ภาพฝันชุมชนอินทรีย์นครศรีธรรมราช


ทั้งหลายทั้งปวงจะใช้กระบวนการวิจัยท้องถิ่นหรือประชาพิจัยและการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรีนรู้ดำเนินการ

เมื่อวานผมเข้าร่วมประชุม2รายการ

รายการแรกเป็นการเตรียมการโรงเรียนคุณอำนวยที่สนง.พช.จังหวัด
รายการที่2เป็นการประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการชุมชนอินทรีย์โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้

ทั้ง2เรื่องมีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่ประชุมพร้อมกันเวลา9.30น.
ผมจึงเข้าร่วมไม่ครบกระบวนความทั้ง2งาน โดยให้น้องเล็กอยู่ประจำที่สนง.พช.จังหวัด ส่วนผมร่วมประชุมโครงการชุมชนอินทรีย์ซึ่งอยู่ชั้น2ตึกเดียวกัน

เรื่องแรกเป็นการเตรียมเวทีประชุม2ครั้งคือผู้จัดการโรงเรียนสาขาอำเภอทั้ง23อำเภอประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ4หน่วยงานหลักในวันที่18ก.ย.2550
เวทีที่2คือเตรียมประชุมนักเรียนคุณอำนวย500คนในวันที่19ก.ย.2550

ครูนงกับพี่ปุกคงให้รายละเอียดในเรื่องนี้เพราะเป็นเจ้าความคิดมาแต่ต้น

สำหรับเรื่องชุมชนอินทรีย์มีวาระสำคัญคือ การนำเสนอแนวคิดและการดำเนินงานโครงการชุมชนอินทรีย์ตั้งแต่ปี2548ถึง2550

ผมขอไม่เล่ารายละเอียด แต่ขอสรุปความคิดที่ผมเห็นว่าควรผลักดันต่อไปคือ

ภาพรวมทั้งระบบของความคิดคือชุมชนอินทรีย์ระดับหมู่บ้าน/ตำบลเข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน ภาพที่ปรากฏคือ

1)มีความร่วมมือกันของส่วนราชการภูมิภาคโดยเฉพาะ4หน่วยงานหลักคือพช. กศน. เกษตร และสาธารณสุข ร่วมคน แชร์แผนและงบกิจกรรมที่เรียกว่าบูรณาการ
2)มีความร่วมมือของท้องถิ่นและชุมชนทำกระบวนการแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาของอบต.และเชื่อมกับแผนกิจกรรมของ4หน่วยงานหลักอย่างบรรสานสอดคล้อง
3)ในหมู่บ้าน/ตำบลจะเฟ้นหาคณะผู้นำทั้งทางการและธรรมชาติจากปกครองท้องที่ อบต. ผู้นำกลุ่มองค์กรต่างๆเพื่อมาเป็นแกนในการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบลผ่านกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ประกอบด้วย การทำข้อมูล/วิเคราะห์รายการรับ-จ่ายครัวเรือน ประเมินงบดุลครัวเรือน รวมข้อมูลทรัพยากรในหมู่บ้าน/ตำบล ภูมิปัญญาที่มี เรียนรู้ตนเอง ชุมชนและโลกภายนอกเพื่อจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง

ในระดับตำบลจะมีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ2ประการคือ
2.1)มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
2.2)มีสถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชน
นอกจากนี้จะมีกลไกเชิงผลลัพธ์ที่เรียกว่า มาตรฐานชุมชน และมาตรฐานสุขภาพเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนโดยกระบวนการเป็นเจ้าของในการให้ความหมาย ร่วมวางแผน ดำเนินการและสรุปผลโดยมีส่วนราชการเป็นคุณอำนวย

ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าว จะใช้กระบวนการวิจัยท้องถิ่นหรือประชาพิจัยและการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรีนรู้ดำเนินการ

นครศรีธรรมราชเน้นสร้างกระบวนการเรียนรู้ตนเองและความเชื่อมโยงบูรณาการทั้งภายในและกับภายนอกอย่างครอบคลุม เพราะ
เราถือว่าโครงการอยู่ดีมีสุขที่รัฐบาลตั้งงบไว้15,000ล้านบาททั่วประเทศในปี2551ใช้ฐานคิดนี้ในการดำเนินการ เราจะเชื่อมต่อกับทุนภายนอกจากส่วนกลางอันนี้อย่างไร?
โดยเป้าหมายจะใช้งบอยู่ดีมีสุขให้เกิดประโยชน์จากความเข้มแข็งของชุมชนอินทรีย์อย่างไร?
โดยกระบวนการ จะใช้งบอยู่ดีมีสุขมาเสริมกระบวนการชุมชนอินทรีย์อย่างไร?

การบูรณาการคน/ทุนชุมชน/ท้องถิ่น กับภูมิภาค4หน่วยงานหลักในโครงการชุมชนอินทรีย์ เป็นการเชื่อมภาพระดับตำบล

ก่อนจะไปเชื่อมกับอยู่ดีมีสุขจากส่วนกลาง
เราจะเชื่อมภาพระดับจังหวัดกันก่อน โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดนัดประชุมในวันที่5ก.ย.2550 ซึ่งผมคิดว่าควรจะเชื่อมแผนงานของ อบจ.ด้วย โดยที่โครงการความร่วมมือของสสส.และสกว.นั้น เราเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว

คอขวดในการทำงานคือสิ่งที่เรากำลังขับเคลื่อนกันอยู่ในอีกห้องประชุมหนึ่งคือ โรงเรียนคุณอำนวยจัดการความรู้

 

 

หมายเลขบันทึก: 124848เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2007 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 อ.ภีม ครับ

  •  ในระดับตำบลจะมีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ2ประการคือ
    2.1)มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
    2.2)มีสถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชน
    นอกจากนี้จะมีกลไกเชิงผลลัพธ์ที่เรียกว่า มาตรฐานชุมชน และมาตรฐานสุขภาพเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนโดยกระบวนการเป็นเจ้าของในการให้ความหมาย ร่วมวางแผน ดำเนินการและสรุปผลโดยมีส่วนราชการเป็นคุณอำนวย...............คงจะมีอื่นๆอีกแน่ๆครับ แล้วแต่ชุมชนจะได้หยิบยก ปลายเปิดไว้ดีที่สุด
  • ผมทำการบ้านแล้วครับ อ่านที่นี่โรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอนภาคราชการ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท