งานให้คำปรึกษา
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์

EQ ของผู้ให้การปรึกษา


การพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้การช่วยเหลือทางด้านจิตใจ
  • จากการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเพิ่งมีประสบการณ์สัมผัสกับชีวิตของพวกเขาไม่กี่ราย แต่มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับตัวเองมากขึ้น
  • การติดเชื้อเอชไอวียังนับเป็นเรื่องน่ากลัว น่ารังเกียจ ในความรู้สึกส่วนใหญ่ของคนในสังคม รวมทั้งตัวดิฉันเองด้วย ที่ดิฉันรู้สึกไม่ใช่ความรังเกียจแต่เป็นความรู้สึกกลัว กลัวความไม่รู้หลาย ๆ อย่าง เพราะพยาบาลหรือบุคลากรผู้ให้การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ จำเป็นต้องมีทักษะ ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์มากพอสมควร
  • การดูแลผู้ติดเชื้อรายหนึ่งที่ทำให้มีความรู้สึกนี้อย่างรุนแรง คือ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อมาแล้ว 10 ปี เคยรับยาต้าน 2 ปี แล้วหยุดยาเองเนื่องจากไม่มีเงินค่ายา ปัจจุบันเริ่มยาต้าน ARV แล้วมีอาการแพ้ยาและหยุดยาบางตัว ความคิดความรู้สึกของเธอและสามี คือถ้าแพ้ยามากก็ไม่อยากกิน จากการตรวจสอบการกินยาพบว่า กินยาไม่สม่ำเสมอหลังหยุดยาไม่กี่วัน
  • สัมพันธภาพที่ผ่านมาระหว่างผู้ให้การปรึกษาและผู้รับการปรึกษา (ขอใช้อักษรย่อ CO มาจาก Counselor และ CL มาจาก Counselee) สามารถสร้างความไว้วางใจจน CL เล่าเปิดเผยความคิด ความรู้สึกส่วนใหญ่ได้ แต่ครั้งนี้เมื่อมาทบทวนตัวเองแล้ว ความกลัวของ CO มีมากจนแสดงท่าทีที่น่าจะทำให้ CL สัมผัสได้ ความวิตกกังวลทำให้พูดสั่งย้ำ ๆ เรื่องการกินยาให้สม่ำเสมอ ไม่สามารถใช้ทักษะการสะท้อนความรู้สึกเพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจ CL ได้ (empathy) สิ่งที่ CL ได้รับจากการพูดคุยในครั้งนี้ จึงน่าจะเป็นความรู้สึกกดดันพอสมควร เพราะมีแต่สิ่งที่จำเป็นต้องทั้งนั้น 
  • ด้วยความรู้ ประสบการณ์ที่มีอยู่ ทำให้พิจารณาว่าตนเองยังขาดการตระหนักรู้ในอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ขณะเผชิญกับปัญหาความยุ่งยากซับซ้อน เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า Counter transference หรือความรู้สึกร่วมของผู้รักษาอย่างชัดเจน แต่หลังจากวิเคราะห์ตนเองแล้ว ก็รู้สึกภาคภูมิใจว่าสามารถพัฒนาความคิดบางส่วนของตนเองได้ คือ ไม่มีความรู้สึกอยากหนี มีความคิดที่วางแผนว่านัดครั้งต่อไป CO ต้องสร้างสัมพันธภาพกับ CL เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและให้ความร่วมมือในการวางแผนการรักษาต่อไป
  • การพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้การช่วยเหลือทางด้านจิตใจ
หมายเลขบันทึก: 123263เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 05:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เหนื่อย เครียด ต๊อแต๊...พี่ขามาตรฐานสูงเกินไปหรือเปล่า เพราะหนูเห็นว่าพี่ทำได้ดีมาก work ๆๆๆๆ แล้ว...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท