การเมืองกับ Reality show


ระบบ Popular vote นั้นไซร้แท้ที่จริงแล้ว มันก็เหมือนกับระบบประชาธิปไตยที่เรากำลังใช้ในการเลือกผู้แทนมาใช้อำนาจบริหารจัดการบ้านเมืองเรานั่นเอง

ฉันได้ดู Academy Fantasia รอบชิงชนะเลิศในคืนวันเสาร์ที่ผ่านมานี้ สำหรับผู้ที่ไม่เคยดูมันคือ Reality singing contest show ซึ่งให้ผู้ชม vote ผู้เข้าแข่งแต่ละคนตามความชอบใจของตัวเอง เขาเรียกว่า Popular Vote และผู้ชมที่ Vote เข้าไป ไม่ว่าท่านจะ Vote เข้าไปเท่าไหร่ ทางบริษัท True Corporation ซึ่งเป็นเจ้าของรายการนี้ และเป็นผู้เจ้าของช่องทางในการ Vote คือ ต้องส่ง SMS ผ่านระบบมือถือ หรือโทรศัพท์บ้านของ True เท่านั้น จะคืนเงินค่า Vote นั้นแก่ท่าน โดยจะคืนในรูปค่าโทรศัพท์แทนการคืนเงินสด อนึ่งบริษัท True คือบริษัทสื่อสารคมนาคมที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ของกลุ่มตระกูลเจียรวรานนท์ 

ในการแข่งรอบชิงชนะเลิศมีผู้เข้าแข่งขันรอบสุดท้ายทั้งหมด 6 คน จาก 12 คนที่ผ่านการคัดเลือกมาอยู่ในบ้าน เพื่อทำการฝึกฝนทักษะต่างๆ สำหรับการแสดงในคืนสุดท้ายนั้น ฉันคาดว่าน่าจะเป็นการแสดงที่สนุกมาก เพราะน้องๆทั้ง 6 คน มีความสามารถสูงใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นการที่ใครจะแสดงได้ดีที่สุดน่าจะขึ้นอยู่กับการเลือกเพลงที่จะร้องในคืนสุดท้ายนี้ด้วย และผู้เข้าแข่งบางท่านก็ไม่ทำผิดหวัง โดยเฉพาะน้องลูกโป่งที่เธอเลือกเพลงยากมาก เป็นเพลงชื่อ And I’m telling you, I’m not going. ซึ่งเป็นเพลงจากละคร Broadway เก่า เจ้าของเพลงเป็นอเมริกันผิวสี ซึ่งฉันฟังเธอร้องในการแสดงแล้วต้องยกนิ้วให้เลย เพราะเพลงนี้ร้องยากมาก เป็นลักษณะการร้องตามอารมณ์ ไม่มีทำนองโป๊ะๆ ไม่มี melody สวยๆ เป็นเพลงที่ร้องด้วยอารมณ์ล้วนๆ เด็กคนนี้มีอะไรดีที่มากกว่าความสามารถ ซึ่งเธอมีมากมายอยู่แล้ว แต่ฉันต้องให้เครดิตใจของเธอเลย ซึ่งเป็นการทำให้ดีที่สุดเท่าที่เธอจะทำได้โดยใส่หมดตัวกับการแสดงครั้งนี้ เพราะการร้องเพื่อแย่ง Popular vote จากผู้ชมทางบ้านและที่ดู concert แล้วกล้าที่จะเลือกเพลงที่ หนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ สองคนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก สามเลือกเพลง blues-jazz ที่ฟังยากมากๆ นั้นไม่มีทางที่เธอจะได้คะแนนจากคนส่วนใหญ่เลย

ส่วนผู้ชนะคือ นัท V1 แล้ว ซึ่งในสายตาของฉัน น้องนัทก็ร้องเพลงเพราะพอสมควร และที่สามารถชนะ Popular vote ของคนส่วนใหญ่ได้นั้น นอกเหนือจากความสามารถแล้ว ส่วนหนึ่งเพราะน้องเป็นเด็กมีสัมมาคารวะ ได้รับการอบรมจากครอบครัวมาดี ด้านการศึกษาก็เด่นกว่าผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น (จบเศรษฐศาสตร์ จาก Harvard University) ทั้งทางครอบครัวก็มีศักยภาพที่ได้ให้การสนับสนุนน้องนัทอย่างเต็มที่  

ดูรายการนี้แล้วฉันก็นึกถึงว่า ระบบ Popular vote นั้นไซร้แท้ที่จริงแล้ว มันก็เหมือนกับระบบประชาธิปไตยที่เรากำลังใช้ในการเลือกผู้แทนมาใช้อำนาจบริหารจัดการบ้านเมืองเรานั่นเอง เพราะเราวัดจากคะแนนสูงสุด ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับเลือก แต่การตัดสินใจเลือกนั้นเราอาจใช้ปัจจัยหลายๆอย่าง นอกเหนือจากความสามารถล้วนๆแล้ว เราอาจจะดูหน้าตาที่ถูกชะตากัน ความเกี่ยวดองเป็นญาติเป็นเพื่อนรู้จักสนิทสนมกัน ความหมั่นไส้ที่เรามีกับตัวเลือกอื่นๆ หรือความรู้สึกอื่นๆอีกสารพัด  และที่เหมือนกันอีกประการคือ  หากในรายการนี้ครอบครัวของผู้แข่งขันสามารถใช้ศักยภาพที่มี ช่วยเหลือผู้แข่งขันของตนอย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งฉันไม่คิดว่ามันจะแปลกอะไร นอกจากว่าจะไม่ช่วยสิฉันถึงจะแปลกใจ เพราะว่าคุณ Vote เท่าไหร่ ได้ค่าโทรคืนเท่านั้น ส่วนใน Popular vote (เลือกตั้ง) ระดับประเทศนั้น ท่านผู้สมัครทั้งหลายสามารถทุ่มเงิน (ซื้อ) Vote เท่าไหร่ ก็จะเข้ามา (ถอน) คืนทุนเท่านั้น ก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่ระดับหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆจะสามารถประเมิน Investment, Return on investment ไปจนกระทั่ง Pay back period ออก  

รึว่าไม่จริง

หมายเลขบันทึก: 126739เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2007 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท