เมื่อฝันของผมตอนเด็กๆ เป็นจริงขึ้นมา....คนทำพันธุ์ (๑)


สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่าพันธุ์พื้นเมือง ทั้งเรื่องรสชาติ ความดก ความแข็งแรง หรือแม้กระทั่งทรงผล สีผล ก็ยังสามารถทำได้ โดยอาศัยหลักการทางพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์พืชมาช่วยออกแบบและสร้างพันธุ์ขึ้นมา คล้ายๆกับงานของดีไซน์เนอร์ที่ออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้านั่นแหละครับ

         หลายท่านอาจจะทราบแล้วว่าพืชผักในบ้านเราที่เราๆท่านๆ รับประทานกันในแต่ละมื้อนั้นหลายๆชนิดเป็นพันธุ์ลูกผสม ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบและสร้างขึ้นมา กว่าจะได้พันธุ์ลูกผสมสักพันธุ์หนึ่งโดยใช้วิธีมาตรฐาน (Conventional breeding) อย่างน้อยๆก็ประมาณ 2-3 ปี ครับ

ผมยังจำภาพในอดีตที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี คุณยายของผมท่านชอบปลูกผักสวนครัวไว้ริมตลิ่งซึ่งก็อยู่ข้างๆบ้านแหละครับ หลังเลิกเรียนกลับมาถึงบ้านก็หิ้วถังน้ำไปตักน้ำจากคลองหน้าบ้านขึ้นมารดให้พืชผักที่ยายของผมปลูกไว้ได้สดชื่นหลังจากที่พวกเขายืนตากแดดมาทั้งวัน เท่าที่ผมจำได้ก็จะมีกระเจี๊ยบเขียว บวบเหลี่ยม ฟักทอง ส่วนพืชที่ไม่ต้องรดน้ำก็คือ ต้นโสน เพราะจะขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่ริมคลอง

พูดถึงโสน ผมนึกถึงเพลงขึ้นมาได้ที่ร้องว่า "แม่ดอกโสนบานเช้า แม่ดอกสะเดาบานเย็น..." ผมว่าคนแต่งเพลงไม่รู้จักชีววิทยาของดอกโสน (Floral biology) แน่ๆเลย หรือไม่ก็ ต้นโสนที่บ้านของผมเป็นคนละพันธุ์กัน เพราะเขาบานตอนเย็นครับ  ดอกสีเหลืองอร่ามห้อยเป็นช่อระย้าริมฝั่งคลอง เชิญชวนให้ชาวบ้านไปเก็บมาเป็นอาหารตามวิถีไทยในเมนูดอกโสนลวก หรือนำมาผัดน้ำมันทานกับน้ำพริก...น่าทานไหมครับ

สิ่งที่ผมต้องการจะบอกก็คือในการจะสร้างพันธุ์พืชนั้น นอกจากเราจะต้องเข้าใจนิสัยการเจริญเติบโตของพืชแล้ว ชีววิทยาของดอกในส่วนที่เกี่ยวกับการผสมเกสรของพืชที่เราสนใจมีความสำคัญมากๆ หากผสมเกสรไม่ตรงกับช่วงเวลาที่เหมาะสม พืชก็จะผสมไม่ติด สุดท้ายเราก็ไม่สามารถเก็บเมล็ดได้

หลังจากที่สภาพสังคม เศรษฐกิจมีการพัฒนาไปสู่ระบบที่มีการค้าขายเชิงธุรกิจมากขึ้น พันธุ์พืชพื้นเมืองค่อยๆถูกแทนที่ด้วยพันธุ์ลูกผสม เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่าพันธุ์พื้นเมือง ทั้งเรื่องรสชาติ ความดก ความแข็งแรง หรือแม้กระทั่งทรงผล สีผล ก็ยังสามารถทำได้ โดยอาศัยหลักการทางพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์พืชมาช่วยออกแบบและสร้างพันธุ์ขึ้นมา คล้ายๆกับงานของดีไซน์เนอร์ที่ออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้านั่นแหละครับ

 

หมายเลขบันทึก: 126455เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้นึกภาพถึงเมื่อครั้งพี่ยังเด็กๆ สมัยก่อน (ฟังดูนานดีมั้ยค่ะ) เราชอบไปอาบน้ำที่แม่น้ำ เพราะยังไม่มีน้ำประปา ส่วนน้ำใช้ในบ้านเราซื้อจากคนที่เขาเข็นน้ำมาขาย (หากที่บ้านปู่กับย่าต้องไปหาบจากบ่อน้ำคนข้างบ้าน)

ที่แม่น้ำจะมีตลิ่งสูง และที่เชิงตลิ่งชาวบ้านจะปลูกผักเต็มทั้ง 2 ข้าง เวลาเดินไปอาบน้ำช่วงเย็นๆ บรรยากาศดีมากๆค่ะ บางครั้งขากลับจากอาบน้ำเราก็จะแวะสวนผัก ซึ่งอาจเป็นสวนตัวเองหรือสวนของญาติเก็บผักไปลวกทานกับน้ำพริก

เช้าๆ หากเราไปเก็บผักมาทำอาหารเช้า จะมีหมอกลอยเต็มพื้นน้ำและแปลงผัก...สดชื่น มีความสุขค่ะ

ยังนึกถึงบรรยากาศเก่าๆ เมื่อก่อนมากค่ะ

สมัยนี้ลูกผสมเต็มเมืองทั้งพืช สัตว์ สิ่งของ แม้กระทั้งคน

น่าสนใจมากครับ

บางครั้งผมนั่งมองดอกไม้ ลองผสมสีเล่นๆในหัวสมอง สีที่ได้คงแปลกตา

เป็นงานที่น่าสนใจ และหากผมทำได้คงนั่งลุ้นอย่างมีความสุข

อ่านมาถึงตรงนี้ "...ต้องเข้าใจนิสัยการเจริญเติบโตของพืชแล้ว ชีววิทยาของดอกในส่วนที่เกี่ยวกับการผสมเกสรของพืชที่เราสนใจ..." แล้วทำให้คิดถึงสัจธรรม ^ ^

คิดถึงธรรมชาิิติคน คิดถึงการสอนลูกศิษย์... ดีจัง..ขอบคุณค่ะ 

555 มาบอกว่าดีใจจังที่รู้จักทั้งโสนและสะเดา พ้นข้อกล่าวหาว่าเป็นเด็กกรุงตัวจริงไปได้สักที แต่ไม่เคยกินทั้งสองอย่าง กินเป็นแต่ผักที่เขาขายกันตามซุปเปอร์ ผักพื้นบ้านกินไม่เป็นเพราะแม่ก็ทำไม่เป็นเหมือนกัน ครอบครัวทำแต่อาหารจีนๆ เลยกินอาหารไทยไม่เป็นหลายอย่าง บางอย่างพึ่งจะมากินเป็นตอนโต น้ำพริกนี่กินเป็นอยู่สองอย่าง น้ำพริกอ่อง กับน้ำพริกที่เป็นปลาป่นแห้งๆ นอกนั้นไม่กล้าแตะ กลัวกะปิยิ่งกว่าลิงซะอีก ^ ^

สวัสดี ข้ามสีทันดร

อ่านแล้วนึกถึงอดีต ที่เคยได้ลิ้มชิมรส ขนมดอกโสน มีรสชาดแปลก ไม่เหมือนขนมอย่างอื่น

ตอนนี้อ่านแล้ว ก็อยากกินอีก แต่ไม่รู้จะหาที่ไหน

ขนมโบราณ   นับวันจะหากินยากทุกวัน

สุข สงบ เย็น

rainalone

สวัสดีค่ะ%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99-%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a2%e0%b8%a5%e0%b9%82%e0%b8%89%e0%b8%a1

เห็นบันทึก รีบเข้ามาอ่านเลยนะนี่ เพิ่งกลับจากไปธุระค่ะ

จริงๆการให้ความรู้โดยภาพรวมแบบนี้ก็ดี เพราะที่g2kนี้ ยังไม่มีใครเขียนนะคะ และคุณสาธิตจะรู้ข้อจำกัดบางอย่างดีด้วย

พี่เคยตั้งบริษัทผลิตเมล็ดภัณฑ์ เอาไว้ทำให้ตัวเอง ไม่ค่อยขาย แต่จะขายให้พวกที่ทำContract Farming กับเรา

เราต้องมีไร่ตัวอย่างให้เขามาศึกษา และตัวพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ของเมล็ดพันธ์ พี่ไปทำไกลถึงลพบุรี ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสกลายพันธ์

คนที่เป็นมันสมองเรื่องนี้ของพี่ พูดชื่อเขา คุณต้องรู้จักค่ะ

เรื่องแบบนี้ คุยกันได้ยาว เอาแค่นี้ก่อนนะคะ

รักษาสุขภาพค่ะ

  • สวัสดีค่ะคุณกบ...
  • อิอิ..เห็นชื่อครั้งแรก "คนทำพันธุ์"  คิดไปไกลซะแล้ว   นึกว่า....
  • กลับมาๆๆเข้าเรื่องดีกว่า   ที่บ้านหว้าสมัยก่อนเป็นดงโสนเลยค่ะ  เยอะมากเลย  เป็นดงโสนที่ขึ้นในเมืองค่ะ   เพราะเราเพิ่งจะมาสร้างบ้านที่พิษณุโลกได้ห้าปี
  • เพราะฉะนั้นที่นี่จึงเป็นแหล่งเก็บโสนไปขายแหล่งใหญ่ทีเดียว   ตอนมาสร้างบ้านเห็นเขาบ่นๆเสียดายกันค่ะ  เพราะเราต้องตัดทิ้งหมดเลย    ดอกโสนผัดน้ำมันทานกับน้ำพริกกะปิ อร่อย.

แวะมาให้กำลังใจค่ะ

  • สวัสดีค่ะ ..

ชอบกับคำว่า พืชผักในบ้านเราที่เราๆท่านๆ รับประทานกันในแต่ละมื้อนั้นหลายๆชนิดเป็นพันธุ์ลูกผสม ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบและสร้างขึ้นมา กว่าจะได้พันธุ์ลูกผสมสักพันธุ์หนึ่ง
มันดูยิ่งใหญ่ดีนะคะ  และก็จริง ๆ ด้วย 

สวัสดีครับพี่แป๋ว P

วิถีชีวิตแบบที่พี่เล่ามา ผมก็เคยสัมผัสครับ แต่ไม่ต้องเดินไปอาบน้ำไกลๆ เพราะบ้านอยู่ติดคลอง ยิ่งถ้าเป็นฤดูหนาวก็จะเห็นหมอกลอยเต็มพื้นน้ำไปหมด แค่นี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์และให้ความสุขแก่เด็กนอก (เมือง)อย่างผมได้แล้วครับ อิอิ

ใช่ครับ..."สมัยนี้ลูกผสมเต็มเมืองทั้งพืช สัตว์ สิ่งของ แม้กระทั้งคน"

รถก็ยังเป็น Hybrid car เลยครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับน้องเอก P

ว่างๆก็ลองผสมเกสรดอกไม้เล่นๆได้ครับ เพราะความน่าสนใจของไม้ดอก ก็คือการที่ดอกมีสีสันแปลกตาออกไปจากเดิม

และที่น้องเอกบอกว่า...หากผมทำได้คงนั่งลุ้นอย่างมีความสุข...ตรงนี้แหละครับ เป็นสิ่งที่ต้องหล่อหลอมให้คนที่ทำงานด้านนี้ เกิดฉันทะ และเห็นแบบนี้ให้ได้ ซึ่งจะช่วยให้งานที่เขาทำไม่น่าเบื่อและสนุกในการทำงาน เพราะงานปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นงานที่ค่อนข้างหนัก หากเปรียบเทียบกับงานขายซึ่งน้องๆที่เรียนจบมาใหม่ๆในสายเกษตรชอบเลือกอาชีพนี้ น้อยคนนักที่จะมาทำงานด้านปรับปรุงพันธุ์

ถ้าทำงานด้วยใจรัก งานก็จะออกมาดีและมีผลงาน คนทำงานก็มีความสุข

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่กมลวัลย์ P

อ่านมาถึงตรงนี้ "...ต้องเข้าใจนิสัยการเจริญเติบโตของพืชแล้ว ชีววิทยาของดอกในส่วนที่เกี่ยวกับการผสมเกสรของพืชที่เราสนใจ..." แล้วทำให้คิดถึงสัจธรรม ^ ^

คิดถึงธรรมชาิิติคน คิดถึงการสอนลูกศิษย์

พี่กำลังนึกถึงเทคนิคในการถ่ายทอดวิชาของอาจารย์ไปสู่ลูกศิษย์ว่าทำอย่างไรให้เขาสามารถรับและเข้าใจได้ดีใช่ไหมครับ?

เพราะการผสมเกสร (pollination) ต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ (fertilization) ไม่งั้นเราก็จะไม่ได้เมล็ด

ขอบคุณครับ

 

ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องพันธ์ไม้ -พันธุ์พืชใด ๆ /// สมัยเด็ก ๆ หมู่บ้านของผมเป็นบ้านพัฒนาติดอันดับสองของประเทศ (2527)ทุกครัวเรือนเขียวงามด้วยพืชผัก /// ทุกเช้าผมมีหน้าที่รดน้ำพืชผักอย่างสม่ำเสมอ /// เฝ้าดูการเติบโตและแตกใบออกผลอย่างตื่นเต้น .../// ...พอลงทุ่งก็มีแปลงผักหลายแปลงให้ถอนหญ้า, พรวนดินและรดน้ำ /// มะเขือ, หอม, กระเทียม, ผักกาด, กะหล่ำ, ผักชี มะละกอ, ข่า - ตะไคร้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ร้อยรัดให้ชีวิตในวัยเด็กมีความสุขและมีความหมายต่อผมสืบมาจนบัดนี้ .../// ขออภัยนะครับ ตอนนี้บันทึกมีปัญหาเรื่องเทคนิค ไม่สามารถแยกเป็นทีละบรรทัดได้ .../// โชคดีครับ -

สวัสดีครับ...คุณซูซานP

เด็กนอก (เมือง) อย่างผม ยังไม่ค่อยแตะเลยครับทั้งดอกโสนและดอกสะเดา

ถ้าเมนูสะเดาน้ำปลาหวานกับปลาดุกย่าง ผมก็เลือกปลาดุกดีกว่า ฮ่าๆๆ

ลองเริ่มจากเมนูผักเทมปุระก่อนดีไหมครับ เช่น ถั่วฝักยาว ดอกแค ดอกขจร (ดอกสลิด) ถ้าเป็นผักบุ้งก็ยำผักบุ้งกรอบไงครับ

ขอบคุณครับ

 

 

สวัสดีครับคุณ thassana wong P

%e0%b8%82%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b9%82%e0%b8%aa%e0%b8%99

ผมไม่กินดอกโสนกับน้ำพริก แต่ขนมดอกโสนผมกินเป็นครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะน้อง...ข้ามสีทันดร

ตอนยังเด็ก  คุณแม่ทำให้กินค่ะ  ขนมดอกโสน  ใช้แป้งข้าวเจ้า  อร่อยนุ่มฟันจังค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ทำให้คิดถึงเรื่องตอนเด็กค่ะ

สวัสดีครับพี่ศศินันท์P

 "จริงๆการให้ความรู้โดยภาพรวมแบบนี้ก็ดี เพราะที่g2kนี้ ยังไม่มีใครเขียนนะคะ และคุณสาธิตจะรู้ข้อจำกัดบางอย่างดีด้วย"
ครับ...คุณพี่เข้าใจเรื่องข้อจำกัดของการถ่ายทอดเรื่องราวเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานของผมเป็นอย่างดี เพราะเป็นสายงานเดียวกัน เนื่องจากงานปรับปรุงพันธุ์เปรียบเสมือนกับสมองขององค์กรก็ว่าได้ ดังนั้นผมจึงต้องระวังเรื่องความลับของบริษัทฯเป็นพิเศษ เพราะเป็นเรื่องของจรรยาบรรณที่ผมให้ความสำคัญมาก
ขอบคุณมากครับ

P

อิอิ..เห็นชื่อครั้งแรก "คนทำพันธุ์"  คิดไปไกลซะแล้ว   นึกว่า....

P  อ.ลูกหว้า คิดถึงอะไรครับ???

  • ฮ่าๆๆ นั่นซิ คิดอะไรอยู่ครับ
  • ขอบคุณทั้ง 2 ท่านมากครับที่มาช่วยสร้างรอยยิ้มในบันทึกนี้
  • ที่อยุธยามีกลุ่มอาชีพ ประดิษฐ์ดอกไม้จากต้นโสนหางไก่ด้วยครับ
  • %e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b9%8c

P

  • ขอบคุณมากครับคุณครู anita
  • ที่โรงเรียนฝนตกมากไหมครับ

P

ครับ...คุณต้อม

ในส่วนที่เป็น Science ก็เพราะต้องอาศัยทั้งวิชาพฤษศาสตร์ ปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุศาสตร์ สถิติ ฯ

ขณะที่ความเป็น Arts ก็คือการใช้จินตนาการออกแบบพันธุ์พืช เช่น ทรงผลที่สวยนั้นควรมีลักษณะอย่างไร หรือลายละเอียดบนผลมะระจีนที่สวยควรเป็นอย่างไร ประมาณนี้ล่ะครับ...ขอบคุณครับ

P

สวัสดีครับ

วิถีชีวิตของคุณแผ่นดินตอนเด็กๆ ดูช่างคล้ายวิถีชีวิตของเด็กนอก (เมือง) อย่างผมจริงๆ

ผมคิดว่า ธรรมชาติและวิถีชีวิตของเด็กๆสมัยก่อนช่วยขัดเกลาให้ใจไม่แข็งกระด้าง ซึ่งต่างกับทุกวันนี้

ขอบคุณครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท