เส้นทางและวิถีแห่งจิตอาสา (ตอนที่ 2)


การจัดการชีวิตโดยใช้ความรู้ในส่วนที่ “มองไม่เห็น” หากแต่ “ฝังลึก”อยู่ในความรู้สึกและจิตวิญญาณ ความรู้ในส่วนนี้นี่เองที่ “มั่นคง” เป็นดั่ง “ราก” ที่ยึดเหนี่ยวผู้คนไม่ให้ถูกพัดพาด้วยกระแสลมแรง
 
เรามักบอก
ลูกศิษย์เสมอว่า

วิถีชุมชนไม่ได้แยกส่วนเหมือนศาสตร์ที่พวกเราเรียน การเข้าไปในพื้นที่เพื่อศึกษาวิจัยหรือทำงานพัฒนาเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่เข้าใจถึงความเป็น องค์รวม ของระบบชุมชน นอกจากจะไม่ทำให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว อาจยังเป็นการสร้าง ปัญหา ให้แก่ชุมชนด้วย 

กระบวนคิดเชิงระบบหรือ System Thinking จึงเป็นสิ่งที่ลูกศิษย์เราต้องฝึกฝน เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงกลไกความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ดำรงอยู่ในวิถีชุมชนทั้งที่เป็น ระบบใหญ่ และ ระบบย่อย ต้องฝึกที่จะเป็นให้ได้ทั้ง ตานก และ ตาหนอน คือมองเห็นภาพทั้งมุมกว้างและมุมลึก

นอกจากนั้นยังต้องเข้าใจมิติทางประวัติศาสตร์ เงื่อนปมของการเปลี่ยนผ่านสังคมและวิถีชุมชนในแต่ละยุคแต่ละสมัย สิ่งที่เป็นปัจจัยหรือตัวแปรทั้ง ภายนอก และ ภายใน ของชุมชนและสังคมที่ส่งผลต่อกันในเชิงบวกอันเป็นการ เสริมพลัง หรือในเชิงลบซึ่งเป็นการ ทอนพลัง ทั้งที่เป็นปัจจัยด้านภูมินิเวศน์ ภูมิสังคม ภูมิวัฒนธรรม และภูมิปัญญา ตลอดจนมิติด้านเศรษฐกิจและการเมือง

ซึ่งเมื่อเข้าใจ ที่มา-ที่ไป ของวิถีชุมชนอย่างลึกซึ้งแล้ว จะทำให้เราสามารถทำ “Future Search” เพื่อให้เห็น ภาพอนาคต ของชุมชนภายใต้ปัจจัยหรือตัวแปรที่เราตั้งสมมติฐานว่าน่าจะมีอยู่หรือเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ ของอนาคตได้  

ความสัมพันธ์ของปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ เชิงระบบนี้ยังสามารถนำมาสร้าง “Simulation Model” เพื่อที่จะนำไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยสามารถสร้างเป็น Model ที่หลากหลายเพื่อเสนอให้เป็น ทางเลือก ของการพัฒนาที่เหมาะสมภายใต้แต่ละบริบท 

ทั้งหลายทั้งปวงนี้ คือ หลักการของ โยนิโสมนสิการ อิทัปปัจจยตา และ ปฏิจสมุปบาท นั่นเอง 

การที่จะเรียนรู้เพื่อเข้าใจชุมชนอย่างลึกซึ้ง จึงไม่สามารถทำได้เพียงการ อ่าน ความรู้ที่มีอยู่ในตำราหรือหนังสือ หากแต่ลูกศิษย์เราต้องลงมือ ปฏิบัติ และการเรียนรู้ถึงความเป็นชุมชนที่ดีที่สุดนั้น คือการไป ฝังตัวเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชน และต้องทำตัวเป็น ผู้ไม่รู้ เพื่อจะได้ เรียนรู้  

การเรียนรู้ในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้พวกเขาเข้าใจ วิถีชุมชน อย่างแท้จริงเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการสร้างการเรียนรู้ ตัวตน ผ่านการเรียนรู้ความเป็นชุมชน ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้เข้าใจโลก ได้เข้าใจชุมชน และได้เข้าใจชีวิต จนสามารถมี ความรู้ และ ทักษะ ที่จะ จัดการชีวิต ของตนเองได้อีกด้วย  

เป็นการจัดการชีวิตโดยใช้ความรู้ในส่วนที่ มองไม่เห็น หากแต่ ฝังลึกอยู่ในความรู้สึกและจิตวิญญาณ ความรู้ในส่วนนี้นี่เองที่ มั่นคง เป็นดั่ง ราก ที่ยึดเหนี่ยวผู้คนไม่ให้ถูกพัดพาด้วยกระแสลมแรง 

เนื่องด้วย ณ วันนี้ วิถีชุมชนหลายแห่งในบ้านเมืองของเรา ยังคงรักษาความเป็นวิถี ไทย ที่แสน เรียบง่าย และ งดงาม

เราเชื่อมั่นว่าการที่ลูกศิษย์เราได้ลงไปเรียนรู้ ได้สัมผัส ได้ตระหนักและได้ซึมซับถึงวิถีอันเรียบง่ายและงดงามของชุมชนนี้ จะทำให้พวกเขาเกิดการ เปลี่ยนผ่าน ตัวตนจากภายในได้ 

ที่สำคัญ... การที่ลูกศิษย์เราได้เห็นและได้เรียนรู้การทำงานของเพื่อนพ้องน้องพี่เครือข่ายนักพัฒนาที่ทำงานด้วยจิตอาสา อยู่กับชุมชน ซึ่งแม้ค่าตอบแทนที่ได้รับเป็น ตัวเงิน นั้นจะดูเสมือนน้อยนิด หากแต่ผลงานที่สร้างสรรค์ล้วนเป็น ทรัพย์ หรือ เครื่องปลื้มใจ อันยิ่งใหญ่ คงจะมีสักคนกระมังที่ตั้งความปรารถนา ขอเป็น คนหนึ่ง ที่มีวิถีชีวิตแห่ง จิตอาสา 

...ท่ามกลางเปลวแดดที่แผดเผา ท่ามกลางปัญหามากมายนานัปการ แม้จะเหน็ดเหนื่อย แม้จะอ่อนล้า...แต่นักพัฒนา จิตอาสา เหล่านั้นไม่เคย ท้อ เพราะต่างมั่นใจในเป้าหมายชีวิตที่มีและที่เป็นอยู่ นั่นคือ การยังประโยชน์ให้เกิดแก่มนุษยชาติ โดยเฉพาะการได้เกื้อกูล เพื่อน ร่วมโลกผู้ด้อยโอกาส ผู้ถูกเอาเปรียบจากความไม่เท่าเทียมของโครงสร้างการพัฒนาในสังคม... 

 หากวันใดอ่อนแอ... ท้อแท้อย่าหวั่นไหว

ขอให้ใจไม่สิ้นหวัง

ปัญหาแม้จะหนัก... ก็คงไม่เกินกำลัง

อย่าหยุดยั้ง...ก้าวไป

 ขออย่ายอมแพ้...

อย่าอ่อนแอ...แม้ต้องร้องไห้ 

จงลุกขึ้นสู้ไป

จุดหมาย...ไม่ไกลเกินจริง

 
หมายเลขบันทึก: 127088เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์เขียนเส้นทางได้ดีมากเห็นภาพชัดเจนว่าลูกศิษย์ควรมีทางเดินความคิดอย่างไร พีคิดว่าลูกศิษย์ของอาจารย์สามารถเข้าใจ จากการได้สัมผัส ได้ใกล้ชิดแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน กับเพื่อนด้วยกัน กับอาจารย์และกับชุมชน

เป็นแนวคิดที่น่าเผยแพร่ในหมู่อาจารย์ด้วยนะคะ

จะทำอย่างไรให้อาจารย์ท่านอื่นๆส่วนมากที่ไม่เคยมองว่าสิ่งเหล่านี้สำคัญ คิดแต่ว่ามีหน้าที่สอนๆให้หมดๆคาบไปวันๆ มีแต่ความเป็นนักวิชาการที่ไม่เข้าใจความเป็นชุมชน ความเป็นชาติ ได้ตระหนักว่าแนวทางแห่งจิตอาสานี้ เป็น"ของจริง"ที่จะช่วยพัฒนาสังคมได้ ทุกวันนี้เรามักได้ผู้ที่จบออกมาที่อาจเก่งแต่ทำทุกอย่างเพื่อให้ถึงฝันของตนเอง คนอื่นหรือสิ่งอื่นไม่สำคัญเท่าตนเอง

อ่านแล้วรู้สึกอิ่ม สะใจ ในแนวทางของอาจารย์ครับ ผมเห็นด้วยกับความเห็นคุณนายดอกเตอร์ข้างบนครับ

สวัสดีครับ... /// ผมประทับใจบันทึกนี้มาก เห็นเส้นทางความคิดที่เป็นรูปรอบที่แจ่มชัด ... เห็นวิถีการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยกระบวนการที่มีกระบวนการ และเห็นอนาคตของการเรียนรู้ที่ชัดแจ้งมาก /// ..ขอบพระคุณครับ และขออนุญาตนำไปผยแพร่แก่หมู่นิสิต ต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท