การจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร 2


จัดการความรู้แก้จนเมืองนคร

จัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ดำเนินตามวิสัยทัศน์เมืองนคร"เมืองแห่งการเรียนรู้"อาศัยพลังความร่วมมือ เรียนรู้ร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาความยากจน

โดยมีแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นฐานคิดสำคัญ
ให้มีความพอเพียงตามขีดความสามารถของครัวเรือนในแต่ละระดับของการพัฒนา (พอใจในสิ่งที่ตนเองมี)
ใช้ความรู้ทุกกระบวนการ/ขั้นตอนในการดำเนินงาน
ขั้นตอนแรก : ความรู้เพื่อจัดระดับการพัฒนา (ความพอเพียงและความสามารถ)
สำรวจทุนรายครัวเรือน โดยใช้ขอบเขตหมู่บ้านเป็นกรอบในการศึกษา
ใช้แกนนำอาสาสมัครจำนวน8คน บันทึกข้อมูลทุนครัวเรือนตามแบบสำรวจซึ่งมีความละเอียดมาก อาจสรุปได้เป็น1)ทุนปัญญา(ความสามารถ) 2)ทุนเศรษฐกิจ(ทรัพย์สิน/หนี้สิน) 3)ทุนวัฒนธรรม(เครือข่ายความสัมพันธ์ทั้งดั้งเดิมและทางการเมือง) 4)ทุนสุขภาพ 5)ทุนจิตวิญญาณ 6)ทุนทรัพยากรส่วนรวม  เป็นต้น
โดยทั้งหมดนี้ อาจสรุปรวมอยู่ใน "ทุนปัญญา"ของแต่ละครัวเรือน ซึ่งเป็นตัวกำหนดระดับความสามารถและความพอเพียงของแต่ละครัวเรือน
โดยที่ทุนจิตวิญญาณจะเป็นตัวกำหนดความพอเพียงของแต่ละบุคคล/ครัวเรือนโดยมีทุนปัญญา(ความสามารถ)เป็นตัวกระทำการ (ทุนจิตวิญญาณรวมอยู่ในทุนปัญญา แต่แยกพิจารณาทุนปัญญาที่เป็นความสามารถ) ซึ่งส่งผลเป็นความพอเพียงหรือยากจนของบุคคล (ร่ำรวยกับยากจนเป็นอันเดียวกันหากยังรู้สึกไม่พอเพียง) แบ่งระดับหลักๆได้4ระดับคือ

1)จิตวิญญาณพอเพียงน้อย                ความสามารถน้อย                         มีความยากจน

2)จิตวิญญาณพอเพียงน้อย                ความสามารถมาก                          มีความร่ำรวย

3)จิตวิญญาณพอเพียงมาก                 ความสามารถน้อย                         มีความพอเพียง

4)จิตวิญญาณพอเพียงมาก                ความสามารถมาก                          มีความพอเพียงมาก

                จากฐานข้อมูลที่ได้จะจำแนกเป็น 4 ระดับของการพัฒนา โดยความรู้ทางวิชาการและเวทีประชาคม

จากนั้น จะทำการพัฒนาโดยแนวทางการจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาความยากจนให้แต่ละระดับมีความพอเพียง

โครงการนี้ดำเนินการในระดับหมู่บ้าน โดยพัฒนาจากครัวเรือน ลงไปถึงระดับบุคคล ในขณะเดียวกันจะเชื่อมโยงหมู่บ้านเป็นเครือข่ายตำบล อำเภอ และจังหวัด โดยเริ่มต้นจากเครือข่ายการเรียนรู้ พัฒนาเป็นองค์กรและครือข่ายการจัดการร่วมกันต่อไป ขณะเดียวกัน จะใช้การเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้านเป็น  ห้องเรียนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของภาคีสนับสนุนด้วย

การออกแบบกระบวนการเรียนรู้

                หลักคิด ทุกคนเป็นนักจัดการความรู้ เรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของตนเองตามบทบาทที่ตนเองเกี่ยวข้องด้วย เพื่อแก้ปัญหาความยากจนหรือทำให้เกิดความพอเพียงกับกลุ่มเป้าหมายและตนเอง

แบ่งบทบาท ดังนี้

1)      คุณเอื้อจังหวัด  คือ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดในหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทเอื้ออำนวยให้คุณเอื้ออำเภอดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน (CKO) จำนวน 37 คน

2)      คุณเอื้ออำเภอ คือ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอในหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทเอื้ออำนวยให้คุณอำนวยอำเภอดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีนายอำเภอเป็นประธาน (CKO) จำนวน (อำเภอละประมาณ 22 คน)*23 คน

3)      คุณอำนวยอำเภอ คือ จนท.ระดับอำเภอในหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้องและแกนนำหมู่บ้าน              มีบทบาทจัดกระบวนการเรียนรู้ให้คุณอำนวยหมู่บ้านดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุ  เป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน [(อำเภอละ18คน หน่วยงาน6คน แกนนำหมู่บ้าน12คน)]*อำเภอ] คน

4)      คุณอำนวยหมู่บ้าน คือ แกนนำหมู่บ้านและแกนนำในแต่ระดับการพัฒนา มีบทบาทจัดกระบวนการเรียนรู้ให้คุณกิจหมู่บ้านดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน         [(หมู่บ้านละ20คน แกนนำ8คน แกนครัวเรือน12คน)*400หมู่บ้าน] คน

5)      คุณกิจหมู่บ้าน คือ แกนนำในแต่ละระดับการพัฒนาและหัวหน้าครอบครัว มีบทบาทจัดกระบวนการเรียนรู้ให้คุณกิจครัวเรือนดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน    [(4ระดับๆละ    3คน)*400 หมู่บ้าน] คน

6)      คุณกิจครัวเรือน คือ หัวหน้าครอบครัวและสมาชิกในครอบครัว มีบทบาทจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้คุณกิจ(สมาชิกในครัวเรือน)ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน [(100-150)ครัว*400 หมู่บ้าน] คน

7)      คุณกิจ (สมาชิกในครัวเรือนๆละ 5 คน) มีบทบาทพัฒนาความสามารถของตนเองให้สอดคล้องกับระดับความพอเพียงจำนวน [5คน*(100-150)ครัว*400หมู่บ้าน] คน

กระบวนการเรียนรู้

                1)วงคุณเอื้อจังหวัด 1 ห้องเรียน เรียนรู้จากปฏิบัติการกับวงคุณเอื้ออำเภอเป็นหลัก โดยมีการเพิ่มเติมการเรียนรู้จากวงอื่นๆบ้างตามความเหมาะสม

                2)วงคุณเอื้ออำเภอจำนวน 1*23 ห้องเรียน เรียนรู้จากปฏิบัติการกับวงคุณเอื้อจังหวัดและคุณอำนวยอำเภอเป็นหลัก โดยมีการเพิ่มเติมการเรียนรู้จากวงอื่นๆบ้างตามความเหมาะสม

                3) วงคุณอำนวยอำเภอจำนวน 6*23 ห้องเรียน เรียนรู้จากปฏิบัติการกับวงคุณเอื้ออำเภอและคุณอำนวยหมู่บ้านเป็นหลักโดยมีการเพิ่มเติมการเรียนรู้จากวงอื่นๆบ้างตามความเหมาะสม

                4)วงคุณอำนวยหมู่บ้านจำนวน 4*6*23 ห้องเรียน เรียนรู้จากปฏิบัติการกับวงคุณอำนวยอำเภอและ    คุณกิจหมู่บ้านเป็นหลักโดยมีการเพิ่มเติมการเรียนรู้จากวงอื่นๆบ้างตามความเหมาะสม

5)วงคุณกิจหมู่บ้านจำนวน 4*4*6*23 ห้องเรียน เรียนรู้จากปฏิบัติการกับวงคุณอำนวยหมู่บ้านและ    คุณกิจครัวเรือนเป็นหลักโดยมีการเพิ่มเติมการเรียนรู้จากวงอื่นๆบ้างตามความเหมาะสม

                6)วงคุณกิจครัวเรือนจำนวน 5*4*4*6*23 ห้องเรียน เรียนรู้จากปฏิบัติการกับวงคุณกิจหมู่บ้านและ    สมาชิกในครัวเรือนเป็นหลักโดยมีการเพิ่มเติมการเรียนรู้จากวงอื่นๆบ้างตามความเหมาะสม

 

 

                จะเห็นว่า กระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มจากการสำรวจทุนครัวเรือนและทุนชุมชนอย่างละเอียด เพื่อพัฒนาตนเองสู่ความพอเพียงโดยการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มเป้าหมายและภาคีสนับสนุนที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ ต้องอาศัยพลังการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันอย่างกว้างขวาง เพื่อไปสู่ "เมืองแห่งการเรียนรู้"

                ปัจจัยสำคัญคือ 1)ภาวะผู้นำในแต่ละระดับ(วงเรียนรู้) 2)การทำงานเป็นทีม 3)การคิดเชิงระบบ

การสรรหาผู้นำและคนทำงาน

                กระบวนการจัดระดับการพัฒนา(ความพอเพียง)จากฐานข้อมูลครัวเรือน/หมู่บ้าน ควรนำไปสู่การ    สรรหาแกนนำในแต่ละวงเรียนรู้

สำหรับคุณอำนวยจากภาคีสนับสนุนจะใช้อาสาสมัครเพื่อเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้ให้เนียน  เข้าไปในเนื้องานของแต่ละหน่วยงานเพื่อบูรณาการงบประมาณตามแผนงานเพื่อการพัฒนานอกเหนือจากงบบูรณาการที่เน้นสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้เป็นหลัก  งบบูรณาการ

การจัดการความรู้ต้องมีเป้าหมายวาดฝันที่ทรงพลังร่วมกัน (ในที่นี้ใช้แนวคิดที่ทรงพลังของในหลวงและวิสัยทัศน์ของเมืองนคร) มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินผลสำเร็จให้ได้ชื่นชมร่วมกันเป็นระยะ แม้ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย แต่ก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรง หากหน่วยงานภาครัฐทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยสนับสนุนภาคปฏิบัติ องค์กรเอกชน และองค์กรชุมชนร่วมมือกัน

ผังจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร

เป้าหมาย แก้จนอย่างยั่งยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

กระบวนการจัดการความรู้

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 12408เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2006 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
วิไลลักษณ์ อยู่สำราญ
    ไม่มีความคิดเห็นค่ะ  แต่อยากถามคุณภีมว่ากว่าที่จะออกแบบมาได้อย่างนี้มีกระบวนการทำอย่างไรบ้าง  และถ้าหากทีมลำปางจะทำแบบนี้จำเป็นหรือเปล่าค่ะว่าต้องออกแบบมาให้ได้ทั้งระบบหรือออกแบบเป็นครั้งๆไปก็ได้  ถ้าไม่เข้าใจคำถามก็โทรมาคุยกันก็ได้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท