแต่เมื่อเทียบกับอเมริกาแล้ว
แม้เด็กอเมริกาจะมีผลสัมฤิทธิ์จากการทดสอบทางด้านวิชาการในระดับเกรด 4
เกรด 8
จะต่ำกว่าสิงคโปร์มากแต่เมื่อเติบใหญ่ออกไปประกอบอาชีพแล้วดูเหมือนว่าเด็กอเมริกันจะประสบผลสำเร็จในชีวิตมากกว่าเด็กสิงคโปร์
เห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าสิงคโปร์มีนักวิทยาศาสตร์
ผู้ประกอบการธุรกิจ นักประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ นักบริหารธุรกิจ
หรือนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในระดับโลกไม่มากนัก
เมื่อเทียบกับสหรัฐหรือประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย
การวัดผลสัมฤิทธิ์ทางด้านการศึกษาโดยวิธีการทดสอบความรู้ทางวิชาการอาจไม่สามารถวัดความสามารถพิเศษของเด็กทางด้านความคิดสร้างสรรค์
ความอยากรู้อยากเห็น
ความใฝ่ฝันในชีวิตความคิดในเชิงรุกของเด็กอย่างครบถ้วนได้
คุณลักษณะเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการความรู้ (Khowledge
Management)
โลกสมัยใหม่ไม่ต้องการแต่ผู้เก่งกล้าสามารถแต่ผ่านการทดสอบอย่างเป็นเลิศเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ
ฉลาดหลักแหลมเหนือผู้อื่นเท่านั้นแต่ต้องสร้างผู้ทรงคุณภาพที่เป็น
"บุคคลเรียนรู้"มีทักษะและเจตคติในการเรียนรู้ผิดชอบชั่วดี
สามารถสร้างความรู้จากการทำงาน เรียนวิธีเรียนอยู่ตลอดเวลา
ต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนกับพัฒนางานไปพร้อมๆกันด้วย
ท่านพุทธทาสของเราเคยสอนไว้ว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม
ละครทีวีเรื่องแดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวงของเกาหลี
ที่ผู้คนตอดกันงอมแลมในขณะนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนของการเป็นบุคคลที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาของตัวจังกึม
นางเอกในเรื่อง เรียนรู้จากการปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา
โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทฤษฎีต่างๆในตำราล้าสมัยไปทุกๆวินาที
คนเราจึงต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติ
และนำไปสู่การปรับปรุงทฤษฎีใหม่ๆเป็นวงจรการเรียนรู้ที่ต้องต่อเนื่องไปตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุด
ปฏิบัติ
ปริยัติ(ทฤษฎี)เป็นสองจริงๆ
คนอเมริกันส่วนใหฯ่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ไม่ติดยึดกับตำราตายตัว
กล้าท้าทายความคิดที่เป็นทฤษฎีตายตัวอยู่ตลอดเวลา
มหาวิทยาลัยในสหรัฐมีระบบการพัฒนาคนผ่านการทำงานด้วยวิธีการสร้างระบบความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกันในการจัดการศึกษาระหว่างรัฐและภาคเอกชน
รวมทั้งองค์กรสาธารณะประโยชน์
มูลนิธิเอกชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาการศึกษา
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชีวภาพ
ของสหรัฐเกิดขึ้นได้จากการสนับสนุนของมูลนิธิ โฮเวิด ฮิวส์ (Howard
Hughes Foundation) ซึ่งอยู่ในภาคเอกชน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21
มิใช่การพัฒนาการศึกษาด้วยวิธีการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการภายในโรงเรียนหรือภายในมหาวิทยาลัยแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว
จะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาคนผ่านการทำงานจะต้องสร้าง
"บุคคลเรียนรู้"ที่มีทักษะในการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติงาน
มีทักษะในการแบ่งปันความรู้และมีทักษะย่อยๆอื่นๆอีกมากมาย
เช่นทักษะทางด้านสุนทรียสนทนา(Dialogue)
ทักษะทางด้านการฟังอย่างลึกซึ้งเป็นต้น
ความรู้นั้นมีอยู่หลายประเภททั้งที่มีอยู่ในตำราวิชาการที่จับต้องได้
ท่องจำได้และความรู้อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าความรู้ที่อยู่ในตัวตนของผู้ปฏิบัติงานซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
การจัดการกับความรู้ก็คือการเปลี่ยนความรู้ในตัวตนให้กลายเป็นทุนทางปัญญาขององค์กรและมีการบริหารจัดการทุนทางปัญญาดังกล่าวเพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ--จบ--
--ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16 - 22 ม.ค. 2549--
ขณะที่ข่าวด้านการศึกษาก็มีคำว่า "การจัดการความรู้"ปรากฎอยู่เยอะมาก ทั้งในระดับนโยบายและสถาบันการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ Multimedia University (Cyberjaya)
แห่งประเทศมาเลเซีย
ได้ประสานความร่วมมือในการจัดประชุมนานาชาติในหัวข้อ Knowledge
Management in Institutes of Higher Learning ในระหว่างวันที่ 21-23
ก.พ. 2549 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ขั้นพื้นฐานของการจัดการความรู้ในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวโน้มและทิศทางขององค์ความรู้ในด้านการจัดการความรู้
รวมทั้งสำรวจวิธีในการประยุกต์ใช้ความรู้ดังกล่าว
ในการจัดการศึกษาระดับสูงและเพื่อให้นักวิชาการได้นำเสนอผลงานวิจัยในด้านการจัดการความรู้
รวมทั้งการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
โดยวิทยากรผู้ให้ความรู้ในการจัดการประชุมนานาชาติครั้งนี้ประกอบไปด้วยนักคิดในด้านการจัดการความรู้ในระดับชั้นนำของโลก
รวมทั้งนักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา
และผู้ปฏิบัติงานในสาขาวิชาการจัดการความรู้และการจัดการศึกษาในระดับสูง
ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานทั้งในรูปแบบของเอกสารทางวิชาการ
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและการจัดทำโปสเตอร์เผยแพร่ความรู้
ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมและผู้ที่สนใจนำเสนอผลงาน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โทร.0-2244-5007 และ 0-2244-5340
หน้า
25–จบ–
ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod
หรือข่าวนี้
เมื่อเร็ว
ๆนี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
จัดโครงการห้องสมุดมีชีวิต โดยมีผศ.อารีย์ วชิรวราการ อธิการบดี
มรภ.ธนบุรี เป็นประธานเปิดงาน สำหรับกิจกรรมภายในวันเปิดงาน
ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ เรื่องขนมหวานสานสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส
พร้อมสาธิตการทำทองหยอด โดยอาจารย์อุไร โชติวิท และคณะ
นอกจากนี้
มีการนำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต
การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาชีพทำขนมโบราณชุมชนกุฎีจีน
โดยผศ.ฉวีวรรณ ปานชี เล่าสู่กันฟังเรื่อง ขนมแม่เอ๊ย มีอาจารย์สมบัติ
พลายน้อย เป็นวิทยากร
อาจารย์อัศวิน อรุณแสง เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง
การเขียนการ์ตูนเพื่อคลายเครียด
และการบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติการร้อยลูกปัดจากอาจารย์ข่ายทอง
ชุณหสุวรรณ
และกิจกรรมวงล้อนำโชคในวันสุดท้ายของการจัดโครงการห้องสมุดมีชีวิต
มีบรรยายเรื่อง การถ่ายภาพเพื่อทำสื่อการเรียนการสอนโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิกษก บรรลือฤทธิ์ และการบรรยายและฝึกร้องเพลง
เรื่องการเรียนภาษาอังกฤษด้วยเพลง ซึ่งมีอาจารย์วิเศษ ปานชี
เป็นวิทยากร
นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ยังมีการจำหน่ายหนังสือในราคาพิเศษ
ผลิตภัณฑ์ของชุมชนกุฎีจีน สินค้า OTOP
แสดงผลงานภาพถ่ายฝีมือนักถ่ายภาพสมัครเล่น ฉายภาพยนตร์
และสารคดีที่น่าสนใจ
หน้า
25–จบ–
ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod
นายจาตุรนต์
ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ปี 2549 นี้
ตนมีนโยบายผลักดันเรื่อง “คุณธรรมคู่ความรู้” และ
“เด็กต้องทั้งดีและเก่ง”
โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันและวางรากฐานให้เด็กและเยาวชน
พร้อมทั้งแก้ปัญหาที่กำลังปะทุอย่างรุนแรง เช่น เหล้า บุหรี่ หนีเรียน
ติดเกมการใช้ความรุนแรง
โดยน้อมรับพระราชดำรัสและนโยบายของรัฐบาลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งจะเน้นให้เด็กและเยาวชนมีจิตใจพอเพียง เช่น ไม่ฟุ้งเฟ้อ
ทำงานระหว่างปิดเทอม และส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์
โดยจะมอบให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นแกนนำในการคิดค้นมาตรการและกิจกรรมใหม่ๆ
แล้วจูงมือน้องๆ ระดับอาชีวศึกษา มัธยมศึกษา
และประถมศึกษาเดินไปด้วยกัน รวมทั้งจะเชิญชวนองค์กรเอกชน พันธมิตร
และประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ทั้งนี้ในเดือน ม.ค.2549
ศธ.จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับรองอธิการบดีและผู้นำนิสิต
นักศึกษา จำนวน 153 แห่ง แห่งละ 2 คน
และจะดำเนินการเรื่องดังกล่าวเป็นงานใหญ่ที่ต้องทำอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องทั้งปี
แต่เดิมเราใช้การออกกฎระเบียบมาแก้ปัญหา ซึ่งปัจจุบันมีถึง 16 ฉบับ
แต่การปะทุของปัญหาก็ยังรุนแรงอยู่
จึงพิสูจน์ได้ว่าการใช้กฎระเบียบอย่างเดียวไม่เพียงพอ
แต่ต้องเน้นการผลักดันเชิงยุทธศาสตร์
คือให้เด็กและสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้นและมุ่งเน้นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ไม่ใช่มีแต่ข้อห้ามและการลงโทษเต็มไปหมด
โดยกำหนดไว้ 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ให้สถานศึกษาและเยาวชนเข้มแข็ง
โดยให้ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
สำรวจปัญหาเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนที่จุดเสี่ยงหรือจุดเฝ้าระวัง
พร้อมทั้งสั่งการให้ ผอ.สพท.
ทุกเขตถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดในการให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่
ปลอดสุราและอบายมุขทุกประเภท 2.สังคมมีส่วนร่วม เช่น
จัดสัมมนาผู้ปกครองให้เข้าใจถึงการดูแลบุตรหลาน 3.การสื่อสารกับสังคม
เช่น ส่งเสริมให้มีการนำสื่อที่ทันสมัยมาใช้ให้มากขึ้น
4.การจัดการความรู้และประเมินผล
โดยออกแบบระบบเพื่อการติดตามและประเมินผลโดยองค์กรอิสระ และ
5.การจัดการปัญหาเยาวชนในภาวะวิกฤต โดยจัดทำโครงการ “อาสาเสมารักษ์”
ที่มีเครือข่ายทุกจังหวัด เพื่อดูแล ช่วยเหลือ เยียวยา
และเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับนักเรียน นักศึกษาในภาวะฉุกเฉินต่างๆ
ทั้งนี้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อได้ที่ศธ.หรือโทร.1579 หรือ
www.moe.go.th หรือตู้ป.ณ.47 ปณฝ.กระทรวงศึกษาธิการ
หน้า
24–จบ–
ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod