Green Hospital:6 Green Human กับค่านิยมหลัก(Core Values) ในการพัฒนาคุณภาพ


ค่านิยมหลัก(Core Value)ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล HA, องค์การต้องการให้บุคลากรมีหลักในการทำงาน หรือมีค่านิยมในทิศทางเดียวกัน

Green Hospital 6: Green Human กับค่านิยมหลัก(Core Values) ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (HA)               

             ขอเชิญชวนผู้มีหัวใจมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลโปรดอ่าน เพราะทุกคนควรตอบคำถามได้ว่า การนำกิจกรรม หรือการทำงานแต่ละอย่างนั้น ยึดถือคุณค่าหลัก หรือค่านิยมหลักอะไร                

             สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กำหนด Core Valve ไว้ทั้งหมด 5 หมวด รวม 17 ตัว ซึ่งโรงพยาบาลที่จะเป็นเลิศได้ต้องสามารถใช้ Core Value ทั้ง 17 ตัวในการกำกับในการทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งในระดับโรงพยาบาลจะเลือก Core Valve ตัวใดมาเป็น Core Valve ระดับโรงพยาบาล โดยจะกำหนดหรือไม่กำหนดก็ได้ ถ้ากำหนดแสดงว่า องค์การต้องการให้บุคลากรมีหลักในการทำงาน หรือมีค่านิยมไปในทิศทางเดียวกัน (เฉลิมพงษ์  สุคนธผล : 2549)

หมวดที่ 1  ทิศทางนำ

           1.1    Visionary Leadership: ผู้นำที่มองไกล ภาพใหญ่ คิดในเชิงกลยุทธ์นำเสนอความท้าทาย จูงใจให้คนเก่งมาทำงานร่วมกัน        

          1.2  System Perspective : ใช้มุมมองเชิงระบบ มองภาพรวมครบถ้วนทุกองค์ประกอบ มองอย่างเชื่อมโยง พิจารณาความเป็นเหตุเป็นผลได้อย่างครอบคลุม

                  1.3    Agility : ระบบปรับตัวไว มีความยืดหยุ่น ตอบสนองผู้ป่วยและผู้รับบริการอย่างรวดเร็ว

หมวดที่ 2  ผู้รับผล

            2.1  Focus on  Health  : ใส่ใจสุขภาวะมุ่งเน้นที่สุขภาพมากกว่าโรคเน้นเรื่องส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการดูแลสุขภาพ (HPH) การดูแลโรคแบบองค์รวม การดูแลแบบต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมเชิงรุกในชุมชน การวางแผนจำหน่ายที่มีการต่อเนื่อง

                  2.2  Patient Customer Focus: มุ่งเน้นผู้ป่วยและลูกค้าตอบสนองความจำเป็น ความต้องการและความคาดหวังของผู้ป่วย และผู้รับบริการ เช่น การลดระยะเวลาคอยในการตรวจ

                  2.3  Community & Social Responsibility : รับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม โดยเน้นผลลัพธ์ต่อชุมชน และสังคมที่ดีปลอดภัย เช่น รพ.มีปัญหาเรื่องบ่อบำบัดน้ำเสีย ปล่อยน้ำเสียที่ไม่ได้มาตรฐานสู่ชุมชนโรงพยาบาลต้องปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน

หมวดที่  3  คนทำงาน

                   3.1  Valuing Staff : เจ้าหน้าที่ทุกคนมีคุณค่า เช่น ตรวจสุขภาพให้บุคลากรทุกคนทุกปี มีการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่อกกำลังกาย โดยสร้างลานกีฬาหรือ Fitness Center, ระบบพิจารณาค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่

                   3.2  Team Work : พากันทำงานเป็นทีม เป็นที่นิยมเพราะการทำกิจกรมอะไรก็ตามต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างสหสาขาวิชาชีพ

                    3.3  Individual Commitment : สมาชิกทีมมุ่งมั่น แต่ละคนยึดถือเป้าหมาย และความสำเร็จขององค์การเป็นหลักในการทำงาน เช่น การร่วมทีมต่างๆ ในการทำกิจกรรมต้องอาศัยความมุ่งมั่นของสมาชิกทีมนั้นๆ

                    3.4  Professional Responsibility : ความรับผิดชอบของวิชาชีพผู้ประกอบวิชาชีพตัดสินใจบนพื้นฐานของจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพ

หมวดที่ 4  การพัฒนา

              4.1  Creative and Innovation: มีแนวคิดที่สร้างสรรค์ หรือเป็นนวัตกรรม เป็นสิ่งประดิษฐ์ และเป็น แนวคิดใหม่ๆ

                     4.2. Management by Fact: การนำข้อมูลจริงมาตัดสินเป็นตัวนำทำให้มีการพัฒนารูปแบบต่างๆ เช่น CQI, Peer Review

                     4.3 Continuous Process Improvement: การพัฒนาอย่างต่อเนื่องใช้ เช่น การเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

                     4.4 Focus on Result การมุ่งผลลัพธ์เป็นการเน้นเป้าหมายของการดำเนินงาน และการพัฒนาผลลัพธ์ให้ดีขึ้น4.5 Evidence Base approach: การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลวิชาการหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

หมวดที่ 5 พาเรียนรู้

            5.1 Individual and Organization Learning: เรียนรู้เพื่อปรับตนเอง เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ผ่านขบวนการ Knowledge Management

                     5.2 Empowerment เพิ่มพลังชนทุกหมู่ อาจเป็นการกระจายอำนาจให้ ผู้ปฏิบัติงาน, หรือผู้รับบริการ และญาติ หรือประชาชนในชุมชน  

                    สรุปค่านิยมหลัก (Core Values)  ที่ใช้บ่อยในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ได้แก่ Patient Focus, Management  by Fact , Team Work, Focus on Result, Evidence Base Approach ส่วน Core Value ที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (HPH) ได้แก่ Focus on Health, Patient Focus,Community & Social Responsibility และ Empowerment กล่าวโดยสรุปจากค่านิยมทั้ง 17 ตัว พบว่าหมวดที่ 1 ทิศทางนำมุ่งไปที่การกำกับในการทำงานทำกิจกรรมของผู้บริหาร ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้สรุปค่านิยมหลักของบุคลากรแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 

                   1) ค่านิยมมุ่งเน้นผู้รับบริการ เพื่อตอบสนองต่อการบริการผู้ป่วย มีตัวชี้วัด 3 ตัว ได้แก่ Focus on Health, Patient Customer Focus, Community & Social Responsibility  

                   2) ค่านิยมมุ่งเน้นบุคลากร เพื่อดูแลบุคลากร และลักษณะการทำงานของบุคลากรมี 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ Valuing Staff, Team Work,IndividualCommitment,ProfessionalResponsibility
                  
3) ค่านิยมมุ่งเน้นการพัฒนาและการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาตนเองของบุคลากร และการพัฒนาหน่วยงาน มีตัว 6 ชี้วัดได้แก่ Creative and Innovation, Management by Fact, Continuous Process Improvement, Evidence Base approach, Empowerment, Individual and Organization Learning           

                                                                  ขนิษฐา  เมฆอรุณกมล

                                                                                                                                                                                                  

หมายเลขบันทึก: 123269เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท