ทำไม....จึงห้าม
? จับปลาในฤดูมีไข่
ประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบด้วยแหล่งน้ำมากมาย และมีประชาชนบางส่วนทำการประมงเป็นอาชีพหลักและพัฒนาเครื่องมือจับปลาให้สามารถจับปลาได้ปริมาณมากๆเพื่อให้ผลตอบแทนสูงสุดโดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูฝนพ่อแม่พันธุ์ เกือบทุกชนิดจะอพยพขึ้นสู่ต้นน้ำ หรือบริเวณที่มีความเหมาะสม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ตามธรรมชาติ ชาวประมงจะถือโอกาสนี้ จับปลาขึ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นวิธีการทำลายพันธุ์สัตว์ฯอย่างร้ายแรง จากวิธีการจับปลาที่ผิดหลักการอนุรักษ์ดังกล่าว ทำให้ผลผลิตสัตว์ฯลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มว่าจะไม่เพียงพอแก่ การบริโภคในอนาคต ทางราชการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้จึงศึกษาวิจัยเกี่ยวกับนิสัยการผสมพันธุ์ปลาและวางไข่ของปลา พบว่าช่วงระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 15 กันยายน ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ปลาน้ำจืดผสมพันธุ์และวางไข่มากที่สุด จึงได้กำหนดให้เวลาดังกล่าวเป็นฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ โดยออกประกาศกฎกระทรวงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2507 ห้ามทำการประมงในช่วงเวลาที่กำหนดตามแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ทุกแห่ง ทั่วประเทศ เว้นแต่บางจังหวัดที่มีการศึกษาวิจัยทางวิชาการแล้วว่า ช่วงระยะเวลาของฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ และวางไข่ เลี้ยงลูกมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ และสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการวางไข่แพร่พันธุ์ของ สัตว์น้ำ ซึ่งไม่ตรงฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก ที่ได้กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงฯ ก็ให้จังหวัดดังกล่าวออกเป็นประกาศจังหวัด กำหนดฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก เช่น ประกาศจังหวัดขอนแก่น กำหนดฤดูปลาน้ำจืดมีไข่เลี้ยงลูก ให้มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน ถึงวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี เป็นต้น
สาระสำคัญของประกาศกระทรวงและประกาศจังหวัด คือ ห้ามทำการประมงในช่วงเวลาที่กำหนดตามแหล่งน้ำจืดสาธารณประโยชน์ทุกแห่ง เว้นแต่ใช้เครื่องมือที่ไม่ทำลายพ่อ แม่พันธุ์ และสามารถจับปลาได้เพียงพอแก่การยังชีพ
เครื่องมือที่สามารถทำการประมงได้ในช่วงฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ ได้แก่
1. เบ็ดทุกชนิด เว้นเบ็ดราว
2. ตะแกรง สวิง ช้อน ยอ และชนาง ซึ่งมีปากกว้างไม่เกิน 2 เมตร และห้ามมิให้ทำการประมงด้วยวิธีประดาตั้งแต่สามเครื่องมือขึ้นไป
3. ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน โป่ง และโทง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อแม่ปลาได้มีโอกาสขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ปราศจากการถูกรบกวนของมนุษย์ ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มปริมาณปลาในธรรมชาติที่ดีที่สุด โดยมอบหมายให้กรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดโดยตรง กรมประมง ได้ดำเนินการให้ส่วนบริหารจัดการด้านการประมงน้ำจืด ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการประมงน้ำจืดทุกแห่ง ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ส่งเรือตรวจการณ์ประมง พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติภารกิจคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลา ในบริเวณ แหล่งพื้นที่รับผิดชอบคอยเฝ้าระวัง ป้องกันมิให้ผู้ใดรบกวนหรือลักลอบจับพ่อ แม่ พันธุ์ปลาของสัตว์น้ำอันจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับชาวประมงในระยะยาวนั่นเอง
ประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบด้วยแหล่งน้ำมากมาย และมีประชาชนบางส่วนทำการประมงเป็นอาชีพหลักและพัฒนาเครื่องมือจับปลาให้สามารถจับปลาได้ปริมาณมากๆเพื่อให้ผลตอบแทนสูงสุดโดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูฝนพ่อแม่พันธุ์ เกือบทุกชนิดจะอพยพขึ้นสู่ต้นน้ำ หรือบริเวณที่มีความเหมาะสม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ตามธรรมชาติ ชาวประมงจะถือโอกาสนี้ จับปลาขึ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นวิธีการทำลายพันธุ์สัตว์ฯอย่างร้ายแรง จากวิธีการจับปลาที่ผิดหลักการอนุรักษ์ดังกล่าว ทำให้ผลผลิตสัตว์ฯลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มว่าจะไม่เพียงพอแก่ การบริโภคในอนาคต ทางราชการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้จึงศึกษาวิจัยเกี่ยวกับนิสัยการผสมพันธุ์ปลาและวางไข่ของปลา พบว่าช่วงระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 15 กันยายน ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ปลาน้ำจืดผสมพันธุ์และวางไข่มากที่สุด จึงได้กำหนดให้เวลาดังกล่าวเป็นฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ โดยออกประกาศกฎกระทรวงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2507 ห้ามทำการประมงในช่วงเวลาที่กำหนดตามแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ทุกแห่ง ทั่วประเทศ เว้นแต่บางจังหวัดที่มีการศึกษาวิจัยทางวิชาการแล้วว่า ช่วงระยะเวลาของฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ และวางไข่ เลี้ยงลูกมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ และสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการวางไข่แพร่พันธุ์ของ สัตว์น้ำ ซึ่งไม่ตรงฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก ที่ได้กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงฯ ก็ให้จังหวัดดังกล่าวออกเป็นประกาศจังหวัด กำหนดฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก เช่น ประกาศจังหวัดขอนแก่น กำหนดฤดูปลาน้ำจืดมีไข่เลี้ยงลูก ให้มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน ถึงวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี เป็นต้น
สาระสำคัญของประกาศกระทรวงและประกาศจังหวัด คือ ห้ามทำการประมงในช่วงเวลาที่กำหนดตามแหล่งน้ำจืดสาธารณประโยชน์ทุกแห่ง เว้นแต่ใช้เครื่องมือที่ไม่ทำลายพ่อ แม่พันธุ์ และสามารถจับปลาได้เพียงพอแก่การยังชีพ
เครื่องมือที่สามารถทำการประมงได้ในช่วงฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ ได้แก่
1. เบ็ดทุกชนิด เว้นเบ็ดราว
2. ตะแกรง สวิง ช้อน ยอ และชนาง ซึ่งมีปากกว้างไม่เกิน 2 เมตร และห้ามมิให้ทำการประมงด้วยวิธีประดาตั้งแต่สามเครื่องมือขึ้นไป
3. ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน โป่ง และโทง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อแม่ปลาได้มีโอกาสขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ปราศจากการถูกรบกวนของมนุษย์ ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มปริมาณปลาในธรรมชาติที่ดีที่สุด โดยมอบหมายให้กรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดโดยตรง กรมประมง ได้ดำเนินการให้ส่วนบริหารจัดการด้านการประมงน้ำจืด ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการประมงน้ำจืดทุกแห่ง ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ส่งเรือตรวจการณ์ประมง พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติภารกิจคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลา ในบริเวณ แหล่งพื้นที่รับผิดชอบคอยเฝ้าระวัง ป้องกันมิให้ผู้ใดรบกวนหรือลักลอบจับพ่อ แม่ พันธุ์ปลาของสัตว์น้ำอันจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับชาวประมงในระยะยาวนั่นเอง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย เชษฐวัตร เพ่งพินิจ ใน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมง G.701
คำสำคัญ (Tags)#uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12569, เขียน: 18 Jan 2006 @ 10:30 (), แก้ไข: 31 May 2012 @ 15:28 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก